ปัญหาสุขภาพ ของ การหลั่งน้ำอสุจิ

สำหรับบทความหลักในหมวดหมู่นี้ ดูที่ น้ำอสุจิ § postorgasmic

สำหรับคนโดยมาก ยังไม่ปรากฏความเสียหายด้านสุขภาพจากการหลั่งน้ำอสุจิบ่อย ๆ แม้ว่า กิจกรรมทางเพศโดยทั่ว ๆ ไปสามารถที่จะมีผลทางด้านสุขภาพและทางจิตใจได้แต่ว่า มีชายเป็นส่วนน้อยพวกหนึ่งที่อาจจจะประสบกับอาการ postorgasmic illness syndrome (แปลว่า กลุ่มอาการเจ็บป่วยหลังการถึงจุดสุดยอด) ซึ่งจะมีเพียงแค่ชั่วคราวหลังการหลั่งน้ำอสุจิ[27][28]อาการมักจะปรากฏภายในครึ่งชั่วโมงหลังจากการถึงจุดสุดยอดและมักจะหายไปภายใน 2-3 วัน[27][28]ผู้มีปัญหานี้จะประสบอาการต่าง ๆ ทางจิตใจ ทางกาย หรือทั้งสองทางอาการทั่ว ๆ ไปรวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับประชานด้านต่าง ๆ ความรู้สึกไม่สบาย ความฉุนเฉียวง่าย ความวิตกกังวลความอยากจะหาย ความซึมเศร้าและความยากลำบากในการสื่อความ การจำคำต่าง ๆ การอ่านหนังสือและจำความได้ การตั้งสมาธิ และการเข้าสังคม[29][27][28][30] อาการทางกายรวมทั้งความล้าอย่างรุนแรง การปวดศีรษะตั้งแต่เบา ๆ จนถึงรุนแรง และอาการเหมือนกับเป็นหวัดหรือภูมิแพ้เช่น อาการจาม คันตา การเคืองจมูก และการปวดกล้ามเนื้อ[27][28] และอาจจะมีอาการร้อนมาก[29][31]

ยังไม่ชัดเจนว่า การหลั่งน้ำอสุจิบ่อย ๆ จะเพิ่ม[32] ลด[33] หรือไม่มีผลต่อ[34] ความเสี่ยงการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

งานวิจัยขนาดใหญ่สองงานคือ[35][36][37] "Ejaculation Frequency and Subsequent Risk of Prostate Cancer (ความถี่การหลั่งน้ำอสุจิและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมาก)"[38] และ "Sexual Factors and Prostate Cancer ([ความสัมพันธุ์ระหว่าง]องค์ประกอบทางเพศกับมะเร็งต่อมลูกหมาก)"[39] เสนอว่า การหลั่งน้ำอสุจิบ่อย ๆ ตลอดชีวิตเป็นการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากส่วนงานวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาใน "ชาย 29,342 คนอายุระหว่าง 46-81 ปี"[38] เสนอว่า "ความถี่ในการหลั่งน้ำอสุจิสูงมีความสัมพันธุ์กับความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากที่ลดลง"[38] ส่วนงานวิจัยในประเทศออสเตรเลียใน "ชาย 1,079 คนที่มีมะเร็งต่อมลูกหมากและชายที่ไม่มีโรคอีก 1,259 คน"พบว่า "มีหลักฐานว่า ชายวัย 20-50 ปีที่ยิ่งมีการหลั่งน้ำอสุจิบ่อยครั้งเท่าไร ก็มีโอกาสน้อยลงในการเกิดขึ้นของมะเร็งต่อมลูกหมากเท่านั้น"[40]

ผลป้องกันของการหลั่งน้ำอสุจิอยู่ในระดับสูงสุดถ้าชายในวัยช่วง 20-30 หลั่งน้ำอสุจิโดยเฉลี่ยอาทิตย์ละ 7 ครั้งหรือมากกว่านั้นกลุ่มนี้ปรากฏว่ามีโอกาสเป็น 1/3 ในการมีมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดรุนแรงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับชายผู้หลั่งน้ำอสุจิน้อยกว่า 3 ครั้งต่ออาทิตย์ในช่วงอายุนี้

– คณะกรรมการมะเร็งรัฐวิกตอเรีย (Cancer Council Victoria) [40]

ใกล้เคียง

การหลั่งน้ำอสุจิ การหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต การหลอกลวงตัวเอง การหลั่งนอกช่องคลอด การหลอมนิวเคลียส การหลีกเลี่ยงการเสีย การหลั่งใน การหลับ การหลบหนีและการถูกขับไล่ของชาวเยอรมัน (ค.ศ. 1944–1950) การหลอมละลายนิวเคลียร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การหลั่งน้ำอสุจิ http://www.cancervic.org.au/media/media-releases/a... http://casereports.bmj.com/content/2010/bcr.10.200... http://books.google.com/?id=9GpBB61LV14C&lpg=PA530... http://books.google.com/?id=oVbn7A3BtEUC&pg=PA241&... http://books.google.com/books?ei=r1ylUfuyF9PG4AP3q... http://books.google.com/books?id=5MBUpailj2gC&pg=P... http://books.google.com/books?id=JEgy1tHA7b0C&pg=P... http://books.google.com/books?id=LiyrEhQPmRsC&prin... http://books.google.com/books?id=OIh4DX7tk_0C&prin... http://books.google.com/books?id=OIh4DX7tk_0C&prin...