การเดินทางข้ามเวลาไปสู่อดีต ของ การเดินทางข้ามเวลา

การเดินทางข้ามเวลาไปในอดีตดูเหมือนว่าจะเป็นความคิดที่ทันสมัยมากกว่า แต่ที่มาของมันยังค่อนข้างคลุมเครือ เรื่องราวหนึ่งในช่วงยุคต้น ๆ กับคำพูดเปรียบเปรยของการเดินทางข้ามเวลาไปสู่อดีตเป็นบันทึกความทรงจำของศตวรรษที่ยี่สิบ (ค.ศ. 1733) (Memoirs of the Twentieth Century) โดยเซมมิว แมน (Samuel Madden), ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชุดของจดหมายจากเอกอัครราชทูตอังกฤษในประเทศต่าง ๆ กับเสนาบดีฝ่ายการคลังของอังกฤษ, รวมทั้งการตอบกลับจดหมายเพียงไม่กี่ครั้งจากสำนักงานต่างประเทศของอังกฤษ, ทั้งหมดเป็นต้นฉบับที่เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1997 และปี ค.ศ. 1998 และอธิบายถึงสภาพของยุคสมัยนั้น [12] อย่างไรก็ดี, เค้าโครงของเรื่องคือจดหมายเหล่านี้นั้นเป็นเอกสารที่เกิดขึ้นจริงที่ได้มอบไว้ให้กับผู้บรรยายโดยเทพารักษ์ประจำตัวของเขาในคืนหนึ่งในปี 1728; ด้วยเหตุนี้พอล อัลเกน (Paul Alkon) ได้ชี้ให้เห็นในหนังสือของเขาที่เป็นต้นกำเนิดของนวนิยายแห่งอนาคตว่า "นักท่องกาลเวลาคนแรกในวรรณคดีอังกฤษคือเทพารักษ์ผู้ที่กลับมาพร้อมกับเอกสารของรัฐจากในปี ค.ศ. 1998 ถึงปี ค.ศ. 1728", [13] แม้ว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าทูตสวรรค์นั้นได้รับเอกสารเหล่านี้ไว้ สำหรับอัลเกนนั้นต่อมาภายหลังเขาก็ได้มีคุณสมบัติเหล่านี้ได้โดยการเขียนหนังสือ, "มันจะได้รับความเอื้ออาทรจากเราที่จะสรรเสริญในตัวของ แมดเดน (Madden) อย่างยืดยาวสำหรับการเป็นครั้งแรกที่แสดงถึงการที่มีนักเดินทางมาจากอนาคต", แต่ก็ยังกล่าวว่า แมดเดน นั้น "สมควรได้รับการยอมรับเป็นครั้งแรกที่จะเล่นกับความคิดที่อุดมไปด้วยการเดินทางข้ามเวลาในรูปแบบของสิ่งประดิษฐ์ที่จะส่งเขาย้อนเวลากลับมาจากอนาคตเพื่อที่จะได้รับการค้นพบในปัจจุบัน." [12]

นายรำ และ นางรำ ในงานเต้นรำแฟสซิวิก (Fezziwig dance) กับการมองเห็น"ภูติแห่งคริสต์มาสในอดีต" (Ghost of Christmas Past) ที่มาปรากฏตัวให้เห็นต่อ เอเบเนเซอร์ สครูจ (Ebenezer Scrooge) นายธนาคารผู้เลือดเย็นและละโมบ ในคืนก่อนวันคริสต์มาส

ในปี 1836 แอแล็กแซนเดอร์ แวลท์เมน(Alexander Veltman) ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ Predki Kalimerosa: Aleksandr Filippovich Makedonskii (บรรพบุรุษของแคลิมีรอส (Kalimeros): แอแล็กแซนเดอร์, ลูกชายของฟิลิปแห่งมาซีโดเนีย (The Forebears of Kalimeros: Alexander, son of Philip of Macedon)), ซึ่งถือได้ว่าเป็นนวนิยายวิทยาศาสตร์ของรัสเซียที่เป็นต้นฉบับเป็นครั้งแรกและเป็นนวนิยายเรื่องแรกที่ใช้วิธีการเดินทางข้ามเวลา [14] ในเนื้อเรื่องนั้นผู้เล่าเรื่องได้ขี่ ฮิปโปกริฟฟ์ (Hippogriff) เพื่อเดินทางไปยังดินแดนกรีซโบราณ (ancient Greece) เพื่อพบกับอริสโตเติลและร่วมไปในการเดินทางกับอเล็กซานเดอร์มหาราชก่อนที่จะเดินทางกลับไปในศตวรรษที่ 19

ในหนังสือรวมเรื่องนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อเรื่องว่า ขอบเขตอันไกลโพ้น (1951) (Far Boundaries (1951)), บรรณาธิการ ออกิส เดอร์เลท (August Derleth) ได้ระบุเรื่องสั้นที่มีชื่อว่า "การหายตัวไปของโค้ชนักกีฬาคนหนึ่ง: ในการเกิดผิดยุคสมัย" (Missing One's Coach: An Anachronism) ที่เขียนขึ้นสำหรับนิตยสารวรรณกรรมในชื่อว่า ดับลิน (Dublin Literary Magazine) [15] โดยงานเขียนที่ไม่ระบุชื่อผู้เขียน (นักเขียนนิรนาม) ในปี 1838, อันเป็นเรื่องราวของการเดินทางข้ามเวลาที่ใช้เป็นแนวทางการเขียนกันมากในช่วงยุคต้น ๆ [16] ในเรื่องนี้, ผู้บรรยายที่กำลังรอรถอยู่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่งโดยที่จะมีครูฝึกกีฬาคนหนึ่งขับรถผ่านมาแวะรับซึ่งจะนำเขาออกมาจากตัวเมืองนิวคาสเซิล, แต่แล้วเมื่อจู่ ๆ ทันใดนั้น เขาก็พบว่าตัวเองนั้นได้ถูกส่งให้ย้อนเวลากลับไปเป็นเวลาเมื่อกว่าหนึ่งพันปีล่วงมาแล้ว

เครื่องไทม์แมชชีนในยุคแรก

หนึ่งในเรื่องแรก ๆ ที่มีลักษณะของการเดินทางข้ามเวลาโดยใช้วิธีการของเครื่องจักรกลคือ เรื่อง "นาฬิกาที่เดินถอยหลัง" (The Clock that Went Backward) โดย เอ็ดเวิร์ด เพจ มิทเชล (Edward Page Mitchell)

ใกล้เคียง

การเดินทางข้ามเวลา การเดินทางของคิโนะ การเดินละเมอฆาตกรรม การเดินป่าในเพชรพระอุมา การเดินทางของคุณแม่มด การเดินขบวน การเดินเรือ การเดินทางของกัลลิเวอร์ การเดินทาง (เพลงสุชาติ แซ่เห้ง) การเดินทัพทางไกล

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเดินทางข้ามเวลา http://www.sfu.ca/~swartz/time_travel1.htm http://www.asimovs.com/_issue_0407/onthenet2.shtml http://www.chuedang.com/88 http://www.foxnews.com/scitech/2011/07/25/time-tra... http://www.friesian.com/paradox.htm http://books.google.com/books?id=iYzi8m8FbEsC&lpg=... http://books.google.com/books?id=jfPAwAnj9JUC&pg=R... http://www.jewishsearch.com/article_395.html http://www2.mampost.com/movie/inter/view/The-time-... http://www2.mampost.com/movie/inter/view/The-time-...