วิธีการบังคับ ของ การลอกเลียนวรรณกรรม

ทางวิชาการ

ในวงวิชาการ โจรกรรมทางวรรณกรรมโดยนักศึกษาถือเป็นการกระทำความผิดขั้นร้ายแรงมากและมีผลให้ได้รับการลงโทษ เช่นปรับตกในงานที่นำส่ง (ระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา) หรือปรับให้ตกในรายวิชานั้น ๆ (ระดับอุดมศึกษา) ในกรณีที่กระทำความผิดซ้ำ หรือกระทำโจรกรรมทางวรรณกรรมขั้นร้ายแรง (เช่น นำบทความหรืองานทางวิชาการทั้งหมดของผู้อื่นมาส่งโดยอ้างว่าเป็นของตนเอง) นักศึกษาผู้นั้นอาจถูกพักการศึกษาหรือถูกไล่ออก มีนักศึกษาจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกถูกกดดันให้ทำรายงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่จำกัดและต้องมีคุณภาพดีมักใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตลอกหรือทำโจรกรรมทางวรรณกรรมด้วยวิธี “คัดลอก-แปะ” ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ มาเป็นของตนเอง ในกรณีเช่นนี้อาจารย์มักจับได้โดยไม่ยากด้วยเหตุผลหลายประการ

  • ประการแรกแหล่งข้อมูลที่นักศึกษาเลือกลอกมามักไม่ใช่เป็นแหล่งต้นตออาจารย์จึงมักจับได้เนื่องจากมักมีข้อความเหมือนกับข้อมูลที่นักศึกษาคนอื่น ๆ คัดลอกมาที่มีทั้งมีการอ้างอิงแหล่งที่มาและไม่ยอมอ้างอิง ซึ่งส่วนมากมักคัดมาจากแหล่งข้อมูลวิชาการที่เป็นที่แพร่หลาย (เช่นวิกิพีเดีย)
  • ประการที่สอง เป็นการไม่ยากที่อาจารย์จะทราบได้จากสำนวนการเขียนที่มักแตกต่างกับสำนวนตอนอื่นของรายงานที่นักศึกษาเขียนเอง
  • ประการที่สาม นักศึกษาอาจเลือกแหล่งข้อมูลที่ไม่เหมาะสม ออกนอกประเด็น หรือมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตามหัวเรื่อง
  • ประการที่สี่ อาจารย์อาจบังคับให้นักศึกษาส่งไฟล์รายงานของตนผ่านการตรวจสอบการโจรกรรมด้วยโปรแกรมตรวจสอบออนไลน์เสียก่อน[21]

มีหลายมหาวิทยาลัยที่มีบทลงโทษด้วยการถอนหรือเรียกปริญญาคืนหากพบภายหลังจากนักศึกษาประกอบอาชญากรรมทางวิชาการ

ปัจจุบันยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับโจรกรรมทางวรรณกรรมในโรงเรียนน้อยมาก ที่มีส่วนมากมักเป็นการวิจัยหลังระดับชั้นมัธยมไปแล้ว[22] ในการฉ้อโกงแบบต่าง ๆ (เช่นการลอกและแอบอ้างงานบางส่วนของผู้อื่น การปลอมข้อมูลขึ้นมาเองและการทุจริตในการสอบ) นักเรียนและนักศึกษายอมรับว่า ที่ทำมากที่สุดคือการลอกและแอบอ้างงานบางส่วนของผู้อื่นมากที่สุด แต่อย่างไรก็ดี เมื่อถามถึงโจรกรรมทางวรรณกรรมขั้นร้ายแรง (ได้แก่การลอกรายงานของผู้อื่นมาทั้งหมด หรือจ้างผู้อื่นทำรายงานทั้งหมดให้ทางเว็บไซต์) ตัวเลขจะลดลงมาก การพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อการตรวจจับการลอกงานผู้อื่นเมื่อเร็ว ๆ นี้ (ดูข้างล่าง) ได้ช่วยทำให้เห็นภาพของลักษณะโจรกรรมทางวรรณกรรมชัดเจนมากขึ้น

สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัย การลงโทษการโจรกรรมทางวิชาการมีหลายรูปแบบ มีตั้งแต่การพักงานไปถึงขั้นไล่ออกหรือเลิกจ้าง ซึ่งผู้กระทำการดังกล่าวยังต้องเสียชื่อเสียงหมดความเชื่อถือ การกล่าวโทษนักศึกษาหรืออาจารย์มักได้ยินมาจากกรรมการสอบวินัยภายในสถาบันที่เป็นที่ยอมรับของนักศึกษาและอาจารย์

