ประวัติ ของ การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

การพัฒนาระบบคัดเลือกกลาง
1961มก.+ มม. เริ่มต้น
1962รวม 6 สถาบัน คือ จฬ. มธ. มก. มม. มศก. และ มจธ.
1963
1964รวม 8 สถาบัน คือเพิ่ม มช. และ มข.
1965
1966
1967รวม 10 สถาบัน คือเพิ่ม มอ. และ สจล.
1968
1969
1970
1971
1972
1973ทบวงมหาวิทยาลัย รับงาน
1974
1975
1976
1977
1978
1979
1980
1981
1982
1983
1984
1985
1986
1987
1988
1989
1990
1991
1992
1993
1994
1995
1996
1997
1998
1999
2000ระบบกลาง เอ็นทรานซ์
2001
2002
2003มีพรบ. สกอ.
2004
2005ก่อตั้ง สทศ.
2006ระบบกลาง ระยะที่ 1
2007
2008เริ่มสอบ O-NET
2009เริ่มสอบ GAT/PAT
2010ระบบกลาง ระยะที่ 2
2011
2012
2013
2014
2015
2016
2017
2018ระบบกลาง TCAS

ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย ผ่านการพัฒนาตั้งแต่ปีการศึกษา 2504 จนถึงปัจจุบัน[update] โดยมีหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

สกอ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (OHEC)ทบวง ทบวงมหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2515 - 2546 [3] ปัจจุบันคือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาสพฐ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC)สำนักงานปลัด สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (OPS-MOE)สกศ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หรือ สภาการศึกษาแห่งชาติ (ONEC)

ทปอ. ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (CUPT)สทศ. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (NIETS)อุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาไทยโรงเรียน โรงเรียนในประเทศไทย

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง CUAS

ประวัติ

ก่อนปีการศึกษา 2504 – ปีการศึกษา 2542

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษา CUAS (Central University Admissions System) เป็นการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย มีพัฒนาการในช่วงปีการศึกษา 2504 – 2542 [2]

  • ก่อนปีการศึกษา 2504 – มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งดำเนินการสอบเอง
  • ปีการศึกษา 2504 – มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) จัดสอบร่วมกัน โดยมี (สภาการศึกษาแห่งชาติ เป็นผู้ประสานงาน
  • ปีการศึกษา 2505 – สถาบันการศึกษาอีก 6 แห่ง จัดสอบร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการสละสิทธิ์และการเพิ่มจำนวนสำรองที่นั่งจากการที่ผู้สมัครได้หลายสถาบัน ทำให้นักเรียนในขณะนั้นต้องเสียเวลาสอบหลายแห่ง มีค่าใช้จ่ายมาก และมีผู้สมัครเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • ปีการศึกษา 2507 – สถาบันการศึกษาอีก 2 แห่งเข้าร่วม คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปัจจุบัน)
  • ปีการศึกษา 2509 – คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ กลับไปใช้วิธีสอบแยก แต่การดำเนินการเกิดปัญหามาก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องเลื่อนเปิดเทอมออกไป เนื่องจากต้องมีการเรียกสอบสัมภาษณ์เพิ่มหลายรอบ
  • ปีการศึกษา 2510 – คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของสภาการศึกษาแห่งชาติ ให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ กลับมาใช้วิธีสอบรวมอีกครั้ง และสถาบันการศึกษาอีก 2 แห่งเข้าร่วม คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในปัจจุบัน)
  • ปีการศึกษา 2516 – ทบวงมหาวิทยาลัยรับโอนงานการสอบคัดเลือกจากสำนักสภาการศึกษาแห่งชาติ แนวทางการคัดเลือกในช่วงนี้ ผู้สมัครมีสิทธิ์เลือกคณะหรือสถาบันการศึกษาได้ 6 อันดับ และเลือกวิชาสอบไปในคราวเดียวกัน หลังจากที่ระบบสอบคัดเลือกรวมได้ดำเนินการได้ระยะหนึ่ง ก็พบประเด็นปัญหาที่สำคัญดังนี้
    • การคัดเลือกแบบเดิมมีผลทางลบต่อการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือ ผู้เรียนส่วนใหญ่จะไม่สนใจเรียนวิชาที่ไม่ต้องใช้ในการสอบคัดเลือก เป้าหมายของการเรียนกลายเป็นการสอบเข้าศึกษาต่อเท่านั้น ผลที่ตามมาคือ นักเรียนที่เรียนดีได้มุ่งสอบเทียบเพื่อให้ตนมีคุณสมบัติเทียบเท่าสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แล้วเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยโดยเรียนไม่ครบตามชั้นปี ผู้ปกครองหรือนักเรียนอาจเห็นว่าเป็นการประหยัดเงินและเวลา ส่งผลให้มีผู้เรียนเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาก่อนมีวุฒิภาวะที่เหมาะสม และการจัดชั้นเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายก็มีปัญหาตามมา
    • การคัดเลือกแบบเดิมได้นักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถไม่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่เข้าเรียน เนื่องจากมีการสอบเฉพาะวิชาสามัญ
    • จำนวนผู้เข้ารับการคัดเลือกมีแนวโน้มสูงขึ้น
    • ระบบการคัดเลือกสร้างความเครียดให้นักเรียนและผู้ปกครอง
    • มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา เนื่องจากดำเนินการเฉพาะช่วงปิดภาคการศึกษาเท่านั้น

