ตัวอย่างงานที่เป็นหรืออาจเป็นโจรกรรมทางวรรณกรรม ของ การลอกเลียนวรรณกรรม

ในวงวิชาการ

  • ตัวอย่างแรกสุดของการกล่าวหาการส่อโจรกรรมทางวรรณกรรมเกิดขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 (ประมาณ พ.ศ. 1545พ.ศ. 1645) เมื่ออัลกาหลิบ อัลแบกห์ดาดี (al-Khatib al-Baghdadi) กล่าวหาว่าหนังสือ “บุคออฟแอนิมอลส์” (Book of Animals) ของ อัลจาห์อิซ ( al-Jahiz) ส่วนหนึ่งถูกขโมยมาจากผลงานของอริสโตเติล ชื่อ Kitāb al-Hayawān, [30] แต่ต่อมานักปราชญ์ในสมัยหลังให้ข้อสังเกตว่ามีเพียงอิทธิพลผลงานอริสโตเติลเท่านั้นที่ปรากฏในงานของอัลจาห์อิซดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากอัลแบกห์ดาดีอาจมีความคุ้นต่องานของอริสโตเติล[31]
  • เจมส์ เอ. แมกเคย์ (James A. Mackay) นักประวัติศาสตร์ชาวสกอตแลนด์ถูกบังคับให้ถอนหนังสือชีวประวัติของอเลกซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ทั้งหมดออกจากตลาดเมื่อ พ.ศ. 2541 เนื่องจากการโจรกรรมผลงานของผู้อื่นที่ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2516 รวมทั้งการลอกหนังสือชีวประวัติของพระราชินีแมรีแห่งสกอตแลนด์ (Mary Queen of Scots) แอนดรู คาร์เนกี (Andrew Carnegie) และเซอร์วิลเลียม วอลเลซ นอกจากนี้แมกเคย์ยังถูกบังคับให้ถอนงานรุ่นต่อมาคือเรื่อง จอห์น ปอล โจนส์ (John Paul Jones) ออกจากตลาดอีกด้วยเมื่อ พ.ศ. 2542 ด้วยเหตุผลเดียวกัน[32][33]
  • มาร์ก ชาเบดี ศาตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยวิทวอเตอส์รานด์ ในประเทศแอฟริกาใต้ ได้ทำโจรกรรมทางวรรณกรรมมาใช้ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของตน โดยใช้งานที่เขียนโดยคิมเบอร์ลีย์ เลเนแกรนแห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดาที่ลอกมาคำต่อคำ เมื่อเลเนแกรนพบเข้า เธอได้ขอให้มีการสอบสวนชาเบดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ ชาเบดีถูกไล่ออกและถอนตำแหน่งศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยเดิมก็ได้ถอนปริญญาเอกของเขาด้วย.[34] (หมายเลข OCLC วิทยานิพนธ์ดังกล่าวคือ AAG9801108 และAAI9980001.)
  • นักประวัติศาสตร์ชื่อ สตีเฟน แอมโบรส (Stephen Ambrose) ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าได้ใช้งานส่วนหนึ่งของผู้อื่นมาใช้ในหนังสือหลายเล่มของตน แอมโบรสถูกกล่าวหาครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2545 โดยนักเขียน 2 คน ว่าได้ลอกข้อความเกี่ยวกับนักบินทิ้งระเบิดในสงครามโลกครั้งที่ 2 จากหนังสือเรื่อง The Wings of Morning