กฎหมายในประเทศไทย ของ การหย่า

การหย่าโดยการตกลงกันตามกฎหมายแพ่ง (มาตรา 834 กฎหมายแพ่ง)

 เงื่อนไขข้อกำหนด

สำหรับคู่สมรสที่หย่าโดยการตกลงกัน ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดดังต่อไปนี้[2]

1. คู่สมรสทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะหย่า

2. คู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีความสมัครใจที่จะหย่าไม่ใช่เพียงแค่ดำเนินการแจ้งเรื่องการหย่าเท่านั้น แต่การดำเนินการดังกล่าวจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อศาลได้รับรายงานการแจ้งการหย่านั้น ๆ ด้วย (คำพิพากษาศาลสูงสุดที่ 93Mau 171 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2536)

3. กรณีที่ต้องการหย่าร้าง หากเป็นผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง หรือตัวแทนก่อน จึงจะหย่าร้างได้(มาตรา835 และมาตรา 808 (2) กฎหมายแพ่ง)

 เงื่อนไขข้อกำหนดทางวิธีการ

การให้คำแนะนำ และระยะการพิจารณา

บุคคลใดที่ตั้งใจจะหย่าโดยการตกลงกัน ควรขอคำแนะนำเกี่ยวกับการหย่าจากที่ศาลครอบครัวจัดหาให้ก่อน และถ้าจำเป็น ศาลครอบครัวอาจแนะนำให้ทั้งสองฝ่ายรับคำปรึกษากับที่ปรึกษามืออาชีพผู้มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา (มาตรา 836-2 (1) กฎหมายแพ่ง)

ศาลครอบครัวจะตัดสินยืนยันให้ทำการหย่าได้นับแต่ที่คู่สมรสรับคำแนะนำเกี่ยวกับการหย่าแล้วเป็นเวลา 3 เดือน ในกรณีที่คู่สมรสมีบุตรที่ต้องดูแล และ 1 เดือน ในกรณีที่ไม่มีบุตร (มาตรา 836-2 (2) กฎหมายแพ่ง) โดยทั้งสองฝ่ายจะต้องยื่นข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรว่าใครจะเป็นผู้เลี้ยงดูบุตร และ/หรือมีอำนาจดูแลบุตร หรืออาจขอคำสั่งจากศาลครอบครัว (มาตรา 836-2 (4) กฎหมายแพ่ง)

ศาลครอบครัวอาจยกเว้น หรือย่นระยะเวลาที่ระบุข้างบนได้ ถ้ามีสถานการณ์เร่งด่วนที่ต้องดำเนินการตามวิธีการหย่า เช่น มีฝ่ายหนึ่งที่คาดว่าจะได้รับความทรมานที่ไม่สามารถทนได้จากความรุนแรงในบ้าน (มาตรา 836-2 (3) กฎหมายแพ่ง)

การแจ้งการหย่า

การหย่าโดยการตกลงจะมีผลเมื่อมีการแจ้งการหย่านั้นตาม รัฐบัญญัติว่าด้วยการจดทะเบียน ฯลฯ อันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัว หลังจากได้รับคำสั่งยืนยันจากศาลครอบครัว (มาตรา 836 (1) กฎหมายแพ่ง)

 การทำให้เป็นโมฆะ/การเพิกถอนของการหย่าโดยการตกลง

แม้จะได้ยื่นแจ้งการหย่าแล้ว แต่การหย่าโดยการตกลงนั้นจะเป็นโมฆะถ้าทั้งสองฝ่ายไม่ตกลงที่จะหย่า และบุคคลใดที่ประกาศเจตนาของการหย่าโดยทุจริต หรือการบีบบังคับ อาจเรียกร้องต่อศาลครอบครัวเพื่อให้เพิกถอนการหย่าดังกล่าวได้ (มาตรา 838 กฎหมายแพ่ง)