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง UCAS (2543 - 2548)

ปีการศึกษา 2543 - 2548

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง UCAS

ระบบคัดเลือก UCAS ถูกใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย ในช่วงปีการศึกษา 2543 - 2548 [2]ทบวงมหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษา ตรวจสอบ และพัฒนาการนำผลการเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมาใช้ในการคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา [4][lower-alpha 1] จึงได้ผลเป็นระบบคัดเลือกใหม่และทบวงให้ใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ระบบคัดเลือกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาได้ผู้เรียนที่มีความรู้ความสามารถและความถนัดตรงกับสาขาวิชาที่ต้องการเข้าเรียน การคัดเลือกใช้องค์ประกอบ 2 ส่วนในการพิจารณา [5] คือ ผลการเรียนตลอดหลักสูตรระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (ค่าน้ำหนัก 10%) และผลการสอบวิชาหลักและวิชาเฉพาะ (เรียกรวมว่า การสอบวัดความรู้ ) (ค่าน้ำหนัก 90%) และมีการดำเนินการสอบวัดความรู้ ปีละ 2 ครั้ง แล้วนำคะแนนครั้งที่มากมาคำนวณและจัดลำดับผลการสอบของผู้สมัครแต่ละคน

จุดเด่นของระบบ
  1. นำผลการเรียนของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมาร่วมด้วย
  2. นักเรียนมีโอกาสพัฒนาตนเอง คะแนนสอบเก็บไว้ใช้ 2 ปี สามารถเลือกคะแนนที่ดีที่สุดมาใช้ในการสมัคร
  3. ทราบผลคะแนนสอบล่วงหน้าก่อนการเลือกคณะ ทำให้มีโอกาสเลือกได้ตรงกับความสามารถของตน

จุดอ่อนของระบบ
  1. นักเรียนมีภาระการสอบ เกิดความเครียดมากขึ้นจากเดิม เนื่องจากมีการสอบสองครั้ง
  2. โรงเรียนพยายามเร่งสอบให้จบก่อนการสอบเดือนตุลาคม เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมด้านเนื้อหามากที่สุด เป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อระบบการเรียนการสอนตามปกติ


เชิงอรรถ
  1. ตามคำสั่งทบวงมหาวิทยาลัย ที่ 90/2542 คณะกรรมการศึกษา ตรวจสอบ และพัฒนาการนำผลการเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมาใช้ในการคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วยผู้แทนกรมวิชาการ ผู้แทนกรมสามัญศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปัจจุบัน) ผู้แทนคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ร่วมเป็นอนุกรรมการ

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง ระยะที่ 1

ปีการศึกษา 2549 - 2552

ระบบกลาง (Admissions) ระยะที่ 1

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง หรือ ระบบ Admissions ระยะที่ 1 ได้ประกาศใช้โดย สกอ. และ ทปอ. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 ระบบคัดเลือกนี้ใช้ GPAX, GPA (กลุ่มสาระฯ ), O-NET และ A-NET เป็นองค์ประกอบของเกณฑ์การคัดเลือก