ของโทมัส ชิลเดอร์ (Thomas Childers) ไปใช้ในหนังสือเรื่อง The Wild Blue ของตน[35] หลังจากที่แอมโบรสยอมรับถึงความเผอเรอของตน หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ก็ได้ค้นพบโจรกรรมทางวรรณกรรมของแอมโบรสอีก ซึ่งนิวยอร์กไทม์ได้ลงข่าวว่า “แอมโบรสก็ได้ยอมรับถึงความเผอเรออีกครั้งหนึ่งและสัญญาว่าจะแก้ไขให้ในการพิมพ์ครั้งต่อไป” [36]
  • ผู้เขียนหนังสือชื่อดอริส คีนส์ กู๊ดวิน ได้ทำการสัมภาษณ์ลีนน์ แมกแทกการ์ท ผู้เขียนหนังสือชื่อ “The Fitzgeralds and the Kennedys" ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2530 และได้ใช้ประโยคถ้อยคำจากหนังสือของแมกแทกการ์ทเกี่ยวกับแคเทอรีน เคเนดี ในปี พ.ศ. 2545 เมื่อความเหมือนกันระหว่างหนังสือของกู๊ดวินและแมกแทกการ์ทปรากฏขึ้นต่อสาธารณชน กู๊ดวินได้แถลงว่าเธอเข้าใจว่าการประกาศกิตติกรรมไม่จำเป็นสำหรับทุก ๆ การอ้างอิงเนื่องจากได้มีเชิงอรรถเป็นจำนวนมากไว้ให้ครบแล้ว แต่หลายคนก็ยังคงมีความสงสัยในคำอ้างและเธอถูกบังคับให้ลาออกจากการเป็นคณะกรรมการรางวัลพูลิตเซอร์ในที่สุด [37][38]
  • นักคณิตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชื่อดานุท มาร์คู (Dănuţ Marcu) ที่อ้างว่าตนได้ตีพิมพ์บทความวิชาการดั้งเดิมมากกว่า 383 บทความในวารสารทางวิทยาศาสตร์หลายฉบับ ภายหลังปรากฏว่ามีบทความหลายเรื่องของมาร์คูที่ไปเหมือนกับบทความที่มีผู้อื่นตีพิมพ์ไปแล้วก่อนหน้านั้น[39]
  • คณะกรรมการสอบสวนคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยโคโลราโดพบว่าศาสตราจารย์ด้านชาติพันธุ์ศึกษา (Ethnic Studies) ชื่อวอร์ด เชอร์ชิล มีความผิดหลายกระทงในการโจรกรรมทางวรรณกรรม ปลอมแปลงงานและอ้างสิ่งที่เป็นความเท็จ หลังจากอธิการบดีนำเรื่องเสนอสภามหาวิทยาลัย เชอร์ชิลก็ถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 [40][41]
  • ศาสตราจารย์ บี. เอส. ราชบุต นักฟิสิกส์และรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยคูมาโอน ประเทศอินเดียลาออกจากมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2546 เนื่องจากถูกพบว่าได้ทำการโจรกรรมผลงานจากบทความทางวิชาการชิ้นหนึ่ง (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา) [42][43]
  • ในปี พ.ศ. 2550 นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแอนนา เชนไน ( Anna University Chenna) ในมาดราสได้ตีพิมพ์บทความวิชาการในวารสารวัสดุศาสตร์ [44] ซึ่งเหมือนกับบทความจากมหาวิทยาลัยลินโคปิง (University of Linköping) ที่ตีพิมพ์มาแล้วในวารสาร PNAS [45] [46]