อำนาจการตัดสินคดีเฉพาะของการทำให้เป็นโมฆะ/การเพิกถอนของการหย่า

การฟ้องร้องให้เป็นโมฆะ หรือการเพิกถอนการหย่าจะเป็นเรื่องของอำนาจการพิจารณาคดีเฉพาะของศาลครอบครัวที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ (มาตรา 22 รัฐบัญญัติว่าด้วยการฟ้องร้องคดีครอบครัว)

1. ศาลทั่วไปในพื้นที่ที่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีถิ่นที่อยู่ ซึ่งอยู่ในเขตที่อยู่ภายใต้อำนาจของศาลครอบครัวแห่งเดียวกัน

2. ศาลทั่วไปในพื้นที่ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีถิ่นที่อยู่ ซึ่งอยู่ในเขตที่อยู่ภายใต้อำนาจของศาลครอบครัว ที่คู่สมรสมีถิ่นที่อยู่สุดท้าย

3. ถ้าไม่มีทั้งข้อ 1 และ2 ตามที่ระบุไว้ด้านบน ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตั้งเรื่องฟ้องร้องอีกฝ่าย ให้ฟ้องต่อศาลครอบครัวที่อยู่ในพื้นที่ที่มีศาลทั่วไปที่คู่สมรสอีกฝ่ายมีถิ่นที่อยู่ได้ และถ้าเป็นการฟ้องร้องคู่สมรสทั้งสองฝ่าย ให้ฟ้องต่อศาลครอบครัวที่อยู่ในพื้นที่ที่มีศาลทั่วไปที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีถิ่นที่อยู่

4. ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต ให้ฟ้องต่อศาลครอบครัวที่อยู่ในพื้นที่ที่มีศาลทั่วไปที่คู่สมรสผู้ที่เสียชีวิตมีถิ่นที่อยู่

5. ถ้าคู่สมรสทั้งสองฝ่ายเสียชีวิต ให้ฟ้องต่อศาลครอบครัวที่อยู่ในพื้นที่ที่มีศาลทั่วไปที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีถิ่นที่อยู่สุดท้าย

 ผู้ที่มีสิทธิยื่นฟ้องร้องเรื่องการทำให้การหย่าเป็นโมฆะ

คู่สมรสทั้งสองฝ่าย ผู้แทนตามกฎหมายของคู่สมรส หรือญาติภายในลำดับที่สี่ของความสัมพันธ์ อาจทำการฟ้องร้องเกี่ยวกับการเป็นโมฆะของการหย่าได้ตลอดเวลา (มาตรา 23 รัฐบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีครอบครัว)

บุคคลอื่นที่มีสิทธิฟ้องร้องเรื่องการเป็นโมฆะ/การเพิกถอนการหย่า

บุคคลอื่นที่มีสิทธิฟ้องร้องเกี่ยวกับการเป็นโมฆะ/การเพิกถอนการหย่า มีดังต่อไปนี้ (มาตรา 24 รัฐบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีครอบครัว)

1. กรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำการฟ้องร้องเกี่ยวกับการเป็นโมฆะ/การเพิกถอนการหย่า-คู่สมรสอีกฝ่าย

2. กรณีที่บุคคลที่สามทำการฟ้องร้องเกี่ยวกับการเป็นโมฆะ/การเพิกถอนของการหย่า คู่สมรสทั้งสองฝ่าย (คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถ้าอีกฝ่ายเสียชีวิต)

3. เมื่อฝ่ายที่ระบุไว้ในข้อ 1 และ 2 ข้างบนเสียชีวิต อัยการ

การหย่าโดยคำสั่งศาลตาม กฎหมายแพ่ง (มาตรา 840 กฎหมายแพ่ง)

 เหตุแห่งการหย่าตามคำสั่งศาล

ท่านอาจฟ้องหย่าต่อศาลครอบครัวในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ได้