ในที่นี้ คำว่า ผลการเรียน หมายถึง ผลการเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า, การรับเข้าศึกษาต่อ : การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย, สถานศึกษา : มหาวิทยาลัยหรือสถาบันผู้รับเข้าศึกษา, การคัดเลือก : การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย 
ความเป็นมาของระบบกลาง (Admissions) ระยะที่ 1 [2]
  • ทปอ. ได้เสนอให้ทบวงพิจารณาปรับปรุงระบบการคัดเลือกในระบบสอบรวม โดยขอให้เริ่มตั้งแต่รุ่นปีการศึกษา 2547 เป็นต้นไป โดยยึดหลักการให้เพิ่มผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการคัดเลือกมากขึ้น และพิจารณาความสามารถของผู้สมัครจากผลการสอบวิชาหลัก และ/หรือแบบทดสอบมาตรฐานความสามารถทางการเรียน ซึ่งจัดสอบโดย สทศ. ที่จะจัดตั้งขึ้น[6]
  • สำหรับผลการเรียนต้องได้รับการตรวจสอบจาก สพฐ. หรือสำนักงานปลัด หรือต้นสังกัดต่าง ๆ เพื่อป้องกันการคิดเกรดผิดพลาด
  • ทั้งนี้ สถานศึกษาอาจกำหนดคุณสมบัติอื่น หรือให้มีการสอบวิชาเฉพาะ ซึ่งแต่ละสถานศึกษา หรือ สทศ.เป็นฝ่ายจัดสอบ หรือกลไกการสอบรวม (ทบวงเป็นผู้ประสานงานและสถานศึกษาเป็นศูนย์สอบ) เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542[7]
Admissions ระยะที่ 1: องค์ประกอบ
GPAX10%
GPA (กลุ่มสาระ)20%
O-NET35–70%
A-NET และ/วิชาเฉพาะไม่เกิน 3 วิชา0–35%
  • การพิจารณาของ ทปอ. ร่วมกับ สกอ. ได้ยึดหลักการแนวทางเพื่อกำหนดเป็นระบบกลางของการรับเข้าศึกษาต่อ มีสาระดังนี้
  1. ระบบใหม่จะต้องปรับเปลี่ยนจากระบบสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เป็นระบบที่พิจารณาจากผลการเรียน และต้องเป็นระบบที่มีความยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้
  2. การพิจารณาผลการเรียนเพื่อการรับเข้าศึกษาต่อจะพิจารณาจากการวัดผลด้วยวิธีการและตามช่วงวลาต่าง ๆ ที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ตามกระบวนการปฏิรูปการศึกษา[8] [lower-alpha 1]
  3. หลีกเลี่ยงการสอบเพิ่มเติม หรือแม้หากมีการสอบเพิ่มเติมกำหนดให้ไม่เกิน 3 วิชา
  • การปรับปรุงระบบการคัดเลือกได้ดำเนินการมาโดยลำดับ ได้ข้อยุติเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2548 โดย ทปอ. ประกาศการใช้ระบบการคัดเลือกนี้ เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 (ดูตารางขวามือ)
ข้อดีของระบบ Admissions ระยะที่ 1

  1. การใช้ผลการเรียน GPAX, GPA กลุ่มสาระฯ และการทดสอบ O-NET ทำให้นักเรียนมุ่งเรียนในห้องเรียนอย่างเต็มที ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการคัดเลือกที่ต้องการนำผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการพืจารณาคัดเลือก เพื่อส่งเสริมสนับสุนนให้การศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นไปตามปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร จุดประสงค์ouhจะสมบูรณ์เมื่อการศึกษาในโรงเรียนมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับได้จากสังคมโดยทั่วไป สถาบันอุดมศึกษาก็คาดหวังว่าการปฏิรูปการศึกษาจะนำพาให้เกิดการยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ดีขึ้น
  2. การกำหนดให้สอบเพิ่มเติมไม่เกิน 3 วิชา เพื่อป้องกันการกวดวิชาเกินความจำเป็น และคณะ/สาขาวิชาได้กำหนดการสอบเพิ่มเติมเฉพาะวิชาที่จำเป็นเท่านั้น

ข้อเสียระบบ Admissions ระยะที่ 1

  1. เรื่องมาตรฐานโรงเรียนซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันไม่รู้จบ
  2. การให้สัดส่วนค่าน้ำหนักของวิชาเฉพาะ หรือ A-NET ที่น้อยกว่าการให้ค่าน้ำหนักผลการเรียน อาจจะมีผลต่อการคัดเลือก ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีข้อมูลยืนยัน
  3. การกำหนดให้สอบ A-NET /วิชาเฉพาะ ปีละครั้ง ทำให้นักเรียนที่พลาดพลั้งไม่ได้สมัครสอบต้องรออีก 1 ปี จึงจะสมัครสอบและสมัครคัดเลือกในคณะวิชาที่ต้องการได้


เชิงอรรถ
  1. เหตุผลที่ต้องปรับระบบการคัดเลือกในปีการศึกษา 2549 เนื่องจากเป็นปีที่นักเรียนเรียนจบตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 เป็นรุ่นแรกและเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2549)