ธุรกิจ

ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2550 วารสาร Financial Times ได้ตีพิมพ์บทความในหน้า 1 ชื่อ "'Pipeliners All!’ Shell’s memo to Sakhalin" [47]

บทความอ้างถึงการรั่วอย่างจงใจของบันทึกช่วยจำในรูปอีเมลจากเดวิด เกรียร์ รองประธานบริหารของบริษัทพลังงานสักขาลิน (Sakhalin Energy) แจกจ่ายแก่พนักงานบริษัท มีบางคนที่ตาแหลมคมได้สังเกตว่าข้อความให้ความบันดาลหลายข้อความในนั้นเอามาจากสุนทรพจน์อันมีชื่อเสียงของนายพลอเมริกันผู้มีตำนานโด่งดังคือนายพลจอร์จ เอส. แพตตัน (George S. Patton) ที่แสดงไว้เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ก่อนวันดีเดย์ (D-Day) หนึ่งวัน ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2550 หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์และเว็บไซต์ FT.com ก็ได้มีตีพิมพ์สุนทรพจน์ดังกล่าวของเกรียร์ ใต้พาดหัวว่า “บันทึกช่วยจำสักขาลินลอกจากสุนทรพจน์เกือบทั้งหมดของแพตตัน” [48]

ในวันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ไฟแนนเชียลไทม์ได้ตีพิมพ์อีกบทความหนึ่ง [49] เกี่ยวกับโจรกรรมทางวรรณกรรม คราวนี้พาดหัวว่า “บักทึกสร้างแรงบันดาลใจนี้จะต้องทำความชัดเจนให้ปรากฏ” และในเนื้อข่าวเขียนว่าบันทึกของเกรียร์ซึ่งเป็นรองประธานบริษัทหยาบ เว้นวรรคตอนผิด ๆ ถูก ๆ และไม่ได้เขียนเองไปลอกของแพตตันมาเกือบทั้งหมดแล้วนำมาใช้เป็นของตนเองในการใช้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่วิศวกรเดินท่อน้ำมัน ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2550 หนังสือพิมพ์มอสโคไทม์ก็ลงข่าวโจมตีในทำนองเดียวกันfront page story ในวันที่ 22 มิถุนายนก็รายงานข่าวว่าเกรียร์ซึ่งทำงานกับบริษัทนี้มา 27 ปีได้ขอลาออกจากบริษัทเพื่อไปประกอบอาชีพอื่นและว่าการลาออกโดยกะทันหันเนื่องมากจากทนแรงกดดันไม่ไหว

เกมคอมพิวเตอร์

  • วิดีโอเกมส์ ชื่อ “ปอง” (Pong) ของอาตาริ (Atari) ถูกกล่าวหาโดยแมกนาวอกซ์ (Magnavox) ว่าลอกเลียนแบบมาจากเกมส์เทนนิสออดิซีของตน โดยโนลาน บุชเนล (Nolan Bushnell) ได้ไปเห็นงานของราฟ แบร์ (Ralph Baer) ที่งานแสดงทางอีเลกทรอนิกส์ในเบอร์ลิงเกมส์ แคลิฟอร์เนียเมื่อปี พ.ศ. 2515 จากนั้นบุชเนลได้ก่อตั้งอาตาริและสร้าง “ปอง” ขึ้นเป็นสินค้าเกมส์นำร่อง แบร์และแมกนาวอกซ์ได้ฟ้องร้องบุชเนลและอาตาริต่อศาลเมื่อ พ.ศ. 2516 ซึ่งในที่สุดสามารถตกลงยอมความกันนอกศาลได้เมื่อ พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นจุดจบของออดิซีและการเริ่มยุคของอาตาริ [50] [51]

ภาพยนตร์

  • ภาพยนตร์เรื่อง Nosferatu เมื่อ พ.ศ. 2465 เป็นการดัดแปลงที่ไม่ได้รับอนุญาตมาจากนวนิยายเรื่อง “แดรกคิวลา” ของแบรม สโตเกอร์ (Bram Stoker) ภรรยาหม้ายของสโตเกอร์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้อำนวยการสร้าง และภาพยนตร์เรื่องนี้หลายสำเนาถูกนำไปทำลาย (มีบางสำเนาที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง) [52]
  • ในปี พ.ศ. 2533 ภาพยนตร์เรื่อง Hardware ถูกพบว่ามีหลายบทตอนที่ไปเหมือนกับการ์ตูนชุดเรื่อง "SHOK!" หลังจากสิ้นคดีฟ้องร้องผู้ผลิตได้ตกลงยินยอมที่จะแก้ไขโดยการเพิ่มข้อความกิตติกรรมประกาศลงไปในภาพยนตร์ว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากผู้วาดการ์ตูนชุดเรื่องดังกล่าว[53]