1. ถ้าคู่สมรสของท่านมีการกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์

※ การกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์เป็นความหมายที่กว้างซึ่งรวมทั้งขอบเขตที่กว่างของความประพฤติไม่ซื่อสัตย์ที่อาจเข้าข่ายการเป็นชู้ (คำพิพากษาศาลสูงสุดที่ 89 Mue 1115 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2533)

2. ถ้าคู่สมรสของท่านทอดทิ้งท่านด้วยความประสงค์ร้าย

※ การทอดทิ้งด้วยความประสงค์ร้าย หมายถึงความประพฤติของการไม่มีความรับผิดชอบต่อการอยู่ร่วมกันต่อการช่วยเหลือทางการเงิน และการช่วยคู่สมรสอีกฝ่ายโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

3. ถ้าท่านถูกกระทำทารุณกรรมอย่างร้ายแรงโดยคู่สมรส หรือบรรพบุรุษสายตรงของคู่สมรส

4. ถ้าบรรพบุรุษสายตรงของท่านถูกทารุณกรรมอย่างร้ายแรงโดยคู่สมรสของท่าน

5. ถ้าไม่ว่าคู่สมรสของท่านเสียชีวิต หรือมีชีวิตโดยไม่รู้เป็นเวลาสามปี หรือมากกว่า

6. ถ้ามีเหตุร้ายแรงอย่างอื่นที่ทำให้มีความลำบากที่จะดำเนินชีวิตการสมรสต่อไป

เหตุร้ายแรงอย่างอื่นที่ทำให้มีความลำบากในการครองชีวิตสมรส หมายถึง สถานการณ์ในการดำเนินชีวิตคู่ของคู่สมรสที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรัก และความไว้วางใจถูกทำลายโดยไม่มีทางแก้ไขได้ และการดำเนินต่อไปของชีวิตการสมรสนั้น ทำให้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งด้รับความทุกข์ทรมานจนไม่สามารถทนได้ ซึ่งในการพิจารณาตัดสินว่ามีสถานการณ์เช่นนั้นจริงหรือไม่ ต้องพิจารณาองค์ประกอบ และสภาวการณ์หลายอย่าง เช่น ทั้งสองฝ่ายมีความสมัครใจที่ดำเนินชีวิตการสมรสต่อไปหรือไม่ ฝ่ายไหนเป็นผู้รับผิดชอบต่อความล้มเหลวของการสมรสในระดับไหน ทั้งคู่สมรสกันมานานเท่าไร มีบุตรหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายอายุเท่าไร และทั้งสองฝ่ายหาเลี้ยงชีพได้หรือไม่หลังจากการหย่า (คำพิพากษาศาลสูงสุดเลขที่ 90Meu 1067 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2534)

 วิธีการของการหย่าตามคำสั่งศาล

• การไกล่เกลี่ย

เนื่องจากการหย่าตามคำสั่งศาลเป็นเรื่องที่ต้องมีการฟ้องร้องคดีครอบครัวประเภท Bดังนั้น บุคคลใดที่ตั้งใจจะขอให้มีการหย่าตามคำสั่งศาล ต้องยื่นคำร้องต่อศาลครอบครัวก่อนเพื่อให้ทำการไกล่เกลี่ย (ตรา 50 (1) รัฐบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีครอบครัว)

ถ้าท่านยื่นฟ้องโดยไม่ผ่านกระบวนการไกล่เกลี่ย ท่านจะถูกส่งกลับไปเพื่อการไกล่เกลี่ย โดยมีข้อแม้ว่า จะไม่ใช้วิธีนี้ เมื่อเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะออกหมายเรียกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือ ทั้งสองฝ่าย หรือ ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะทำการไกล่เกลี่ย แม้คดีดังกล่าวจะถูกส่งไปทำการไกล่เกลี่ย (มาตรา 50 (2) รัฐบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีครอบครัว)

