การปฏิวัติเม็กซิโก
การปฏิวัติเม็กซิโก

การปฏิวัติเม็กซิโก

1910–1911:
กองทัพสหพันธรัฐนำโดยปอร์ฟิริโอ ดีอัซ1910–1911:
กลุ่มมาเดริสตา
กลุ่มออโรสกิสตา
กลุ่มมากอนนิสตา
กลุ่มซาปาติสตาสนับสนุนโดย
 สหรัฐ (1910–1913)
 จักรวรรดิเยอรมัน (c.1913–1919)สนับสนุนโดย
 สหรัฐ (1913–1918)
 สหราชอาณาจักร (1916–1918)การปฏิวัติเม็กซิโก (สเปน: Revolución mexicana) เป็นที่รู้จักในนาม สงครามกลางเมืองเม็กซิโก (สเปน: guerra civil mexicana) เป็นเหตุการณ์ความขัดแย้งครั้งสำคัญ เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1910 ถึง 1920 นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมเม็กซิโกและรัฐบาลเม็กซิโกอย่างรุนแรง แม้ว่างานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้จะมุ่งเน้นไปที่การปฏิวัติในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค แต่ถึงกระนั้นเหตุการณ์นี้เป็นการปฏิวัติในระดับชาติเลยทีเดียว[6] จุดเริ่มต้นขึ้นในปีค.ศ. 1910 อันเป็นผลมาจากความล้มเหลวของระบอบที่ปกครองโดยปอร์ฟิริโอ ดิอัซที่ยาวนานกว่า 31 ปี แต่ไม่สามารถดำเนินการหาผู้สืบทอดระบอบในตำแหน่งประธานาธิบดีได้ อันนำมาซึ่งวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งใหญ่ในหมู่ชนชั้นนำและเกิดการจลาจลที่นำโดยกลุ่มเกษตรกร[7] เจ้าของที่ดินผู้ร่ำรวยที่มีนามว่า ฟรังซิสโก อี. มาเดโร ท้าทายอำนาจของระบอบดีอัซผ่านการเลือกตั้งในปีค.ศ. 1910 และจากผลการเลือกตั้ง ทำให้เกิดการก่อกบฏตามแผนซานลุยส์โปโตซี[8] การปะทะกันด้วยอาวุธที่เกิดขึ้นได้ขับไล่ดีอัซออกจากอำนาจ การเลือกตั้งครั้งใหม่จัดขึ้นในปีค.ศ. 1911 ผลักดันให้มาเดโรขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งมีพื้นฐานมาจากการต่อต้านระบอบของดีอัซในวงกว้าง การเลือกตั้งในปีค.ศ. 1910 เป็นตัวเร่งให้เกิดการก่อกบฏในทางการเมือง การปฏิวัติเกิดขึ้นจากองค์ประกอบความขัดแย้งของเหล่าชนชั้นนำที่เป็นปฏิปักษ์กับดีอัซ นำโดยมาเดโรและปานโช บิลยา และความขัดแย้งขยายไปสู่กลุ่มคนชนชั้นกลาง กลุ่มชาวนาในบางภูมิภาค และองค์กรของแรงงาน[9] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1911 มาเดโรได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นในการเลือกตั้งที่เป็นอิสระและยุติธรรม ฝ่ายต่อต้านระบอบใหม่ของเขาก็เกิดขึ้นจากฟากฝั่งอนุรักษ์นิยมทั้งสองกลุ่ม ที่มองว่าเขาอ่อนแอเกินไปและหัวเสรีนิยมมากเกินไป และจากในมุมของอดีตนักปฏิวัติด้วยกันและกลุ่มผู้ถูกยึดทรัพย์กลับมองว่าเขานั้นเป็นอนุรักษ์นิยมมากเกินไปประธานาธิบดีมาเดโรและรองประธานาธิบดี โฆเซ มารีอา ปิโญ ซัวเรซ ถูกบีบบังคับให้ลาออกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 และทั้งคู่ก็ถูกลอบสังหาร ระบอบการเมืองฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติของบิกตอริอาโน อวยตาก้าวขึ้นสู่อำนาจ โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจและผู้สนับสนุนเดิมในระบอบเก่า ประธานาธิบดีอวยตาอยู่ในอำนาจในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 จนถึง กรกฎาคม ค.ศ. 1914 เมื่อเขาถูกขับไล่ออกจากอำนาจโดยกองกำลังผสมของฝ่ายปฏิวัติในระดับภูมิภาค เมื่อฝ่ายปฏิวัติพยายามที่จะบรรลุข้อตกลงทางการเมืองระหว่างกันแต่สุดท้ายล้มเหลว เม็กซิโกจึงตกอยู่ในวังวนของสงครามกลางเมือง (ค.ศ. 1914 - 1915) ฝ่ายนิยมรัฐธรรมนูญที่นำโดยเจ้าของที่ดินผู้ร่ำรวย นามว่า เบนุสติอาโน การ์รันซา ก้าวขึ้นเป็นผู้ชนะในปีค.ศ. 1915 เขาสามารถกำจัดกองทัพปฏิวัติของอดีตสมาชิกฝ่ายนิยมรัฐธรรมนูญ ปานโช บิลยา และผลักไสให้เอมิลีอาโน ซาปาตากลับไปสู้รบในรูปแบบสงครามกองโจร ซาปาตาถูกลอบสังหารในปีค.ศ. 1919 โดยสายลับที่ส่งมาโดยประธานาธิบดีการ์รันซาการปะทะกันด้วยอาวุธกินเวลาเกือบทศวรรษในช่วงทศวรรษที่ 1920 และเกิดขึ้นหลายระยะ[10] เมื่อเวลาผ่านไปการปฏิวัติเปลี่ยนจากการกบฏเพื่อต่อต้านระบอบของดีอัสไปเป็นสงครามกลางเมืองหลายฝ่ายในบางภูมิภาค โดยมีการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจผ่านการต่อสู้ระหว่างฝ่ายต่างๆในการปฏิวัติ ผลที่สำคัญประการหนึ่งคือมีการยุบเลิกกองทัพสหพันธรัฐในปีค.ศ. 1914 ซึ่งฟรังซิสโก มาดูโรดำเนินการเมื่อเขาได้รับการเลือกตั้งในปีค.ศ. 1911 และนายพลอวยตาใช้เหตุนี้ในการโค่นอำนาจมาดูโร กองกำลังปฏิวัติร่วมมือกันต่อต้านระบอบต่อต้านการปฏิวัติของอวยตาและสามารถกำจัดกองทัพสหพันธรัฐได้[11] แม้ว่าความขัดแย้งส่วนใหญ่จะเป็นสงครามกลางเมือง แต่มหาอำนาจต่างชาติที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ในเม็กซิโกเป็นผู้กำหนดผลของความขัดแย้งทางอำนาจในเม็กซิโก สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์นี้[12] จากประชากรของเม็กซิโกจำนวน 15 ล้านคน ความสูญเสียเกิดขึ้นในระดับสูง แต่การประมาณการตัวเลขนั้นแตกต่างกันอย่างมาก บางทีมีรายงานว่ามีประชาชนเสียชีวิต 1.5 ล้านคน มีผู้ลี้ภัยไปต่างประเทศเกือบ 200,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่ลี้ภัยไปยังสหรัฐอเมริกา[3][13]นักวิชาการหลายคนเห็นว่าการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเม็กซิโกปี 1917 เป็นจุดยุติการปะทะกันทางอาวุธ "สภาพเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้นตามข้อตกลงของนโยบายฝ่ายปฏิวัติ เพื่อให้สังคมใหม่เกิดขึ้นภายใต้กรอบของสถาบันของฝ่ายปฏิวัติที่เป็นทางการ" โดยมีรัฐธรรมนูญเอื้อให้เกิดกรอบสถาบันดังกล่าว[14] ในช่วงปีค.ศ. 1920 ถึง 1940 มักถูกเรียกว่าเป็นช่วงแห่งการปฏิวัติ ในฐานะที่เป็นรัฐบาลที่มีความมั่นคงทางอำนาจ ฝ่ายพระสงฆ์และสถาบันคาทอลิกถูกโจมตีในช่วงทศวรรษที่ 1920 และรัฐธรรมนูญปี 1917 ของฝ่ายปฏิวัติได้ถูกนำมาใช้[15]ความขัดแย้งทางอาวุธครั้งนี้มักจะมีลักษณะเป็นเหตุการณ์ทางสังคมการเมืองที่สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในเม็กซิโกและเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ความวุ่นวายในคริสต์ศตวรรษที่ 20[16] มันทำให้เกิดแผนการที่สำคัญในการทดสอบและปฏิรูปในองค์กรทางสังคม[17] การปฏิวัติก่อให้เกิดระบอบทางการเมืองที่เกิดขึ้นด้วย "ความยุติธรรมทางสังคม" จนกระทั่งเม็กซิโกได้ผ่านกระบวนการปฏิรูปทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมที่เริ่มขึ้นในทศวรรษที่ 1980[18]

