พิธีร่วมทำบุญตักบาตรของคู่บ่าวสาว ของ การแต่งงานแบบไทย

ตามธรรมเนียมไทย เมื่อทำพิธีหรืองานมงคลใดๆ ก็ตาม ย่อมต้องทีการทำบุญสร้างกุศลมาเกี่ยวข้องเสมอ เพื่อเป็นการสร้างสิริมงคล และนี้ก็เช่นกันการร่วมทำบุญตักบาตรของคู่บ่าวสาว ซึ่งนิยมทำกันหลังจากพิธีรับไหว้ คือเจ้าภาพจะเป็นผู้นิมนต์พระมาสวดเจริญพุทธมนต์และรับอาหารบิณฑบาต

การตักบาตรสมัยก่อนให้คู่บ่าวสาวตักคนละทัพพี แต่ปัจจุบันนิยมให้ตักทัพพีเดียวกัน ตักบาตรพร้อมกัน ต่อไปชาติหน้าจะได้เกิดมาคู่กันอีก มีความเชื่อเกี่ยวกับการตักบาตรของคู่บ่าวสาว ถ้าผู้ใดจับที่ยอดหรือคอทัพพี ผู้นั้นจะได้เป็นใหญ่เหนือกว่าคู่ของตน ซึ่งต้องเลื่อนมาจับที่ปลายทัพพี อย่างนี้คงต้องแย่งกันจับน่าดูเลย วิธีแก้เคล็ดด้วยการผลัดกันจับที่คอทัพพีอย่างนี้ ก็ไม่มีใครเหนือใคร เสมอภาคแบบนี้ดีกว่า

เกี่ยวกับการนิมนต์พระมาสวด แต่ก่อนนิยมมาเป็นคู่ เช่น 4 หรือ 8 องค์ แต่ปัจจุบันนิยม 9 องค์ เพราะคนไทยเชื่อถือเกี่ยวกับตัวเลข 9 ว่าเป็นเลขมงคล หมายถึงความเจริญก้าวหน้า โดยนับพระประธานเป็นองค์ที่ 10 ครบจำนวนคู่พอดี

ในการทำพิธีสวดเจริญพระพุทธมนต์ทั่วไปนั้น เจ้าภาพจะทำหน้าที่จุดธูปเทียนบูชาพระ แต่ในงานมงคลสมรสมักนิยมให้คู่บ่าวสาว เพราะถือว่าเป็นผู้ที่สำคัญที่สุดในงาน รวมถึงการถวายขันและเทียนเพื่อให้พระทำน้ำพระพุทธมนต์ ซึ่งจะนำมาเป็นน้ำสังข์สำหรับหลั่งในพิธีรดน้ำต่อไป

การตักบาตรร่วมกันของคู่บ่าวสาว อาจกระทำอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น หลังจากวันแต่งงาน โดยคู่บ่าวสาวต้องตื่นนอนแต่เช้า นำอาหารคาวหวานไปดักรอพระที่ออกบิณฑบาตผ่านหน้าบ้าน หรือจะไปตักบาตรที่วัดเลยก็ได้ ต้องทำติดต่อกัน 3 วัน, 7 วัน หรือ 9 วัน เพื่อความเป็นสิริมงคล

ใกล้เคียง

การแต่งงานแบบไทย การแต่งกายของพม่า การแต่งงาน การแตกตัวด้วยแสง การแตกกระจายออก การแต่งงานโดยฉันทะ การแตกตัวเป็นไอออน การแต่งงานต่างฐานันดร การแต่งตั้งให้อัครสาวกสิบสองคน การแตกเป็นเสี่ยง