วิธีการฟ้องร้อง

ถ้ามีการตัดสินใจที่จะไม่มีการไกล่เกลี่ย ยังไม่ได้ทำการไกล่เกลี่ย หรือการตัดสินที่มีค่าเท่ากับการไกล่เกลี่ย ถูกทำให้ใช้ไม่ได้เพราะมีความขัดข้อง ถือว่าได้มีการฟ้องร้องแล้ว เมื่อมีการขอให้มีการไกล่เกลี่ย (มาตรา 49 กฎหมายฟ้องร้องคดีครอบครัว มาตรา 36 รัฐบัญญัติว่าด้วยการไกล่เกลี่ยของศาลของข้อพิพาททางแพ่ง)

การหย่ามีผลเมื่อมีคำพิพากษาให้หย่า (มาตรา 12 กฎหมายการฟ้องรองคดีครอบครัว มาตรา 205 กฎหมายการพิจารณาความแพ่ง) และบุคคลที่ดำเนินการฟ้องร้องควรรายงานการหย่าภายใน 1 เดือน นับจากวันที่มีคำพิพากษาสุดท้ายให้หย่า โดยการยื่นสำเนาที่มีการรับรองของเอกสารการฟ้องคดีและหนังสือยืนยัน (มาตรา 78 และ 58 รัฐบัญญัติว่าด้วยการจดทะเบียน ฯลฯ อันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัว)

 ผลของการหย่าตามคำสั่งศาล

 ผลโดยทั่วไป

เมื่อมีการหย่า ความสัมพันธ์ทางการสมรสจะถูกยกเลิก สิทธิ และหน้าที่ทุกชนิดที่เกี่ยวเนื่องกับการสมรสจะสิ้นสุดลง และเมื่อความสัมพันธ์ทางการสมรสที่มีสิ้นสุดลง (มาตรา 775 (1) กฎหมายแพ่ง) ทั้งสองฝ่ายอาจทำการสมรสใหม่ได้

ผลของบุตร

ถ้ามีบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมื่อทำการหย่า บิดามารดาจะต้องตัดสินใจและตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้ปกครองบุตร (มาตรา 836-2 (4) กฎหมายแพ่ง) นอกจากนั้น จะต้องพิจารณาเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตร เช่น การคุ้มครองบุตร และค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตร (มาตรา 837 กฎหมายแพ่ง)

บุตร และบิดาหรือมารดาที่ไม่ได้ดูแลบุตร จะมีสิทธิเยี่ยม (มาตรา 837-2 (1) กฎหมายแพ่ง) โดยมีข้อแม้ว่า ศาลครอบครัวอาจจำกัด หรือริดรอนสิทธิเยี่ยมโดยอาศัยอำนาจของศาล หรือตามคำของอีกฝ่ายหนึ่ง ถ้าเห็นว่าจำเป็นต้องใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อสวัสดิภาพของบุตร (มาตรา 837-2 (2) กฎหมายแพ่ง)

สิทธิเยี่ยมที่กล่าวไว้ข้างบน หมายความว่า บิดาหรือมารดาฝ่ายที่ไม่ได้ดูแลบุตรมีสิทธิที่จะพบ และพูดคุยกับบุตร รวมทั้งการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น แลกเปลี่ยนจดหมาย พูดโทรศัพท์ แลกเปลี่ยนของขวัญ อยู่กับบิดาหรือมารดาในวันสุดสัปดาห์ ฯลฯ

ผลต่อทรัพย์สิน

เมื่อมีการหย่าเกิดขึ้นคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจเรียกร้องของการแบ่งทรัพย์สินจากอีกฝ่ายหนึ่งภายใน2 ปี หลังจากทำการหย่าดังกล่าว (มาตรา 839-2 กฎหมายแพ่ง)

ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยังอาจเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายจากอีกฝ่ายที่ทอดทิ้งได้ (มาตรา 843 และ 806 กฎหมายแพ่ง)