การปฏิวัติเม็กซิโก

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1910 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1920
(9 years, 6 months and 1 day)
สถานที่เม็กซิโก
ผลลัพธ์ฝ่ายปฏิวัติได้ชัยชนะ
สถานที่ เม็กซิโก
ผลลัพธ์ ฝ่ายปฏิวัติได้ชัยชนะ
วันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1910 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1920
(9 years, 6 months and 1 day)

ใกล้เคียง

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 การปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติทางวัฒนธรรม การปฏิวัติซินไฮ่ การปฏิวัติเม็กซิโก การปฏิวัติอิหร่าน การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ การปฏิวัติเวทมนตร์ขององค์หญิงเกิดใหม่กับยัยคุณหนูยอดอัจฉริยะ การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การปฏิวัติเม็กซิโก http://web.ebscohost.com/ehost/pdfviewer/pdfviewer... http://www.ic.arizona.edu/ic/mcbride/ws200/mex.htm http://www.getty.edu/research/conducting_research/... http://revolutions.truman.edu/mexico http://msem.ucpress.edu/content/34/1/36 http://www.hist.umn.edu/~rmccaa/missmill/mxrev.htm http://www2.ups.edu/faculty/jlago/fl380/source3_02... http://beinecke.library.yale.edu/digitallibrary/me... http://www.library.yale.edu/beinecke/ http://edsitement.neh.gov//spotlight.asp?id=187