การหนังสือพิมพ์

  • เมื่อปี พ.ศ. 2542 นักเขียนและนักวิเคราะห์ข่าวชื่อมอนิกา โครว์เลย์ (Monica Crowley) ถูกกล่าวหาว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมในส่วนหนึ่งของบทความที่เธอเขียนลงในวารสารวอลล์สตรีทฉบับลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ที่มีชื่อบทความว่า “วันที่นิกสันกล่าวอำลา” (The Day Nixon Said Goodbye) และวารสารวอลล์สตรีทก็ได้รีบประกาศคำขอโทษในสัปดาห์นั้น ต่อมา ทิโมนี โนอาห์ (Timothy Noah) แห่งนิตยสารสเลท (Slate Magazine) ก็ได้เขียนบทความของเธอที่ไปเหมือนเป็นอย่างมากกับบางตอนในบทความที่พอล จอห์นสัน (Paul Johnson) เขียนในบทวิจารณ์ของเขาที่ชื่อ “สดุดีนิกสัน” (Praise of Richard Nixon) [54]
  • เจสัน แบลร์ Jayson Blair ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ "นิวยอร์กไทม์" ได้ทำโจรกรรมทางวรรณกรรมในบทความหลายเรื่อง และแต่งอัญพจน์ (คำในเครื่องหมายคำพูด) เอาเอง รวมทั้งเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเจสสิกา ลินช์ (Jessica Lynch) และเรื่อง Beltway sniper attacks เจสัน แบลร์และบรรณาธิการอีกหลายคนที่เกี่ยวข้องต้องลาออกจากนิวยอร์กไทม์เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 [55]
  • แบลร์ ฮอร์นสไตน์ (en:Blair Hornstine) นักเรียนมัธยมมูส์ทาวน์ชิพ ในนิวเจอร์ซีย์ถูกเพิกถอนจากการได้รับเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 หลังจากถูกจับได้ว่าเธอทำโจรกรรมทางวรรณกรรมด้วยการใช้สุนทรพจน์และข้อเขียนของบุคคลสำคัญหลายคนรวมทั้งบิล คลินตันไปใส่ในบทความของเธอในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในฐานะของ “นักเรียนนักหนังสือพิมพ์” [56]
  • มิเชล โอเลสเกอร์ (Michael Olesker) นักเขียนคอลัมน์เก่าแก่ประจำหนังสือพิมพ์บัลติมอร์ซัน ( Baltimore Sun) ได้ลาออกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 หลังจากถูกจับได้ว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมลอกบทความของนักเขียนคอลัมน์ประจำของหนังสือพิมพ์อื่นมาใส่ในบทความของตน [57]
  • ไม่นานหลังจากได้รับการว่าจ้างเป็นผู้เขียน “บล็อก” ประจำให้แก่หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เมื่อ พ.ศ. 2549 เบน โดเมเนช (Ben Domenech) ก็ถูกจับได้ว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมจากการลอกคอลัมน์และบทความที่ตนเองเคยเขียนในหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยและใน “เนชันแนลรีวิวออนไลน์” (National Review Online) รวมทั้งจากหยิบเอาข้อความจากหลาย ๆ แหล่งมาจากทั้งของนักเขียนวิจารณ์ที่มีชื่อเสียงไปจนถึงของนักวิจารณ์ภาพยนตร์สมัครเล่น โดเมเนชได้กล่าวขอโทษและขอลาออกจากวอชิงตันโพสต์ [58]
  • นักเขียนคอลัมน์ประจำของหนังสือพิมพ์บอสตันโกลบชื่อไมค์ บาร์นิเคิล (Mike Barnicle) ถูกบังคับให้ลาออกเมื่อถูกกล่าวหาและพบว่าในคอลัมน์ของตนในหนังสือพิมพ์ฉบับวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีข้อความ 10 ข้อความที่ลอกมาจากหนังสือเรื่อง Brain Droppings (พ.ศ. 2540) ของจอร์จ คาร์ลิน (George Carlin) [59]
  • วารสารเอไซน์ (ezine) Wecite, ของปากีสถานถูกพบว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมในบทความในสารสารฉบับประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 จำนวน 11 บทความที่มีเนื้อหาที่ลอกมาจากแหล่งต่าง ๆ ในเว็บ มีหลายบทความที่ลอกมาคำต่อคำ รวมทั้งจากเว็บ Hindustan Times, Rediff, Blogcritics, นิตยสาร "Vis-a-Vis" และนิตยสาร Slate [60] ฝ่ายบริหารของวารสารเอไซน์ได้ถอดเว็บไซต์ออกและกล่าวขอโทษ และว่าโจรกรรมทางวรรณกรรมที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการใช้งานที่ผิดของผู้เขียนและบรรณาธิการของวารสาร และสัญญาว่าจะดูแลเรื่องโจรกรรมทางวรรณกรรมตามสมควร แต่จะไม่ลงโทษนักเขียนคนอื่น ผู้บริหารและผู้จัดการที่ไม่ได้ตั้งใจในการกระทำครั้งนี้ [61]
  • เดวิด โคช (David Koch) พรีเซนเตอร์โทรทัศน์ออสเตรเลียได้ทำโจรกรรมทางวรรณกรรมโดยลอกแบบคำต่อคำ 3 บรรทัดจากคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ The Sunday Telegraph มาใช้ในคอลัมน์สำหรับหนังสือพิมพ์ en:The Sun-Herald ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ของตน โคชแถลงต่อกลุ่มผู้เฝ้ามองสื่อ (Media Watch) ของออสเตรเลียว่า “....ตั้งแต่ผมถูกชี้ให้เห็นว่า 3 ประโยคนี้ดูเหมือนว่าจะเอามาจากเรื่องที่คล้ายกันในหนังสือพิมพ์ฉบับอื่น แม้ว่ามันจะไม่ชัดเจนนัก แต่ผมก็ขอรับผิดชอบต่อความผิดทั้งหมดนั้น” [62]

