การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์_พ.ศ._2553
การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์_พ.ศ._2553

การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์_พ.ศ._2553

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2548-2553
การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 7-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งรัฐบาลได้ส่งกำลังทหารพร้อมอาวุธสงคราม และรถหุ้มเกราะ เข้าปิดล้อมพื้นที่การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) บริเวณแยกราชประสงค์ ระหว่างการชุมนุมทางการเมืองเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม ทั้งสิ้น 59 ศพ[3] ในบรรดาผู้เสียชีวิตมีชาวต่างประเทศรวมอยู่สองศพและเจ้าหน้าที่กู้ชีพอีกสองศพ[4] ได้รับบาดเจ็บ 480 คน[5] และจนถึงวันที่ 8 มิถุนายน กลุ่มผู้ชุมนุมยังสูญหายอีกกว่า 51 คน[6] หลังแกนนำผู้ชุมนุมเข้ามอบตัวกับตำรวจเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ได้เกิดเหตุเผาอาคารหลายแห่งทั่วประเทศ รวมทั้ง เซ็นทรัลเวิลด์[7] สื่อต่างประเทศบางแห่ง ขนานนามการสลายการชุมนุมดังกล่าวว่า "สมรภูมิกรุงเทพมหานคร"[8][9] สื่อไทยบางแห่ง ขนานนามเหตุการณ์ดังกล่าวว่า "พฤษภาอำมหิต"[10]พื้นที่แยกราชประสงค์ถูกล้อมด้วยรถหุ้มเกราะและพลแม่นปืนเป็นเวลาหลายวัน ก่อนหน้าวันที่ 13 พฤษภาคม[11] เย็นวันที่ 13 พฤษภาคม พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล (เสธ.แดง) ผู้สนับสนุนการรักษาความปลอดภัยแก่กลุ่มผู้ชุมนุม ถูกพลแม่นปืนยิงที่ศีรษะระหว่างให้สัมภาษณ์แก่สำนักข่าวต่างประเทศ รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพิ่มอีก 17 จังหวัดทั่วประเทศ ฝ่ายกองทัพอ้างว่าพลเรือนที่ถูกฆ่าทั้งหมดเป็นฝีมือของผู้ก่อการร้ายหรือไม่ก็เป็นผู้ก่อการร้ายติดอาวุธ และเน้นว่าบางคนถูกฆ่าโดยผู้ก่อการร้ายที่แต่งกายในชุดทหาร[12] ทางกองทัพได้ประกาศ "เขตยิงกระสุนจริง" และศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินก็ห้ามเจ้าหน้าที่แพทย์มิให้เข้าไปในเขตดังกล่าว[4][13][14][15] วันที่ 16 พฤษภาคม แกนนำ นปช. กล่าวว่า พวกตนพร้อมที่จะเจรจากับรัฐบาลทันที่ที่ทหารถูกถอนกลับไป แต่รัฐบาลเกรงว่าการถอนทหารจะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการนำคนเติมเข้าไปในที่ชุมนุม จึงได้ปฏิเสธข้อเสนอนี้[16] รถหุ้มเกราะนำการสลายการชุมนุมครั้งสุดท้ายในตอนเช้าของวันที่ 19 พฤษภาคม เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 ศพ[17] มีรายงานว่าทหารได้ยิงเจ้าหน้าที่แพทย์ซึ่งเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ถูกยิง[17] แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมมอบตัวกับตำรวจและประกาศสลายการชุมนุม ในวันเดียวกัน ได้เกิดเหตุการเผาอาคารหลายแห่งทั่วประเทศ รัฐบาลจึงประกาศห้ามออกนอกเคหสถาน และทหารได้รับคำสั่งให้ยิงทุกคนที่ก่อความไม่สงบ[17]

การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์_พ.ศ._2553

ประเภท การปราบปรามทางทหารขนาดใหญ่
ผู้ก่อการ กองทัพบกไทย และกองกำลังรักษาความปลอดภัยจากรัฐบาลไทย
เจ็บ อย่างน้อย 2,100 คน
ตาย 87 คน (ประชาชน 79 คน และทหาร 8 นาย)[1] 51 คนหายตัวไปในวันที่ 8 มิถุนายน[2]
สถานที่ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
วันที่ เมษายน ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ใกล้เคียง

การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553 การสละราชสมบัติ การสลายตัวกัมมันตรังสี การสลายของเม็ดเลือดแดง การสลับขั้วแม่เหล็กโลก การสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวัน พ.ศ. 2563 การสลายให้อนุภาคบีตา การสละตำแหน่งพระสันตะปาปา การสลายให้อนุภาคแอลฟา การสละราชสมบัติของสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก

แหล่งที่มา

WikiPedia: การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์_พ.ศ._2553 http://www.brisbanetimes.com.au/world/16-dead-more... http://www.smh.com.au/world/Red-Shirts-on-rampage-... http://www.abc.net.au/news/stories/2010/05/19/2903... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/119852 http://www.bangkokpost.com/breakingnews/178232/arm... http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?... http://www.channelnewsasia.com/stories/afp_asiapac... http://edition.cnn.com/2010/WORLD/asiapcf/05/17/th... http://www.csmonitor.com/World/terrorism-security/...