การหมุนเชิงแสง
การหมุนเชิงแสง

การหมุนเชิงแสง

การหมุนเชิงแสง (optical rotation) หรือ การหมุนโพลาไรเซชัน (polarization rotation) คือการที่แสงเกิดการหมุนของระนาบโพลาไรเซชันของแสงโพลาไรซ์แบบเส้นตรง เมื่อมองจากผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ด้านหน้าลำแสงตกกระทบ[1] ปรากฏการณ์นี้เกี่ยวข้องกับการหักเหสองแนวแบบวงกลม ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ตัวกลางบางตัวทำให้เกิดการหมุนเวกเตอร์สนามไฟฟ้าของลำแสงที่ส่องผ่าน[2][3]สารประกอบที่เหนี่ยวนำให้เวกเตอร์เบี่ยงเบนไปทางขวา (เมื่อหันเข้าหาแสง) เรียกว่า ตัวหมุนขวา (dextrorotatory) เช่น ซูโครส สารประกอบที่เหนี่ยวนำให้เวกเตอร์เบี่ยงเบนไปทางซ้าย (เมื่อหันเข้าหาแสง) เรียกว่า ตัวหมุนซ้าย (levorotatory) เช่น ฟรุกโตสการหมุนของโพลาไรเซชันของแสงโพลาไรซ์แบบเส้นตรงถูกสังเกตเมื่อต้นศตวรรษที่ 19 โดย นักฟิสิกส์หลายคน ที่สำคัญคือ ฌ็อง-บาติสต์ บีโย ก่อนที่ธรรมชาติของโมเลกุลจะถูกเข้าใจ จากนั้นจึงมีการประยุกต์ใช้โดยใช้เครื่องวัดการโพลาไรซ์ เพื่อวัดความเข้มข้นของน้ำตาล เช่น กลูโคส ในสารละลาย กลูโคสยังมีอีกชื่อซึ่งมีที่มาซึ่งเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นี้ คือ เดกซ์โทรส (dextrose) ซึ่งมาจากการที่หมุนโพลาไรเซชันไปทางขวา คุณสมบัตินี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเคมีอินทรีย์ และฟิสิกส์ของคลื่น

ใกล้เคียง

การหมักเชิงอุตสาหกรรม การหมิ่นประมาท (กฎหมายไทย) การหมักดอง การหมุนแถวลำดับ การหมุนเชิงแสง การหมัก (ชีวเคมี) การหมุน (สเกตลีลา) การหมุนควงลาร์เมอร์ การหมุนรอบตัวเอง การหมักเนื้อ