การาวัจโจ
การาวัจโจ

การาวัจโจ

ดูรายชื่องานที่ รายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจ; บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งมีเกลันเจโล เมรีซี ดา การาวัจโจ (อิตาลี: Michelangelo Merisi da Caravaggio ค.ศ. 1571 - 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1610) เป็นจิตรกรสมัยบาโรกคนสำค้ญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้มีผลงานส่วนใหญ่ที่ โรม เนเปิลส์ ซิซิลี และประเทศมอลตา ระหว่างปี ค.ศ. 1593 ถึงปี ค.ศ. 1610แม้แต่เมื่อการาวัจโจ ยังมีชีวิตอยู่ก็มีได้ชื่อว่าเป็นผู้ยากที่จะเข้าใจได้ (enigmatic) น่าทึ่ง ไม่ยอมอยู่ในระบบ และออกจะอันตราย ตั้งแต่เริ่มทำงานเมื่อปี ค.ศ. 1600 การาวัจโจก็มีคนจ้างตลอดแต่การรักษาสัญญาของการาวัจโจก็ออกจะมีปัญหา ซึ่งจะเห็นได้จากใบประกาศที่พิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1604 ที่บรรยายวิถีชีวิตของการาวัจโจสามปีก่อนหน้านั้นว่า หลังจากทำงานได้สองอาทิตย์ก็เที่ยวลอยชายถือดาบโดยมีคนรับใช้ติดตามสักเดือนสองเดีอน พร้อมจะหาเรื่องทะเลาะหรือต่อสู้ จึงเป็นการยากที่จะเข้ากับการาวัจโจได้ [1] เมื่อปี ค.ศ. 1606 การาวัจโจฆ่าชายหนุ่มหลังจากทะเลาะกันจนต้องหนีไปโรมเพราะมีค่าหัว เมื่ออยู่ที่มาลตาเมื่อปี ค.ศ. 1608 คาราวัจโจก็ไปมีเรื่อง และเมื่อไปอยู่ที่เนเปิลส์เมื่อปี ค.ศ. 1609 ว่ากันว่ามีคนพยายามฆ่าการาวัจโจโดยศัตรูที่เราไม่รู้ ต่อมาอึกปีหนึ่งหลังจากเขียนภาพได้เพียงสิบปีกว่าๆ คาราวัจโจก็เสียชีวิตในกรุงโรมระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการสร้างทั้งวัดและวังขนาดใหญ่ๆ กันขนานใหญ่ เมื่อมีสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ ก็มีความต้องการภาพเขียนเพื่อใช้ตกแต่งสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ โบสถ์ที่สร้างที่เป็นผลจากการปฏิรูปคาทอลิกก็มีความต้องการภาพเขียนทางศาสนาเพื่อจะตอบโต้อิทธิจากการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ และงานเขียนภาพแบบแมนเนอริสม์ ที่มีอิทธิพลมาร่วมร้อยปีก็ไม่เป็นการเพียงพอต่อการแสดงออกที่ต้องการ ลักษณะงานของการาวัจโจที่ต่างจากงานรุ่นก่อนโดยใช้ความเป็นธรรมชาติ (Naturalism) ผสมกับความเป็นนาฏกรรมที่เห็นได้จากการใช้แสงเงาที่ตัดกันอย่างชัดเจน (chiaroscuro)การาวัจโจมึชื่อเสียงและมีอิทธิพลสำคัญในระหว่างที่มีชีวิตอยู่แต่ก็ลืมกันไปจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่องานของการาวัจโจมาเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นงานที่มีความสำคัญต่อการวิว้ฒนาการทางศิลปะตะวันตก งานของคาราวัจโจมีความสำคัญอย่างลึกซึ้งต่อลักษณะแบบบาโรกที่รุ่งเรืองขึ้นมาจากศิลปะแมนเนอริสม์ อันเดร เบิร์น-จอฟฟรอย (Andre Berne-Joffroy) ผู้เป็นเลขานุการของพอล วาเลรี (Paul Valéry) กล่าวกับเบิร์น-จอฟฟรอยว่า ภาพเขียนของคาราวัจโจพูดง่ายๆ ก็คือภาพเขียนสมัยใหม่นี่เอง[2]