การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2557
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2557

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2557

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เพื่อไทย-
-การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไปครั้งที่ 27 และเป็นครั้งที่ 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ตามความในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 ที่ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเสีย ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2556[1] โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง กำหนดการรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อในวันที่ 23-27 ธันวาคม 2556 ระหว่าง 08.30 น. ถึง 16.30 น. ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร และการรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบแบ่งเขตเลือกตั้งในวันที่ 28 ธันวาคม 2556 - 1 มกราคม 2557 ระหว่าง 08.30 น. ถึง 16.30 น.[2] และกำหนดให้เลือกตั้งล่วงหน้าในวันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2557[3]คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) ต่อต้านการเลือกตั้งครั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าต้องการปฏิรูปการเมืองก่อนมีการเลือกตั้ง[4][5] และได้ขัดขวางหน่วยเลือกตั้งในบางท้องที่ของกรุงเทพมหานครและภาคใต้จนไม่สามารถเปิดให้ลงคะแนนได้[6][7] ซึ่งส่งผลให้คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่สามารถประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ได้และจะจัดให้มีการเลือกตั้งชดเชยในเขตที่เลือกตั้งไม่ได้[8] นอกจากนี้ พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองพรรคเดียวที่คว่ำบาตรการเลือกตั้งครั้งนี้[9]ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเปิดเผยจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั้งประเทศแบบไม่เป็นทางการในวันที่ 2 กุมภาพันธ์คิดเป็นร้อยละ 45.84[10] มีกำหนดการเลือกตั้งชดเชยในวันที่ 1-2 มีนาคม 2557วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรที่กำหนดให้เลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะไม่สามารถเลือกตั้งให้แล้วเสร็จทั่วประเทศได้ภายในวันเดียวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง และเมื่อพระราชกฤษฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งนี้จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย[11]เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557 ศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งแถลงภายหลังการประชุมร่วมกับคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถึงแนวปฏิบัติภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญไม่ถือว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ (หรือเสมือนไม่เคยเกิดขึ้น) แต่ถือว่าการเลือกตั้งได้เกิดขึ้นแล้ว 1 ครั้ง [12]

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งระบบสัดส่วน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2557 http://www.aljazeera.com/news/asia-pacific/2013/12... http://www.aljazeera.com/news/asia-pacific/2013/12... http://news.asiainterlaw.com/?p=10306 http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokpost.com/news/politics/384171/ac... http://www.bangkokpost.com/news/politics/401024/co... http://www.ft.com/cms/s/0/fb777df8-609e-11e3-916e-... http://hilight.kapook.com/view/97424 http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%...