พรรคการเมือง ของ การเมืองไทย

ณ 9 กันยายน 2562 มีพรรคการเมืองจดทะเบียนในประเทศไทยทั้งหมด 85 พรรคและยังมีสถานะเป็นพรรคการเมือง[4]

ระบบพรรคการเมืองของไทยส่วนใหญ่เป็นระบบหลายพรรค กล่าวคือ มักไม่ค่อยมีพรรคการเมืองพรรคเดียวครองเสียงข้างมากในสภาจนสามารถตั้งรัฐบาลเพียงพรรคเดียวได้ การจัดตั้งรัฐบาลจึงต้องอาศัยพรรคการเมืองหลายพรรคที่เรียกว่า รัฐบาลผสมหรือรัฐบาลฝ่ายข้างน้อย

ภายหลังรัฐธรรมนูญปี 2540 ได้สร้างระบบการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งใช้ระบบเลือกตั้งแบบเขตละคน ส่งผลให้พรรคใหญ่ได้เปรียบในการเลือกตั้ง[5][6][7][8][9] ทำให้ระบบการเมืองมีแนวโน้มเปลี่ยนไปเป็นระบบสองพรรค ซึ่งในช่วงพุทธทศวรรษ 2540 พรรคไทยรักไทย (ต่อมาคือ พรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย) และพรรคประชาธิปัตย์ เป็นสองพรรคการเมืองใหญ่สุดในสภา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ฉบับปัจจุบัน กำหนดรูปแบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ทำให้ในปี 2562 ได้พรรคการเมืองจำนวน 25 พรรคได้รับที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร นับว่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเมืองไทย http://www.bbc.com/thai/thailand-38977996 http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%... http://www.prachatai.com/node/12601/talk http://www.unafei.or.jp/english/pdf/PDF_rms/no60/c... http://www.komchadluek.net/detail/20100304/50723/%... http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%AB%E0... http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/11_%E0%B8%95%E... http://www.manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1... http://j5.rtarf.mi.th/img_2/030353.pdf