พัฒนาการ ของ การหลั่งน้ำอสุจิ

วัยเจริญพันธุ์

น้ำอสุจิของมนุษย์ ให้สังเกตว่าในระยะแรก ๆ จะมีการเกาะติดกันเหมือนวุ้น
น้ำอสุจิในระหว่างวัยเริ่มเจริญพันธุ์
เวลาหลังการหลั่งครั้งแรก
(เดือน)
ปริมาตรเฉลี่ย
(มิลลิลิตร)
ละลายเป็นน้ำค่าเฉลี่ยสเปิร์ม
(ล้านตัว/มิลลิลิตร)
00.5ไม่ (1)0
61.0ไม่ (1)20
122.5ก้ำกึ่ง (2)50
183.0ใช่ (3)70
243.5ใช่ (3)80
หมายเหตุ (1) - น้ำที่หลั่งออกจะคงสภาพเหมือนวุ้น ไม่ละลายเป็นน้ำ
หมายเหตุ (2) - โดยมากจะละลายเป็นน้ำ แต่บางส่วนก็ยังเป็นวุ้น
หมายเหตุ (3) - จากสภาพวุ้น จะละลายเป็นน้ำภายใน 1 ชั่วโมง

การหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรกจะเกิดขึ้นประมาณ 12 เดือนหลังจากถึงวัยเริ่มเจริญพันธุ์ (แตกเนื้อหนุ่ม)ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปก็เพราะการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองหรือการฝันเปียก อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ชายส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 80 จะมีการหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรกมาจากการช่วยเหลือตัวเองซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นในช่วงอายุ 12-15 ปี ขณะที่ส่วนน้อยที่เหลือมาจากการฝันเปียก เริ่มแรกเมื่อผู้ชายเข้าสู่วัยแตกหนุ่มก็มักจะบอกไม่ได้ว่าร่างกายของตนเองจะเริ่มผลิตน้ำอสุจิและพร้อมจะหลั่งเมื่อใด แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีแรงขับดันทางเพศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกอารมณ์ทางเพศและ/หรือการแข็งตัวขององคชาต เด็กหนุ่มจะเริ่มมีการสำรวจร่างกายตนเองและเริ่มทดลองกิจกรรมทางเพศกับอวัยวะของตนเองในหลาย ๆ รูปแบบ จนกระทั่งอัณฑะสามารถสร้างตัวอสุจิได้ และในที่สุดก็จะกลายเป็นการค้นพบวิธีการสำเร็จความใคร่ จากประสบการณ์ของวัยรุ่นชายส่วนใหญ่ขณะเริ่มมีการสำเร็จความใคร่และหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรก มักบรรยายความรู้สึกว่าคล้ายกับการปวดปัสสาวะซึ่งกลั้นไม่อยู่ และลงเอยด้วยการหลั่งของเหลวสีขาวขุ่นออกมา

ปริมาตรการหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรก ๆ จะมีน้อยคือ ในระยะ 3 เดือนแรกจะมีน้อยกว่า 1 มิลลิลิตรน้ำอสุจิในระยะแรกของวัยเจริญพันธุ์จะใสและจะคงสภาพความเป็นวุ้นคือจะไม่ละลายเป็นน้ำเหมือนกับในของผู้ใหญ่ลำดับการพัฒนาการของน้ำอสุจิเห็นได้ในตาราง 1

การหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรก มักจะไม่มีตัวอสุจิ (90%)และสำหรับส่วนน้อยที่มีตัวอสุจิ ตัวอสุจิโดยมาก (97%) จะไม่มีการเคลื่อนไหวและส่วนน้อยที่เหลือ (3%) จะมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ[18]

