การปฏิวัติเกษตรกรรมในอังกฤษ
การปฏิวัติเกษตรกรรมในอังกฤษ

การปฏิวัติเกษตรกรรมในอังกฤษ

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งการปฏิวัติเกษตรกรรม (อังกฤษ: British Agricultural Revolution) ใช้อธิบายช่วงของการพัฒนาเกษตรกรรมในสหราชอาณาจักรระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคที่การขยายตัวของผลผลิตทางเกษตรกรรมและผลผลิตสุทธิทำลายวงจรการขาดแคลนอาหารในอดีต ทุกทวีปบนโลกต่างเคยเผชิญกับช่วงของสงครามในประวัติศาสตร์ สงครามเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อจำนวนประชากรไม่ให้ขยายตัว เพื่อให้สอดคล้องกับอาณาเขตที่ประชากรเหล่านั้นอาศัยอยู่ สงครามจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดการขาดแคลนอาหารเป็นเวลานานช่วงใดช่วงหนึ่ง ซึ่งโดยมากแล้วจะเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานมากกว่าหนึ่งปี รวมไปถึงการที่ทรัพยากรอย่าง สภาพอากาศ, แรงงาน, ทรัพย์สิน, การคมนาคมขนส่ง และอื่นๆ ไม่มีเหลืออยู่หรือไม่สามารถทำให้เกิดการเพาะปลูกขึ้นได้ ต่อมาเมื่อสงครามหรือการขาดแคลนอาหารกลายมาเป็นปัญหาภายในประเทศ ความสามารถในการซื้อและขนส่งอาหารจากดินแดนที่อยู่ห่างไกลออกไปก็เข้ามาบรรเทาผลกระทบจากการขาดแคลนอาหารลงได้ การปฏิวัติเกษตรกรรมบนเกาะบริเตนใหญ่เกิดขึ้นผ่านช่วงเวลาหลายศตวรรษ (ซึ่งเหมือนการวิวัฒนาการมากกว่าจะเป็นการปฏิวัติ) ต่อมาจึงแพร่ขยายไปในประเทศอื่นๆ บนทวีปยุโรปและในอาณานิคมของประเทศเหล่านั้นด้วย สิ่งหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดการปฏิวัติเกษตรกรรมขึ้นคือการที่อังกฤษพัฒนาระบบที่ดินและการบำรุงรักษาที่ดินซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูก โดยเป้าหมายก็เพื่อที่จะลดการสูญเสียสารอาหารสำหรับพืชในดิน ทำให้ผลผลิตต่อเอเคอร์สูงขึ้นตามลำดับ ชาวนาใช้เครื่องมือการผลิตและเครื่องจักรในการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มากขึ้นซึ่งช่วยลดการใช้แรงงานคนลงด้วย การปฏิวัติการเกษตรเร่งตัวขึ้นพร้อมกับที่การปฏิวัติอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางเคมีก่อให้เกิดความรู้ทางวิทยาศาสตร์, ความมั่งคั่ง และเทคโนโลยี เครื่องจักรการเกษตรอื่นๆ และระบบการค้าขายสารอาหารพืชจึงเกิดขึ้นตามมา พรรณพืชชนิดใหม่อย่างเช่นมันฝรั่ง (ถูกนำเข้ามาประมาณปี ค.ศ. 1600), ข้าวโพด และพืชอื่นๆ ถูกนำมาจากทวีปอเมริกาซึ่งพัฒนาการเกษตรในพื้นที่เพาะปลูกเช่นกันการปฏิวัติเกษตรกรรม, การปฏิวัติอุตสาหกรรม และการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ถูกพัฒนาไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการปฏิวัติวิทยาศาสตร์จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากปริมาณอาหารที่เพิ่มขึ้นซึ่งนำไปหล่อเลี้ยงประชากรที่ขยายตัวตามเมืองใหญ่ นอกจากนี้ด้วยเงินทุน, เครื่องมือ, โลหะ, การขยายตัวของเศรษฐกิจแบบตลาด, ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ ทำให้การปฏิวัติเกษตรกรรมเกิดขึ้นและดำเนินไปได้ จึงกล่าวได้ว่าแต่ละการปฏิวัติข้างต้นช่วยสนับสนุนกระบวนการของกันและกัน เป็นผลให้ทั้งสามการปฏิวัตินี้ยังคงเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ่งมาจนถึงปัจจุบัน

ใกล้เคียง

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 การปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติทางวัฒนธรรม การปฏิวัติซินไฮ่ การปฏิวัติเม็กซิโก การปฏิวัติอิหร่าน การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ การปฏิวัติเวทมนตร์ขององค์หญิงเกิดใหม่กับยัยคุณหนูยอดอัจฉริยะ การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์