การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี

การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี[1] (อังกฤษ: Radiocarbon dating, มักเรียกสั้นๆว่า การหาอายุคาร์บอน) เป็นวิธีการหาอายุจากธาตุกัมมันตรังสี (radiometric dating) รูปแบบหนึ่งโดยการใช้ปรากฏการณ์ธรรมชาติของ คาร์บอน-14 (14
C) ซึ่งเป็นธาตุกัมมันตรังสี เพื่อประมาณการอายุของวัสดุคาร์บอน-แบริ่ง ได้ถึงประมาณ 58,000 ถึง 62,000 ปี[2] แบบหยาบ หรือ ยังไม่สามารถบ่งชี้ได้แน่ชัด การหาอายุคาร์บอนมักนำมาใช้บ่งบอกอายุของคาร์บอนระหว่าง "ช่วงก่อนปัจจุบัน(BP)" กับ "ช่วงปัจจุบัน" ตามที่กำหนดไว้คือปีคริสต์ศักราช 1950 ซึ่งเป็นอายุที่สามารถบ่งชี้ได้เพื่อเทียบกับวันตามปฏิทิน หนึ่งในสิ่งที่ใช้การคำนวณหาอายุของคาร์บอนมากที่สุดคือ การประมาณการอายุของซากสารประกอบอินทรีย์ที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี ในขณะที่พืชเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ในชั้นบรรยากาศ ด้วยการแยกอินทรียวัตถุตามขั้นตอนการสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นการเพิ่มปริมาณของ 14
Cให้ใกล้เคียงกับระดับของไอโซโทปคาร์บอนในชั้นบรรยากาศ เมื่อพืชตายหรือถูกกินโดยสิ่งมีชีวิตอื่น(ตัวอย่าง โดยมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ) การสะสมของส่วนประกอบ 14
Cหยุดตัวลง และวัตถุลดลงตามอัตราเลขชี้กำลังเนื่องจากการย่อยสลายธาตุกัมมันตรังสีของ 14
Cจากการเปรียบเทียบอัตราส่วนคงเหลือของ 14
Cของวัตถุตัวอย่างเมื่อเปรียบเทียบจาก 14
Cในชั้นบรรยากาศ ช่วยให้สามารถประเมินอายุของวัตถุตัวอย่างได้เทคนิคการหาอายุของคาร์บอนนี้ได้รับการพัฒนาโดย Willard Libby และเพื่อนร่วมสถาบันศึกษาของเขาที่มหาวิทยาลัยชิคาโกในปีค.ศ. 1949ในประเทศไทย หน่วยงานที่ให้บริการตรวจหาอายุด้วยวิธีคาร์บอนกัมมันตรังสีคือ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ใกล้เคียง

การหายใจระดับเซลล์ การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี การหารด้วยศูนย์ การหารสังเคราะห์พหุนาม การหาค่าเหมาะที่สุดแบบเฟ้นสุ่ม การหาร การหาค่าเหมาะสุดอย่างตอบสนอง การหารยาว การหาลำดับนิวคลีโอไทด์ด้วยวิธีอิลลูมินา

แหล่งที่มา

WikiPedia: การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี http://www.c14dating.com/ http://science.howstuffworks.com/environmental/ear... http://www.calpal-online.de http://radiocarbon.ldeo.columbia.edu/research/radi... http://id-archserve.ucsb.edu/anth3/courseware/Chro... http://www.whoi.edu/nosams/page.do?pid=40138.html http://calib.org/ http://www.radiocarbon.org/ http://www.radiocarbon.org/Info/index.html http://c14.arch.ox.ac.uk/calibration.html