การยึดครองฟิลิปปินส์ของญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นยึดครองฟิลิปปินส์ (Filipino: Pananakop ng mga Hapones sa Pilipinas; Japanese: 日本のフィリピン占領; Hepburn: Nihon no Firipin Senryō) เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1942 และ 1945 เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองเครือจักรภพแห่งฟิลิปปินส์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองการบุกครองฟิลิปปินส์ได้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 สิบชั่วโมงหลังการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์, เครื่องบินอเมริกันได้รับความเสียหายอย่างหนักในการโจมตีของญี่ปุ่นช่วงแรก เมื่อไร้การคุ้มกันทางอากาศ กองเรือเอเซียติกของอเมริกันในฟิลิปปินส์ได้ถอนตัวออกจากจาวา เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1941 นายพล ดักลาส แมกอาเธอร์ ได้รับคำสั่งให้ออกมา, ละทิ้งคนของเขาไว้ที่เกาะกอร์เรฮีดอร์ เมื่อคืนของวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1942 เดินทางไปยังออสเตรเลีย ระยะทาง 4,000 กิโลเมตร ทหารรักษาการณ์ที่เป็นฝ่ายป้องกันของอเมริกันและฟิลิปีโนที่กำลังอดอยากและป่วยหนักประมาณ 76,000 นายในบาตาอันได้ยอมจำนน เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1942 และถูกบังคับให้อดทนต่อการเดินขบวนความตายบาตาอันที่น่าอัปยศอดสู ซึ่งมีจำนวนประมาณ 7,000 - 10,000 นาย ได้เสียชีวิตหรือถูกฆ่าตาย ผู้รอดชีวิตประมาณ 13,000 นายบนเกาะกอร์เรฮีดอร์ได้ยอมจำนน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคมญี่ปุ่นได้เขายึดครองฟิลิปปินส์เป็นเวลานานกว่าสามปีจนกระทั่งการยอมจำนนของญี่ปุ่น การรบแบบกองโจรที่มีประสิทธิภาพสูงโดยกองกำลังต่อต้านฟิลิปปินส์ที่ควบคุมประมาณหกสิบเปอร์เซ็นของเกาะ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขา แมกอาเธอร์ได้ให้การสนับสนุนโดยเรือดำน้ำ และส่งกำลังเสริม และเจ้าหน้าที่ ชาวฟิลิปปินส์ยังคงจงรักภักดีต่อสหรัฐอเมริกา ส่วนหนึ่งเพราะอเมริกันได้รับรองให้ความเป็นเอกราช และเนื่องจากญี่ปุ่นได้กดขี่ข่มเหงต่อชาวฟิลิปปินส์เป็นจำนวนมากในการเกณฑ์แรงงานและยังทำให้หญิงสาวชาวฟิลิปปินส์กลายเป็นโสเภณี[1]นายพลดัก ดักลาส แมกอาเธอร์ยังคงให้สัญญาว่าจะกลับมายังฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1944 การยกพลขึ้นบกที่เกาะเลย์เตนั้นได้มาพร้อมกับกองกำลังของเรือ 700 ลำและทหาร 174,000 นาย ตลอดเดือนธันวาคม ค.ศ. 1944 เกาะเลย์เตและมินโดโรได้ปราศจากทหารญี่ปุ่น ในช่วงระหว่างการทัพ กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ดำเนินการป้องกันบนเกาะด้วยการฆ่าตัวตาย เมืองต่างๆ เช่น มะนิลาได้กลายเป็นเศษซากปรักหักพัง ชาวฟิลิปปินส์ในระหว่าง 500,000 และ 1,000,000 คนได้เสียชีวิตในช่วงการยึดครองของญี่ปุ่น

ใกล้เคียง

การยึดกรุงไซ่ง่อน การยึดครองญี่ปุ่น การยึดครองเซอร์เบียของออสเตรีย-ฮังการี การยึดกรุงคาบูล (พ.ศ. 2564) การยึดครองกลุ่มรัฐบอลติก การยึดครองพม่าของญี่ปุ่น การยึดครองโรมาเนียของโซเวียต การยึดครองกัมพูชาของญี่ปุ่น การยึดครองเมืองซารันจ์ การยึดครองบริติชโซมาลิแลนด์ของอิตาลี