การปฏิวัติยุคหินใหม่
การปฏิวัติยุคหินใหม่

การปฏิวัติยุคหินใหม่

การปฏิวัติยุคหินใหม่ หรือ การปฏิวัติเกษตรกรรมครั้งที่หนึ่ง เป็นการเปลี่ยนผ่านอย่างกว้างขวางของวัฒนธรรมมนุษย์ในยุคหินใหม่จากสังคมคนเก็บของป่าล่าสัตว์ (สังคมแบบยังชีพ) สู่สังคมเกษตรกรรม และสังคมเมือง ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร[4] การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวทำให้มนุษย์มีโอกาสสังเกตและทดลองพันธุ์พืช นำไปสู่ความรู้ในการปรับปรุงไม้ป่าเป็นไม้เลี้ยง[5] แนวคิดการปฏิวัติยุคหินใหม่นี้คิดค้นโดย วี. กอร์ดอน ไชลด์ นักโบราณคดีชาวออสเตรเลียในหนังสือ Man Makes Himself[6]การปฏิวัติยุคหินใหม่ถือเป็นความเปลี่ยนแปลงทางเกษตรกรรมที่ได้รับการยืนยันครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ใช่แค่เพิ่มองค์ความรู้ในการผลิตอาหาร แต่เป็นการเปลี่ยนจากการใช้ชีวิตร่อนเร่ไปสู่การตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านและเมือง มีการชลประทานและถางป่าเพื่อทำการเพาะปลูก รวมไปถึงการเลี้ยงสัตว์ การทำเครื่องปั้นดินเผา การปรับปรุงเครื่องมือหิน และการสร้างบ้านทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนำไปสู่ปรากฏการณ์ของการเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วที่เรียกว่า การเปลี่ยนผ่านทางประชากรยุคหินใหม่หลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่าการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์เกิดขึ้นแยกกันในหลายแห่งทั่วโลก เริ่มในสมัยโฮโลซีนเมื่อ 11,700 ปีก่อน[7] ช่วงเวลาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงนี้แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค[8] เริ่มจากบริเวณพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ราว 10,000–8,000 ปีก่อนคริสตกาล[9] ตามด้วยลุ่มแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำหวงราว 7,000 ปีก่อนคริสตกาล[10] และที่สูงนิวกินีราว 7,000–3,000 ปีก่อนคริสตกาล[11] มีหลายทฤษฎีที่พยายามอธิบายถึงสาเหตุของการเปลี่ยนมาทำการเกษตร เช่น พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์[12] การใช้เกษตรกรรมเป็นเครื่องมือแสดงอำนาจ[13] ปัจจัยด้านประชากร[14][15] การปรับตัวของมนุษย์และพืช[16] สภาพอากาศคงที่หลังยุคน้ำแข็ง[17] และการสูญพันธุ์ของสัตว์ใหญ่ (megafauna)[18] มีหลักฐานการเพาะปลูกธัญพืช 8 ชนิดเป็นครั้งแรกในลิแวนต์ช่วงราว 9,500 ปีก่อนคริสตกาล[19] ขณะที่การเลี้ยงสัตว์เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นโดยสัตว์กลุ่มแรก ๆ ที่มนุษย์นำมาเลี้ยงได้แก่ สุนัข (13,000 ปีก่อนคริสตกาล[20]) แพะ (10,000 ปีก่อนคริสตกาล[21]) สุกร (9,000 ปีก่อนคริสตกาล[22]) แกะ (9,000–8,500 ปีก่อนคริสตกาล[23]) และวัว (8,000 ปีก่อนคริสตกาล[24])มุมมองดั้งเดิมของการปฏิวัติยุคหินใหม่คือการเกษตรมีส่วนสนับสนุนประชากรที่มากขึ้น ทำให้ชุมชนยิ่งแผ่ขยาย ขณะเดียวกันก็เกิดแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกันไป ทำให้ผู้คนมีหน้าที่ต่าง ๆ ในสังคม และเมื่อสังคมซับซ้อนขึ้นก็เกิดชนชั้นนำผู้ทำหน้าที่ปกครองชุมชน[25] พัฒนาการดังกล่าวหรือบางครั้งเรียกว่า การรวมกลุ่มยุคหินใหม่ (Neolithic package) เอื้อให้เกิดรากฐานโครงสร้างทางการเมือง การปกครองแบบรวมอำนาจ อุดมการณ์แบบลำดับชั้น การกระจายงาน และการค้าที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาการเขียน ศิลปะ และสถาปัตยกรรม นำไปสู่อารยธรรมแรกสุดอย่างซูเมอร์ทางตอนใต้ของเมโสโปเตเมีย (ราว 6500 BP) อันเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสัมฤทธิ์[26]ถึงแม้ว่าการปฏิวัติยุคหินใหม่จะนำพาความก้าวหน้าต่าง ๆ แต่งานศึกษาทางชาติพันธุ์วิทยาและโบราณคดีหลายชิ้นพบว่าการที่มนุษย์เปลี่ยนมากินอาหารจากธัญพืชมากขึ้นทำให้การคาดหมายคงชีพลดลง การเสียชีวิตในทารกเพิ่มขึ้น และการเพิ่มขึ้นของโรคติดเชื้อและโรคเสื่อม การเพาะปลูกกลับเป็นการจำกัดความหลากหลายของอาหาร ทำให้มนุษย์ขาดวิตามินและแร่ธาตุ[27] นอกจากนี้จาเรด ไดมอนด์ นักประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันยังเสนอว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางสังคมและความเหลื่อมล้ำทางเพศสภาพ[28]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การปฏิวัติยุคหินใหม่ http://discovermagazine.com/1987/may/02-the-worst-... http://www.westfalen-blatt.de/nachricht/2012-11-25... http://www.atmo.arizona.edu/students/courselinks/f... //citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/summary?doi=10.1.1... http://www.sscnet.ucla.edu/anthro/faculty/fiske/fa... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10747069 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12714734 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18697943 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21798934 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24564590