การฝึกเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง

การฝึกเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง (อังกฤษ: Strength training) เป็นรูปแบบหนึ่งของการออกกำลังกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้แรงต้านให้เกิดการหดของกล้ามเนื้อเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง เกิดความทนทานในการออกกำลังกายที่ไม่ใช้ออกซิเจน และเพิ่มขนาดกล้ามเนื้อโครงร่างเมื่อออกกำลังกายอย่างถูกต้องแล้ว การฝึกเพื่อสร้างความแข็งแกร่งนั้นจะส่งผลดีต่อร่างกายได้อย่างเห็นได้ชัด ทั้งสุขภาพโดยรวม ที่รวมถึงการเพิ่มของมวลกระดูก กล้ามเนื้อ เอ็น และแข็งแกร่งและทรหดของเส้นเอ็น ยังทำให้การทำงานของข้อต่อดีขึ้น สามารถลดอาการบาดเจ็บได้[1] สามารถเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก เพิ่มเมแทบอลิซึม เพิ่มสมรรถภาพทางกาย[2][3] และยังทำให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น การฝึกโดยทั่วไปแล้วใช้เทคนิคในการค่อย ๆ เพิ่มแรงต่อกล้ามเนื้อ ทั้งจากการเพิ่มน้ำหนักและความหลายหลายในการออกกำลังกาย และรูปแบบของอุปกรณ์ที่เจาะจงกล้ามเนื้อในแต่ละกลุ่ม การฝึกเพื่อสร้างความแข็งแกร่งถือว่าเป็นกิจกรรมที่ไม่ใช้ออกซิเจน แต่บางครั้งก็มีการประยุกต์การออกกำลังกายเพื่อให้แบบใช้ออกซิเจน อย่างเช่น การฝึกแบบเซอร์กิต (circuit training)กีฬาที่เป็นการฝึกเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง เช่น การเพาะกาย ยกน้ำหนัก พาวเวอร์ลิฟติง กีฬาสตรองแมน กีฬาไฮแลนด์ ทุ่มน้ำหนัก ขว้างจักร พุ่งเหลน มีกีฬาบางประเภทที่ใช้การฝึกเพื่อสร้างความแข็งแกร่งเป็นส่วนประกอบ เช่น อเมริกันฟุตบอล เบสบอล บาสเกตบอล ฟุตบอล ฮอกกี ลาครอส ศิลปะการต่อสู้แบบผสม พายเรือ รักบี้ลีก รักบี้ยูเนียน ลู่และลาน และมวยปล้ำ

ใกล้เคียง

การฝึกเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง การฝึกงาน การฝึกโดยใช้น้ำหนัก การฝึกพูด การศึกษาในประเทศไทย การศึกษา การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก การยึดกรุงไซ่ง่อน การยึดครองญี่ปุ่น

แหล่งที่มา

WikiPedia: การฝึกเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง http://www.newstrength.com.au http://www.fiterati.co/exercising-enough-to-lose-w... http://www.mayoclinic.com/health/strength-training... http://cat.inist.fr/?aModele=afficheN&cpsidt=15048... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3721256 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16307157 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17313291 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19421643 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20086485 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20086885