การเคลื่อนไหวเอง
การเคลื่อนไหวเอง

การเคลื่อนไหวเอง

การเคลื่อนไหวเอง (อังกฤษ: Motility) เป็นความสามารถของสิ่งมีชีวิตหนึ่งที่จะเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระโดยใช้พลังงานเมแทบอลิซึม[2][3] ความสามารถนี้ตรงกันข้ามกับการเคลื่อนไหว (Mobility) ซึ่งหมายถึงความสามารถในการขยับของวัตถุหนึ่ง การเคลื่อนไหวเองได้รับการเลือกโดยพันธุกรรม[4] แต่อาจมีปัจจัยแวดล้อมอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องได้ ตัวอย่างเช่น กล้ามเนื้อทำให้สัตว์เคลื่อนไหวเองได้ แต่การได้รับไฮโดรเจนไซยาไนด์ (ซึ่งเป็นปัจจัยแวดล้อมในกรณีนี้) ส่งผลร้ายต่อสรีระของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้เกิดการแข็งทื่อ และนำไปสู่สภาพแข็งทื่อหลังตาย[5][6][7] สัตว์ส่วนใหญ่สามารถเคลื่อนไหวเองได้ แต่ก็มีสัตว์บางชนิดที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยสิ่งแวดล้อม นิยามของการเคลื่อนไหวเองรวมไปถึงแบคทีเรีย จุลินทรีย์อื่น ๆ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์บางชนิด และกลไกการไหลบางอย่างของของไหลในอวัยวะและเนื้อเยื่อหลายเซลล์ สัตว์น้ำที่เคลื่อนไหวเองได้ส่วนมากจะเรียกการเคลื่อนไหวนี้ว่า การว่ายน้ำอย่างเสรี[8][9][10] และสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่ปรสิตที่เคลื่อนไหวเองได้จะเรียกว่า การดำรงชีวิตอย่างเสรีการเคลื่อนไหวเองยังหมายถึงความสามารถของสิ่งมีชีวิตหนึ่งในการเคลื่อนอาหารไปตามทางเดินอาหาร มีการเคลื่อนที่ในลักษณะนี้อยู่สองประเภท ได้แก่ การหดตัวเป็นคลื่น และการหดตัวเป็นส่วน ๆ[11] การเคลื่อนไหวเองในลักษณะนี้เกิดขึ้นจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบในทางเดินอาหารรวมเข้ากับสารต่าง ๆ ที่หลั่งออกมาภายในทางเดิน (Segmentation) และผลักให้อาหารขยับไปตามทางเดินตั้งแต่ปากจนถึงทวารหนัก (Peritalsis)[12]

ใกล้เคียง

การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์) การเคหะแห่งชาติ (ประเทศไทย) การเคลื่อนที่แบบบราวน์ การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนไหวของกลุ่มแอลจีบีที การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย การเคลื่อนย้ายเรลิก การเคลื่อนถอยของวิษุวัต การเคลื่อนไหวเอง การเคลื่อนลงตามความชัน