พิธีรับไหว้ ของ การแต่งงานแบบไทย

การทำพิธีรับไหว้นี้จัดขึ้นเพื่อแสดงความคารวะนบนอบต่อบิดามารดา และบรรดาผู้ใหญ่ นอกจากนี้เงินที่ได้จากพิธีรับไหว้ ถือว่าเป็นเงินทุนให้แก่คู่บ่าวสาวอีกด้วย เหมือนกับพิธียกน้ำชาในการแต่งงานแบบคนจีน หลายคนคงเคยเห็นในภาพยนตร์จีนมาแล้ว

สำหรับสถานที่ในการจัดงาน นิยมเน้นความสะดวกของคู่บ่าวสาว คือจัดเก้าอี้ หรือเสื่อไว้ ผู้ใดจะทำพิธีไหว้ก็มานั่งในสถานที่นั้นต่อหน้าคู่บ่าวสาว พอทำพิธีเสร็จแล้วจึงลุกออกไป เพื่อให้ผู้อื่นมาทำพิธีรับไหว้ต่อ ซึ่งการไหว้นั้นจะเรียงตามลำดับอาวุโส ส่วนใหญ่ พ่อแม่ฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นเจ้าภาพจะให้เกียรติโดยให้ทางฝ่ายชายก่อน หรือจะให้ผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายก่อนก็ได้ ไม่เคร่งครัดในเรื่องนี้เท่าไร

พิธีการรับไหว้ เมื่อพ่อแม่ฝ่ายหญิงหรือชายไปนั่งคู่กันในที่จัดไว้ เจ้าบ่าวเจ้าสาวซึ่งนั่งคู่กันอยู่ตรงข้าม จะกราบลงพร้อมกันที่หมอนสามครั้งรวมทั้งผู้หลักผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย ถ้าหากเป็นญาติคนอื่นๆ กราบหนึ่งครั้ง โดยไม่ต้องแบมือ แล้วส่งพานดอกไม้ธูปเทียนให้ พ่อแม่รับและให้ศีลให้พรอวยพรให้ทั้งคู่

หลังจากนั้น หยิบเงินรับไหว้ใส่ในพาน หยิบด้ายมงคลหรือสายสิญจน์เส้นเล็กๆ ผูกข้อมือให้คู่บ่าวสาวแสดงการรับไหว้ หลังจากทำพิธีรับไหว้เสร็จ อาจมีการเพิ่มทุนให้แก่คู่บ่าวสาว โดยนำพานใส่ใบเงินใบทองมาวางไว้ นำเงินรับไหว้มาทับไว้ข้างบน ต่อจากนั้นพ่อแม่ญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่ายที่มีความประสงค์จะมอบเงินเพิ่มทุนให้แก่คู่บ่าวสาว ก็ใส่เพิ่มตามความพอใจ ต่อจากนั้น จึงนำถั่วงา และแป้งประพรมพร้อมอวยพร

ใกล้เคียง

การแต่งงานแบบไทย การแต่งกายของพม่า การแต่งงาน การแตกตัวด้วยแสง การแตกกระจายออก การแต่งงานโดยฉันทะ การแตกตัวเป็นไอออน การแต่งงานต่างฐานันดร การแต่งตั้งให้อัครสาวกสิบสองคน การแตกเป็นเสี่ยง