วรรณกรรม

  • เฮเลน เคลเลอร์ ซึ่งตอนนั้นมีอายุไม่มาก ถูกกล่าวหาเมื่อ พ.ศ. 2435 ว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมโดยการลอกงานบางส่วนของจากหนังสือมากาเรต ที แคนบี ชื่อ The Frost Fairies มาใส่ในเรื่องสั้นของเธอชื่อ The Frost King เคลลเลอร์ถูกสอบสวนโดยคณะกรรมการสถาบันคนตาบอดเพอร์กิน (Perkins Institute for the Blind) ซึ่งเธอชนะด้วยคะแนนเสียงเดียวและถูกยกฟ้อง เคลเลอร์อ้างในกรณีนี้ว่าเธออาจเคยอ่านเรื่อง The Frost Fairies แต่ได้ลืมไป ซึ่งเป็นเหตุให้เคลเลอร์เกิดความหวาดระแวงโจรกรรมทางวรรณกรรมมาโดยตลอดชีวิต [63][64] รวมทั้งเป็นเหตุให้เคลเลอร์เขียนหนังสืออัตชีวประวัติด้วยการสำนึกตลอดเวลาว่าจะต้องมีความดั้งเดิมทั้งหมด
  • อเลกซ์ ฮาเลย์ (Alex Haley) ได้ตกลงยอมความคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากฮาโรล คูแลนเดอร์ (Harold Courlander) เนื่องจากการยกเอาข้อความมากกว่า 80 แห่งมาจากนวนิยายเรื่อง “ดิแอฟริกัน” ของคูแลนเดอร์มาใช้ในหนังสือเรื่อง “รูทส์” (Roots: The Saga of an American Family) ของตน การถูกกล่าวหาและฟ้องร้องครั้งนี้ทำให้ฮาเลย์วุ่นวายใจไปตลอดและเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2545 ในการยอมความนอกศาล ฮาเลย์ต้องจ่ายเงินให้แก่คูแลนเดอร์เป็นเงิน 650,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 21 ล้านบาท [65] ฮาเลย์อ้างว่าตนได้ข้อความมาจากใครบางคนและจำไม่ได้ว่าใครให้มา ....ซึ่งสุดท้ายก็ได้มาปรากฏในหนังสือของตน[66]
  • แดน บราวน์ ผู้ประพันธ์นวนิยายเรื่อง “รหัสลับดาวินชี” ถูกกล่าวหาทางโจรกรรมทางวรรณกรรมถึงสองครั้งที่เรียกกันว่า “การวิพากษ์วิจารณ์ดา วินชี โค้ด” ( Criticisms of The Da Vinci Code) ถึงขั้นการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย แต่ในที่สุดก็ได้รับการยกฟ้องทั้งสองครั้ง [67][68][69][70][71]
    • บราวน์ถูกกล่าวหาว่าใช้โครงร่างหนังสือของมิเชล ไบเจนและริชาร์ด เลห์ เรื่อง The Holy Blood and the Holy Grail (พ.ศ. 2525) ผู้พิพากษาอังกฤษตัดสินยกฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์เมื่อ พ.ศ. 2549
    • นอกจากนี้ บราวน์ยังถูกกล่าวหาโดยนักประพันธ์นวนิยายชื่อลูอิส เพอร์ดิว ( Lewis Perdue) ว่าบราวน์ทำโจรกรรมทางวรรณกรรมงานของตนจากหนังสือเรื่อง “มรดกดา วินซี” (The Da Vinci Legacy) และเรื่อง “ลูกสาวพระเจ้า” (Daughter of God) ผู้พิพากษาสหรัฐฯ ตัดสินยกฟ้องในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548
  • นวนิยายเรื่องแรกของแคแอฟยา วิศวานาธาน (Kaavya Viswanathan) เรื่อง "How Opal Mehta Got Kissed, Got Wild and Got a Life" ถูกกล่าวหาว่ามีข้อความหลายตอนในหนังสือที่โจรกรรมทางวรรณกรรมมาจากนวนิยายเรื่องอื่น ๆ ก่อนหน้านี้อย่างน้อย 5 เล่ม เป็นเหตุให้หนังสือนวนิยายเรื่องดังกล่าวทุกฉบับพิมพ์ถูกเก็บออกจากตลาด สัญญาที่เกี่ยวข้องที่ทำไว้กับสำนักพิมพ์ลิตเติล บราวน์ถูกยกเลิก การต่อรองที่กำลังทำกับบริษัทภาพยนตร์ดรีมเวิร์ค เอสเคจีต้องยุติลงไปด้วย [72][73][74]
  • ปี พ.ศ. 2543 เจ. เค. โรว์ลิง ผู้แต่งนวนิยายชุดแฮรี พอตเตอร์ มีคดีข้อขัดแย้งทางกฎหมายที่ฟ้องร้องโดย แนนซี สตูฟเฟอร์ ที่อ้างว่าโรว์ลิงได้ทำโจรกรรมทางวรรณกรรมด้วยการใช้เรื่องราวจากงานเขียนของเธอในอาชีพนักเขียนอันสั้นของเธอ สตูฟเฟอร์แพ้คดีหลังจากศาลตัดสินว่าเป็นการปั้นเรื่องขึ้น

