ประวัติ ของ การบินไทย

ดูบทความหลักที่: ประวัติการบินไทย
สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดีรังสิต

วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2502 รัฐบาลไทยดำเนินการให้ บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด (อังกฤษ: Thai Airways Company Limited; ชื่อย่อ: บดท.; TAC) กับสายการบินสแกนดิเนเวียน (อังกฤษ: Scandinavian Airlines System; ชื่อย่อ: SAS) ทำสัญญาร่วมทุนระหว่างกัน ต่อมาในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 บริษัท การบินไทย จำกัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นด้วยทุนประเดิม 2 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจสายการบินระหว่างประเทศ มีเที่ยวบินปฐมฤกษ์ไปยังฮ่องกงเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ปีเดียวกัน

วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2520 SAS คืนหุ้นให้เดินอากาศไทย หลังจากครบระยะเวลาตามสัญญาร่วมทุน แล้วโอนหุ้นให้แก่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ตามมติคณะรัฐมนตรี

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2531 เดินอากาศไทยซึ่งดำเนินธุรกิจสายการบินภายในประเทศได้รวมกิจการเข้ากับการบินไทย เพื่อให้สายการบินแห่งชาติเป็นหนึ่งเดียวตามมติคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ จากนั้นในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 การบินไทยได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามมติคณะรัฐมนตรี และจดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเมื่อปี พ.ศ. 2537[6]

วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 การบินไทย ร่วมกับสายการบินลุฟต์ฮันซา, แอร์แคนาดา, เอสเอเอส, และ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ก่อตั้งสตาร์อัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นพันธมิตรการบินแห่งแรก

วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ บมจ.การบินไทย ดำเนินโครงการลงทุนจัดตั้งสายการบินไทยสมายล์ โดยจัดตั้ง บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด เป็นบริษัทย่อยในเครือของ บมจ.การบินไทย ซึ่ง บมจ.การบินไทย ถือหุ้นร้อยละ 100 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สายการบินไทยสมายล์เป็นสายการบินภูมิภาค มีเครือข่ายการเชื่อมต่อผู้โดยสารทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจาก บมจ.การบินไทยในขณะนั้น มีกระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 51.03 และมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงทำให้บริษัทไทยสมายล์มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจด้วย[7]

วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 กระทรวงการคลังจำหน่ายหุ้นจนมีสัดส่วนถือหุ้นทั้งหมดเหลือร้อยละ 47.86 ทำให้บริษัทฯ หลุดพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ[8] นอกจากนี้ ในวันที่ 25 พฤษภาคม คณะกรรมการบริษัทการบินไทยฯ ได้มีมติแต่งตั้งให้พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค, บุญทักษ์ หวังเจริญ, ไพรินทร์ ชูโชติถาวร และปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ แทนกรรมการเดิม[9] ไม่กี่วันถัดมา ไพรินทร์ลาออกเพราะเพิ่งพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีจึงไม่เหมาะสมต่อการรักษาธรรมาภิบาลของบริษัท และขัดต่อกฎหมายของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ[10]

ใกล้เคียง

การบินไทย การบินไทยสมายล์ การบินไทย เที่ยวบินที่ 311 การบินไทย เที่ยวบินที่ 114 การบินไทย เที่ยวบินที่ 679 การบินไทย เที่ยวบินที่ 261 การบินไทย เที่ยวบินที่ 620 การบินไทย เที่ยวบินที่ 311 (พ.ศ. 2516) การบินไทย เที่ยวบินที่ 365 การบินไทย เที่ยวบินที่ 943

แหล่งที่มา

WikiPedia: การบินไทย http://avherald.com/h?article=467ab3da&opt=0 http://avherald.com/h?article=4681fccd&opt=0 http://avherald.com/h?article=4826ce27&opt=0 http://avherald.com/h?article=496ca895&opt=0 http://avherald.com/h?article=49e5774b http://avherald.com/h?article=4b1e9702&opt=0 http://avherald.com/h?article=4be96a52&opt=0 http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business... http://www.bangkokpost.com/business/tourism/572787... http://www.flightglobal.com/pdfarchive/view/1961/1...