การใส่ท่อช่วยหายใจ
การใส่ท่อช่วยหายใจ

การใส่ท่อช่วยหายใจ

การใส่ท่อช่วยหายใจคือการใส่ท่อช่วยหายใจซึ่งทำจากพลาสติกหรือยางเข้าไปในหลอดลมเพื่อให้ผู้ป่วยมีทางหายใจที่เปิดตลอดเวลา หรือใช้เป็นทางในการให้ยาบางอย่าง ส่วนใหญ่ใช้กับผู้ป่วยที่ป่วยหนักเฉียบพลัน บาดเจ็บเฉียบพลัน หรือได้รับยาระงับความรู้สึก เพื่อเป็นทางในการช่วยหายใจ และป้องกันการสูดสำลัก หรือป้องกันไม่ให้ทางหายใจถูกปิดกั้น ที่ทำบ่อยที่สุดคือการใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก ซึ่งจะใส่ท่อช่วยหายใจผ่านปาก ผ่านกล่องเสียง เข้าไปยังหลอดลม ทางอื่นเช่นใส่ทางจมูก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิธีที่ต้องผ่าตัด เช่น การผ่าเปิดช่องที่เยื่อคริโคไทรอยด์ (cricothyroidomy) ซึ่งมักใช้ในกรณีฉุกเฉิน และการผ่าเปิดช่องที่หลอดลม (tracheostomy, "การเจาะคอ") ซึ่งมักทำในกรณีที่คาดว่าจำเป็นจะต้องใส่ท่อช่วยหายใจอยู่เป็นเวลานาน วิธีใส่ท่อช่วยหายใจแบบที่ต้องผ่าตัดนี้อาจทำในกรณีฉุกเฉินหากการใส่ด้วยวิธีปกติไม่ประสบผลสำเร็จภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ของการใส่ท่อช่วยหายใจมีตั้งแต่ภาวะแทรกซ้อนเล็กน้อยเช่นฟันหัก หรือเนื้อเยื่อของทางเดินหายใจส่วนบนบาดเจ็บ หรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้เช่นการสูดสำลักจากกระเพาะอาหารเข้าไปยังปอด หรือใส่ท่อช่วยหายใจไม่เข้าหลอดลมแต่ไปเข้าหลอดอาหารแทนทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ดังนั้นการประเมินว่าผู้ป่วยที่กำลังจะได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจอาจมีกายวิภาคของทางเดินหายใจที่ไม่ปกติหรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจึงมีความสำคัญอย่างมากก่อนที่จะใส่ท่อช่วยหายใจ หากเป็นไปได้จำเป็นจะต้องมีแผนทางเลือกสำหรับกรณีใส่ท่อช่วยหายใจไม่สำเร็จเอาไว้ด้วยเสมอภาวะช็อกอื่น: ภาวะช็อคจากหัวใจ · ภาวะช็อกจากปริมาณเลือดลดลง · แอนาฟิแล็กซิส · ภาวะช็อกจากการอุดกั้นนอกหัวใจ · ภาวะช็อกจากระบบประสาท · ภาวะช็อกจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง · ภาวะช็อกจากการขยายตัวของหลอดเลือดดำอวัยวะล้มเหลว: ไตเสียหายเฉียบพลัน · กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน · ตับวายเฉียบพลัน · การหายใจล้มเหลว · กลุ่มอาการการทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะsinus: Sinusotomybronchus: Bronchoscopy
mediastinum: Mediastinoscopy

ใกล้เคียง

การใส่กางเกงหลุดพ้นบั้นเอว การใส่ท่อช่วยหายใจ การใส่สายระบายทรวงอก การใส่สายจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ การใส่บาตร การใส่ใจ การใส่เฝือก การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