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง ระยะที่ 2

ปีการศึกษา 2553 - 2560

ระบบกลาง (Admissions) ระยะที่ 2

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง หรือ ระบบ Admissions ระยะที่ 2 ได้ประกาศใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 โดยใช้ GPAX, GPA (กลุ่มสาระ), O-NET, และ PAT เป็นองค์ประกอบของเกณฑ์การคัดเลือก [2]

เนื่องจากระบบระยะที่ 1 ได้รับเสียงวิจารณ์เรื่องการให้สัดส่วนผลการเรียนมากเกินไป การรับเข้าศึกษาด้วยระบบ Admissions มีเป้าหมายว่า เมื่อดำเนินการเต็มรูปแบบ สถานศึกษาจะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณารับเข้าและประกาศเกณฑ์อย่างทั่วถึง ผู้ที่สนใจจะสมัครเข้าศึกษาต่อสถาบันศึกษาใดจะต้องนำผลการสอบที่ สทศ. จัดสอบเพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกันและต้องไม่เพิ่มภาระแก่ผู้สมัคร ที่สามารถจะนำผลการสอบไปยื่นสมัครที่หน่วยคัดเลือกกลางที่มีกลไกดำเนินงานที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ

Admissions ระยะที่ 2: องค์ประกอบ
GPAX20%
GAT10–50%
O-NET (8 กลุ่มสาระ)30%
PAT0–40%

ในการปรับปรุงระบบ ทปอ. ได้มอบให้กลุ่มเสวนาการรับบุคคลเข้าศึกษาและการวัดผล (Admissions and Assessment Forum) ดำเนินการ โดยมีหลักการซึ่ง ทปอ. ให้พิจารณานำผลการเรียนและการสอบ PAT เป็นองค์ประกอบของการคัดเลือก ผลการเรียนประกอบด้วย GPAX และผลการสอบ O-NET ส่วน PAT จะแทนที่การสอบ A-NET และ/หรือวิชาเฉพาะ เนื่องจากหลักการของ PAT เป็นการทดสอบความถนัดทางการเรียนซึ่งไม่เน้นเนื้อหาวิชา จึงสามารถจัดสอบได้หลายครั้งในแต่ละปีทปอ. เห็นชอบองค์ประกอบการคัดเลือกปีการศึกษา 2553 ดังตารางทางขวามือ

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง TCAS

ปีการศึกษา 2561 - ปัจจุบัน

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง TCAS

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง TCAS (Thai university Central Admission System) เป็นการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 [9]

ความเป็นมา
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) พิจารณาปรับรูปแบบการรับเข้าศึกษา โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ ให้นักเรียนอยู่ในห้องเรียนจนจบหลักสูตร ให้จัดการสอบเพื่อการคัดเลือกได้หลังจากนักเรียนเรียนจบหลักสูตรโดยใช้ข้อสอบของส่วนกลาง และให้มีการบริหารสิทธิ์ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย [10]:6
  • ทปอ.ได้รับหลักการและเสนอแนวทางการรับเข้าอุดมศึกษาแบบใหม่ โดยสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายทปอ. 30 แห่ง ร่วมกันพิจารณากระบวนการคัดเลือกเข้าอุดมศึกษา เพื่อความเท่าเทียมกัน ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป ด้วยหลักการ 3 ประการ [10]:6
  • ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎและที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้รับหลักการในการเข้าร่วมดำเนินการตามแนวทางนี้ด้วย [10]:6
หลักการสำคัญของ TCAS
  1. นักเรียนควรอยู่ในห้องเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
  2. ผู้สมัครแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์ในการตอบรับในสาขาวิชาที่เลือก เพื่อความเสมอภาค
  3. สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จะเข้าระบบ Clearing House เพื่อบริหาร 1 สิทธิ์ของผู้สมัคร
— ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย, TCAS ปีการศึกษา 2561, [10]:7

เกณฑ์การคัดเลือกและกระบวนการ

ใกล้เคียง

การรับรู้รส การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย การรับรู้อากัปกิริยา การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ การรับรู้ไฟฟ้า การรักษามะเร็งแบบทางเลือก การรับรู้สนามแม่เหล็ก การรับมือโดยใช้อารมณ์ (จิตวิทยา) การรัดเท้า การรับรู้ความใกล้ไกล

แหล่งที่มา

WikiPedia: การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย http://www.enttrong.com/tag/590 http://a.cupt.net http://tcas.cupt.net http://tcas.cupt.net/about.php http://tcas.cupt.net/cal_score.php http://tcas.cupt.net/policy.php http://tcas.cupt.net/qa_admission.php http://tcas.cupt.net/src/TCAS4.pdf http://tcas.cupt.net/src/calendar.pdf http://tcas.cupt.net/src/tcas61-detail.pdf