การศึกษาในประเทศอินเดีย

การศึกษาในประเทศอินเดียนั้นดำเนินการผ่านทางโรงเรียนรัฐ (ซึ่งบริหารจัดการในสามระดับ: รัฐบาลกลาง, รัฐ และ ท้องถิ่น) และโรงเรียนเอกชน ภายใต้หลายยทบัญญัติในรัฐธรรมนูญอินเดีย การศึกษาภาคบังคับโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนั้นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเยาวชนอายุ 6 ถึง 14 ปี อัตราส่วนของโณงเรียนรัฐบาลต่อโรงเรียนเอกชนในประเทศอินเดียอยู่ที่ 7:5ประเทศอินเดียได้ดำเนินการเพิ่มอัตราการเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษามาตลอด ในปี 2011 พบว่าราว 75% ของประชากรอินเดียที่อายุ 7 ถึง 10 ปีสามารถอ่านออกเขียนได้ (literate)[3] การพัฒนาระบบการศึกษาในประเทศอินเดียถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ[4] ถึงแม้สัดส่วนการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของประชากรอินเดียนั้นได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทศวรรษที่ผ่านมา มีสัดส่วนผู้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาทั้งประเทศอยู๋ที่ 24% ในปี 2013[5] แต่อินเดียก็ยังไม่ได้เข้าใกล้อัตราส่วนการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของประเทศพัฒนาแล้วประเทศอื่น ๆ เลย[6]ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีระบบโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ พบว่านักเรียน 29% ที่อายุ 6 ถึง 14 ปี ศึกษาระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเอกชน[7] ในขณะที่โรงเรียนเทคนิกจำนวนมากก็เป็นโรงเรียนเอกชนเช่นกัน ตลาดการศึกษาเอกชนในประเทศอินเดียมีรายได้อยู่ที่ 450 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2008[8]ข้อมูลจากรายงานสถานะการศึกษาประจำปี (Annual Status of Education Report: ASER) ปี 2012 ระบุว่าเยาวชนอายุ 6-14 ปีในพื้นที่ชนบท 96.5% ได้เข้าสมัครเรียนระบบการศึกษา นับเป็นปีที่สี่ที่สัดส่วนนี้สูงเกิน 96% ประเทศอินเดียสามารถคงสัดส่วนการเข้าสู่ระบบการศึกษาของนักเรียนอายุ 6-14 ไว้ที่ประมาณ 95% ตั้งแต่ปี 2007 ถึง 2014 ข้อมูลจาก ASER เมื่อปี 2018 พบว่ามีเยาวชนเพียง 2.8% เท่านั้นที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา[9] อีกรายงานหนึ่งจากปี 2013 ระบุว่ามีนักเรียนจำนวน 229 ล้านคนเข้าศึกษาในโรงเรียนที่ได้รับการรับรองทั่วประเทศ ในระดบัประถมหนึ่งถึงเจ็ด (Class I - XII) นับว่าเพิ่มขึ้น 2.3 ล้านคนจากปี 2002 และพบว่าในเด็กผู้หญิงนั้นเพิ่มขึ้นถึง 19%[10] ในขณะที่ในเชิงปริมาณ ประเทศอินเดียกำลังเข้าใกล้การครอบคลุมการศึกษาได้ทั่วถึงทั้งประชากรของประเทศ (universal education) แต่คุณภาพของการศึกษาในประเทศอินเดียนั้นเป็นที่ตั้งคำถามอย่างมาก โดยเฉพาะในโรงเรียนของรัฐบาล ถึงแม้นักเรียนมากกว่า 95% จะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา แต่พบว่าในระดับมัธยมศึกษา มีเยาวชนอินเดียเพียง 40% เท่านั้นที่เข้าศึกษาต่อในเกรด 9-12 (Grades 9-12) หรือเทียบเท่ากับ ม.3-6 ในระบบการศึกษาไทยนับตั้งแต่ปี 2000 ธนาคารโลกได้อุดหนุนทุน 2 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐให้กับการศึกษาในประเทศอินเดีย เหตุผลบางประการที่ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาในประเทศอินเดียมีระดับที่ต่ำอาจมาในหนึ่งวันคุณครูทั่วประเทศประมาณ 25% ไม่ได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ครู[11]ถึงแม้ในประเทศอินเดียจะมีโรงเรียนเอกชนอยู่ แต่รัฐบาลก็ได้กำหนดและควบคุมการดำเนินงานของโรงเรียนเอกชนอย่างเคร่งครัด มีการกำหนดหลักสูตรที่สามารถเปิดสอนได้ ควบคุมเนื้อหาการเรียนการสอน ต้องดำเนินงานแบบไม่แสดงผลกำไร (non-profit) และมิติอื่น ๆ ของการดำเนินการเรียนการสอน ดังนั้นอาจพูดได้ว่าทั้งโรเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนในประเทศอินเดียอาจไม่ได้ต่างกันมากนัก[12]ข้อมูลจากเดือนมกราคม ปี 2019 ระบุว่าประเทศอินเดียมีมหาวิทยาลัยทั้งหมดมากกว่า 900 สถาบัน และวิทยาลัยมากกว่า 40,000 สถาบันทั่วประเทศ[13]

การศึกษาในประเทศอินเดีย

กระทรวงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Minister of Human Resource Development) ราเมษ โปขริยัล (Ramesh Pokhriyal)
ประถมศึกษา 95% [ต้องการอ้างอิง]
งบประมาณ ₹99,100ข้อผิดพลาดนิพจน์: "c" เป็นคำที่ไม่รู้จัก
ทั้งหมด (ไม่มีข้อมูล)
ผู้ชาย 82.2%
มัธยมศึกษา 69%[ต้องการอ้างอิง]
จัดตั้งภารศึกษาภาคบังคับ 1 เมษายน 2010
ภาษาที่ใช้ ภาษาของอินเดีย, ภาษาอังกฤษ
ผู้หญิง 69.5%
อุดมศึกษา 25%[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

การศึกษาในประเทศไทย การศึกษา การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก การศึกษาตามแผน การศึกษาในประเทศอินเดีย การศึกษาในประเทศฟินแลนด์ การศึกษาภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย การศึกษาทางนิเวศวิทยา การศึกษาของญี่ปุ่น

แหล่งที่มา

WikiPedia: การศึกษาในประเทศอินเดีย http://wap.business-standard.com/article/current-a... http://www.economist.com/specialreports/displaysto... http://www.everonn.com/images/CLSA140308.pdf http://archive.indianexpress.com/news/indian-schoo... http://timesofindia.indiatimes.com/city/mumbai/Ind... http://timesofindia.indiatimes.com/home/education/... http://timesofindia.indiatimes.com/home/education/... http://sify.com/finance/fullstory.php?id=14757040 http://www.thehindu.com/features/education/school/... http://www.thehindu.com/news/national/article15871...