การหนังสือพิมพ์

เนื่องจากหัวใจของวิชาการหนังสือพิมพ์คือการได้รับความเชื่อจากสาธารณชน ดังนั้นการบิดเบือนข่าวหรือแหล่งข่าวของผู้สื่อข่าวจึงมีส่วนทำให้สาธารณชนมองเห็นถึงความไม่สุจริตและลดความเชื่อถือไว้วางใจในหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นหรือโทรทัศน์สถานีนั้นลงได้มาก นักหนังสือพิมพ์ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำโจรกรรมทางวรรณกรรมส่วนใหญ่จะถูกพักงานจากงานสื่อข่าวในระหว่างการสอบสวนโดยผู้บริหารหนังสือพิมพ์หรือสถานีโทรทัศน์นั้น ๆ

ความง่ายของในการเรียกข้อมูลด้วยเทคโนโลยีข้อความอีเลกทรอนิก (electronic text) ออนไลน์ ล่อใจให้ผู้ส่อข่าวกระทำโจรกรรมทางวรรณกรรมมากขึ้น มีนักหนังสือพิมพ์จำนวนไม่น้อยที่ถูกจับไว้ว่าทำข่าวหรือบทความด้วยการ “คัดลอก-แปะ” จากเว็บไซต์ต่าง ๆ จำนวนมาก

โจรกรรมทางวรรณกรรมออนไลน์

เนื่องจากความง่ายในการขโมยเนื้อความจากเว็บด้วยวิธีคัดลอก-แปะดังกล่าว โจรกรรมทางวรรณกรรมออนไลน์จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปรากฏการณ์นี้เรียกกันว่า “เนื้อความจากขยะ” (content scraping) ซึ่งมีผลกระทบ โดยเฉพาะกับเว็บไซต์จำนวนมากที่ตั้งตัวแล้ว [23] และบลอก [24] แรงจูงใจให้กระทำการดังกล่าวเกิดจากการดึงเว็บแทรฟฟิกส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของโปรแกรมค้นหาของเว็บไซต์หรือบลอกนั้นแล้วขโมยหรือโยกย้ายผู้เข้าชมเว็บไซต์/บลอกนั้นไปใช้หาเงินผ่านการโฆษณาออนไลน์

ปัจจุบันมีโปรแกรมเครื่องมือฟรีออนไลน์ที่สามารถนำมาใช้ตรวจกับโจรกรรมทางวรรณกรรมอออนไลน์ได้ทำให้การป้องกันทำได้ง่ายขึ้น[25] และยังมีโปรแกรมเครื่องมือแบบอื่นที่จะช่วยจำกัดการลอกงานออนไลน์ เช่น disabling right clicking ซึ่งใช้วิธีใช้เมาส์เน้นข้อความขอเว็บเพจที่ต้องการตรวจจับแล้วคลิกขวาที่โปรแกรม หากเป็นโจรกรรมก็จะมีป้ายหรือแบนเนอร์ปรากฏขึ้นที่เว็บเพจนั้น และจะมีข้อความตัวอย่างของจริงหร้อมทั้งข้อความประกาศ DMCA ของเจ้าของงานตัวจริงแจ้งให้ผู้ละเมิดหรือ ISP ของเว็บไซต์นั้นลบออก

การกระทำในรูปแบบอื่น

โดยทั่วไป แม้จะมีการกล่าวถึงโจรกรรมทางวรรณกรรมอย่างหลวม ๆ ว่าเป็นการลักลอบหรือการขโมย แต่ก็ไม่ได้กำหนดไว้ให้เป็นอาชญากรรมในศาลยุติธรรม[26] โจรกรรมทางวรรณกรรมจึงไม่มีสถานะเป็นคดีอาญาในกฎหมายจารีตด้วยเช่นกัน แต่การฟ้องร้องโจรกรรมทางวรรณกรรมสามารถทำได้ทางแพ่ง โดยเจ้าทุกข์สามารถฟ้องศาลเรียกค่าเสียหายจากถูกโจรกรรมทางวรรณกรรมได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการขัดต่อศีลธรรมก็ได้

กรณีปัญหาด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เพิ่มมากขึ้นอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดการถกเถียงกันว่ามากว่าจะนับให้เป็นคดีอาญาได้หรือไม่

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การลอกเลียนวรรณกรรม http://www.smh.com.au/articles/2006/11/04/11623400... http://ahe.cqu.edu.au http://www.abc.net.au/mediawatch/transcripts/s2060... http://www.ucalgary.ca/~hexham/study/plag.html http://individual.utoronto.ca/alex_klein/PublicPhi... http://www.2000adonline.com/?zone=spinoff&page=fil... http://www.boston.com/business/articles/2006/05/08... http://chronicle.com/free/v50/i43/43c00101.htm http://news.com.com/8301-10784_3-5663303-7.html http://www.commentarymagazine.com/searcharchive.cf...