เมื่อเจริญวัยต่อไปเรื่อย ๆ น้ำอสุจิจะเริ่มมีลักษณะต่าง ๆ เหมือนของผู้ใหญ่มากขึ้นและมีปริมาณตัวอสุจิปกติที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆน้ำอสุจิในช่วง 12-14 เดือนหลังจากการหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรก น้ำอสุจิจะมีการละลาย (จากลักษณะคล้ายวุ้นเป็นน้ำ) หลังจากการหลั่งออกไม่นานภายใน 24 เดือนหลังจากการหลั่งน้ำอสุจิครั้งแรก ทั้งปริมาณน้ำอสุจิ ปริมาณตัวอสุจิ และลักษณะต่าง ๆ ของตัวอสุจิ จะเหมือนกับของผู้ใหญ่[18]

การควบคุมจากระบบประสาทกลาง

เพื่อที่จะวาดแผนที่การทำงานของเซลล์ประสาทในสมองในช่วงที่เกิดการหลั่งน้ำอสุจินักวิจัยได้ทำการศึกษาโดยใช้การแสดงออกของ c-fos[19]ซึ่งเป็น proto-oncogene[20] ที่มีการแสดงออกในนิวรอนตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนและสารสื่อประสาท (คือเช็คการแสดงออกของ c-fos เพื่อจะดูว่าเซลล์ประสาทในส่วนไหนมีการทำงาน)[21] การแสดงออกของ c-fos พบในส่วนต่าง ๆ ต่อไปนี้ คือ[22][23]

การหลั่งน้ำอสุจิโดยไม่ต้องถูกต้อง

แม้ว่าจะไม่เกิดขึ้นโดยทั่วไป ชายบางพวกสามารถหลั่งน้ำอสุจิโดยไม่มีการถูกต้องอวัยวะคือทำให้เกิดการหลั่งได้โดยไม่ต้องมีการเร้าอารมณ์ทางเพศ[1]โดยสัมผัสบางพวกทำโดยเกร็งและคลายกล้ามเนื้อที่ท้องและที่แก้มก้นพร้อม ๆ กับการจินตนาการและบางพวกทำโดยผ่อนคลายกล้ามเนื้อใกล้ ๆ กับองคชาต ซึ่งอาจทำให้องคชาตแข็งตัวยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศอย่างรุนแรง[24]

การกดที่ฝีเย็บและการหลั่งน้ำอสุจิย้อนทาง

ในขณะที่จะเกิดการหลั่งน้ำอสุจิ การกดที่ฝีเย็บ (บริเวณระหว่างอวัยวะเพศกับทวารหนัก) หรือบีบท่อปัสสาวะไว้ อาจจะมีผลเป็นการกักน้ำอสุจิไว้ในภายใน โดยที่น้ำอสุจิจะไหลย้อนกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ (ดูรูป)บางคนทำแบบนี้เพื่อจะป้องกันไม่ให้เลอะเปรอะเปื้อนโดยจงใจกักน้ำอสุจิไว้ในภายใน[25] ถ้าเป็นภาวะทางการแพทย์ ก็จะเรียกว่า การหลั่งน้ำอสุจิย้อนทาง[17] (retrograde ejaculation) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหูรูดของกระเพาะปัสสาวะมีความผิดปกติ[26]

ใกล้เคียง

การหลั่งน้ำอสุจิ การหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต การหลอกลวงตัวเอง การหลอมนิวเคลียส การหลั่งนอกช่องคลอด การหลีกเลี่ยงการเสีย การหลั่งใน การหลับ การหลบหนีและการถูกขับไล่ของชาวเยอรมัน (ค.ศ. 1944–1950) การหลอมละลายนิวเคลียร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การหลั่งน้ำอสุจิ http://www.cancervic.org.au/media/media-releases/a... http://casereports.bmj.com/content/2010/bcr.10.200... http://books.google.com/?id=9GpBB61LV14C&lpg=PA530... http://books.google.com/?id=oVbn7A3BtEUC&pg=PA241&... http://books.google.com/books?ei=r1ylUfuyF9PG4AP3q... http://books.google.com/books?id=5MBUpailj2gC&pg=P... http://books.google.com/books?id=JEgy1tHA7b0C&pg=P... http://books.google.com/books?id=LiyrEhQPmRsC&prin... http://books.google.com/books?id=OIh4DX7tk_0C&prin... http://books.google.com/books?id=OIh4DX7tk_0C&prin...