การเมืองเบลเยียม

ประเทศเบลเยียม เป็นสหพันธรัฐที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองหลายพรรคเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัตินั้นอยู่กับรัฐสภาซึ่งแบ่งเป็นสองสภาอันประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร เขตการปกครองของประเทศเบลเยียมนั้นแบ่งเป็นประชาคมที่แบ่งตามภาษา และแคว้นที่แบ่งตามเขตแดน พระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 7 แห่งชาวเบลเยียม และเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2013ตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1970 พรรคการเมืองต่าง ๆ ในเบลเยียมได้แบ่งเป็นฝักฝ่ายชัดเจนกันตามแต่ละประชาคมที่เป็นตัวแทนมากกว่านโยบายของตน พรรคการเมืองในเบลเยียมแบ่งเป็นสามฝั่งหลัก ๆ โดยส่วนใหญ่ทั้งหมดเป็นพรรคการเมืองที่ดำเนินนโยบายค่อนไปทางสายกลาง เช่น ฝ่ายเสรีนิยมฝ่ายขวา อนุรักษนิยมทางสังคมของประชาธิปไตยคริสเตียน และประชาธิปไตยสังคมนิยมซึ่งเป็นฝ่ายซ้าย นอกจากนี้ยังมีพรรคอื่น ๆ ที่มีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เช่น พรรคครุนโดยเฉพาะในฟลานเดอส์ พรรคชาตินิยม และพรรคการเมืองฝ่ายขวาจัด การเมืองในเบลเยียมได้รับอิทธิพลจากกลุ่มนักวิ่งเต้นต่าง ๆ เช่น สหภาพแรงงาน องค์กรของนายจ้างหลายองค์กรอย่างสมาพันธ์องค์กรธุรกิจแห่งเบลเยียม (Federation of Belgian Enterprises) เป็นต้นในประเทศเบลเยียมนั้นการเมืองโดยเสียงข้างมากมักจะถูกแทนที่ด้วยขั้นตอนและกลไกต่าง ๆ ที่เข้าข้างฝั่งเสียงข้างน้อย (ผู้พูดภาษาฝรั่งเศส) ซึ่งในการลงมติต่าง ๆ นั้นจะต้องใช้คะแนนเสียงข้างมากพิเศษ (2 ใน 3 ของทั้งหมด และเสียงข้างมากในประชาคมหลัก ๆ ทั้ง 2 ประชาคม) ใน ค.ศ. 2019 อีโคโนมิสต์อินเทลลิเจนซ์ยูนิตจัดประเทศเบลเยียมเป็นประเทศที่มี "ประชาธิปไตยบกพร่อง"[1]

การเมืองเบลเยียม