วิกิพีเดีย

  • เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 สำนักข่าว เอ.พี. รายงานว่านักเคลื่อนไหวชื่อ แดเนียล บรานท์ อ้างว่าได้พบว่ามีบทความจำนวน 142 บทความในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษจาก 12,000 บทความที่เขาเลือกตรวจจับได้ว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรม ผู้บริหารวิกิพีเดียโต้ตอบว่า รายชื่อบทความจำนวนดังกล่าวถูกตรวจจับอย่างผิด ๆ เพราะมีบทความที่อ้างว่าวิกิพีเดียไปทำโจรกรรมทางวรรณกรรมมานั้น แท้จริงได้ทำโจรกรรมทางวรรณกรรมไปจากบทความดั้งเดิมของวิกิพีเดียก่อนหน้านั้นโดยได้ดำเนินการแจ้งการละเมิดลิขสิทธิ์ไปแล้วด้วย [75] He "called on Wikipedia to conduct a thorough review of all its articles."[76]
  • จอร์จ ออร์เวล (George Orwel) (คนละคนกับ จอร์จ ออร์เวลล์ - George Orwell) ถูกกล่าวหาว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมจากวิกิพีเดียในหนังสือชื่อ Black Gold: The New Frontier in Oil for Investors โดยสำนักพิมพ์จอห์น ไวเลย์แอนซัน ( John Wiley & Sons) ได้ให้คำยืนยันว่าหนังสือเล่มดังกล่าวใช้ข้อความจากวิกิพีเดียจำนวนประมาณ 5 ย่อหน้าจริง[77] จากบทความปี พ.ศ. 2548 เรื่อง "Khobar Towers Bombing ในซาอุดิอาระเบีย" มีหน้าอภิปรายของผู้ใช้หน้าหนึ่งที่อภิปรายเกี่ยวกับเรื่องนี้[78] ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม (รวมข้อความเดิม) และความเห็นต่าง ๆ หาดูได้ในเว็บมีเดีย

[79][80]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การลอกเลียนวรรณกรรม http://www.smh.com.au/articles/2006/11/04/11623400... http://ahe.cqu.edu.au http://www.abc.net.au/mediawatch/transcripts/s2060... http://www.ucalgary.ca/~hexham/study/plag.html http://individual.utoronto.ca/alex_klein/PublicPhi... http://www.2000adonline.com/?zone=spinoff&page=fil... http://www.boston.com/business/articles/2006/05/08... http://chronicle.com/free/v50/i43/43c00101.htm http://news.com.com/8301-10784_3-5663303-7.html http://www.commentarymagazine.com/searcharchive.cf...