การหลีกเลี่ยงการเสีย
การหลีกเลี่ยงการเสีย

การหลีกเลี่ยงการเสีย

ในการศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์และทฤษฎีการตัดสินใจ (decision theory) การหลีกเลี่ยงการเสีย[1] (อังกฤษ: loss aversion) หมายถึงความโน้มเอียงที่เราจะป้องกันความสูญเสีย มากกว่าที่เราจะพยายามให้ได้ผลกำไร งานวิจัยโดยมากแสดงว่า โดยทางความรู้สึกทางจิตใจแล้ว การสูญเสียมีอำนาจมากกว่าการได้ประมาณสองเท่า[ต้องการอ้างอิง] นักจิตวิทยาชาวอเมริกันแดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ แสดงหลักฐานของการหลีกเลี่ยงการเสียเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1984[2]ความโน้มเอียงนี้จะนำไปสู่การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (risk aversion) (ซึ่งเป็นแนวคิดของสาขาเศรษฐศาสตร์และการเงิน) ในสถานการณ์ที่การได้การเสียมีโอกาสเท่า ๆ กัน เพราะเราชอบใจที่จะหลีกเลี่ยงการเสียมากกว่าที่จะได้ความโน้มเอียงนี้อาจจะอธิบายปรากฏการณ์การตัดสินใจเพื่อผลที่จะได้ในอนาคตโดยคำนึงถึงต้นทุนที่จมไปแล้ว (sunk cost) ซึ่งเป็นการพิจารณาที่ไม่สมเหตุผลอีกด้วย (คือการพิจารณาที่สมเหตุผลจะคำนึงว่า เราต้องเสียเงินทุนเท่าไรในตอนนี้เพื่อจะได้ผลที่จะได้ในอนาคต โดยไม่คำนึงถึงการลงทุนที่ทำไปแล้วในอดีต)ทฤษฎีนี้พยากรณ์ว่า คนที่เสียเงิน 100 บาทจะเสียใจมากกว่าคนที่ได้เงิน 100 บาทจะดีใจในการตลาด มีกลยุทธ์การขายของโดยให้ทดลองใช้เป็นช่วงเวลาจำกัด และโดยให้ส่วนลดที่ต้องส่งเอกสารให้กับบริษัท (rebate) เป็นกลอุบายที่อาศัยความโน้มเอียงของผู้บริโภคที่ให้ค่ากับผลิตภัณฑ์มากกว่าเมื่อได้ใช้ในชีวิตประจำวันแล้วให้สังเกตว่า การซื้อที่มีการวางกรอบให้เป็นการเสียหรือการได้เป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวกับความโน้มเอียงนี้ เช่นเราอยากจะได้ส่วนลด 100 บาทมากกว่า หรือว่าอยากจะหลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียม 100 บาทมากกว่าที่พบก็คือ แม้ว่าจะมีราคาเดียวกันเป็นผลที่สุด แต่การซื้อขายที่ปรากฏเป็นการได้หรือการเสีย จะมีผลอย่างสำคัญต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคแต่เพราะว่า นักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปพิจารณา endowment effect (ปรากฏการณ์ที่การประเมินมูลค่าของสิ่งของเพิ่มขึ้นเพราะความเป็นเจ้าของ) และปรากฏการณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการหลีกเลี่ยงการเสียว่า เป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุผล ดังนั้น การหลีกเลี่ยงการเสียจึงเป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญมากในสาขาการตลาดและจิตวิทยาการเงินในการตลาด มีหลักฐานแสดงในงานศึกษาปฏิกิริยาของผู้บริโภคต่อการเปลี่ยนแปลงเบี้ยประกันของประกันภัย[3] คือพบว่า การเพิ่มเบี้ยประกันมีผลเป็นผู้บริโภคเปลี่ยนบริษัทมากกว่าการลดเบี้ยประกันถึงสองเท่า

ใกล้เคียง

การหลั่งน้ำอสุจิ การหลีกเลี่ยงการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต การหลอกลวงตัวเอง การหลั่งนอกช่องคลอด การหลอมนิวเคลียส การหลีกเลี่ยงการเสีย การหลั่งใน การหลับ การหลบหนีและการถูกขับไล่ของชาวเยอรมัน (ค.ศ. 1944–1950) การหลอมละลายนิวเคลียร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การหลีกเลี่ยงการเสีย http://www.nytimes.com/2005/06/05/magazine/05FREAK... http://www.sciencedaily.com/releases/2012/08/12080... http://sciencek.com/allmedia/videos/LifeScience/Ho... http://www.washingtonpost.com/blogs/wonkblog/wp/20... http://www.economics.harvard.edu/faculty/fryer/fil... http://wolfweb.unr.edu/homepage/pingle/Teaching/BA... http://dirkbergemann.commons.yale.edu/files/kahnem... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16913944 http://www.edexcellence.net/commentary/education-g... //doi.org/10.1002%2Fbdm.602