กุฏิ
กุฏิ

กุฏิ

ส่วนหนึ่งของ
ศาสนาพุทธ

สถานีวิกิย่อย
ประวัติศาสนาพุทธพระโคตมพุทธเจ้า
(พระพุทธเจ้า)พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์กุฏิ หรือ กุฎี (อ่านว่า กุด หรือ กุดติ) แปลว่า กระต๊อบ, กระท่อม, โรงนา ใช้ว่า กุฏี ก็ได้ เรียกเพี้ยนไปว่ากฎิ ก็มี (กฎิ แปลว่า สะเอว) หมายถึงอาคารที่เป็นโรงเรือนหรือตึกอันเป็นที่อยู่พำนักอาศัยของภิกษุสามเณร ใช้เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนากุฏิ สมัยก่อนจะแยกกันเป็นหลัง ๆ อยู่รวมกันหลาย ๆ หลัง เช่น กุฏิเรือนไทย เรียกว่า กุฏิหมู่ หรือ หมู่กุฏิ บางแห่งสร้างเป็นหลายชั้นและหลายห้อง เรียกว่า กุฏิแถวสำหรับกุฏิที่ประทับของพระพุทธเจ้ามีชื่อเรียกเป็นพิเศษว่า พระคันธกุฎี เพราะมีกลิ่นหอมอยู่ตลอดเวลากุฏิที่อยู่อาศัยพุทธบัญญัติเดิมกําหนดขนาดของ กุฏิให้พอดีที่พระภิกษุรูปเดียวจะอาศัยอยู่ได้สะดวกมีเนื้อที่กําหนดความยาว ๑๒ คืบพระสุคต และกว้าง ๗ คืบพระสุคต คือ ประมาณ ๓.๐๐ เมตร x ๑.๗๕ เมตร ตามมาตราส่วนปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ขนาดตามที่กําหนดไว้นี้กําหนดเพื่อการอยู่อาศัย โดยแท้จริงมิใช่เพื่อสะสมสิ่งใดๆด้วยเลยตัวอย่างเช่นกุฏิที่ใช้ ในการปฏิบัติวิปัสสนาโดยทั่วไปในปัจจุบันการที่พระภิกษุแต่ละรูปจะมีกุฏิอยู่อาศัยเองได้นั้น จะต้องประกาศต่อสาธารณะว่าจะทํากุฏิอยู่อาศัยอยู่ถึง ๓ ครั้ง หากไม่มีผู้ใดคัดค้านกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงจะทํากุฏิอยู่ได้ ที่มีพุทธบัญญัติให้กระทํา ดังนี้ก็เพื่อมิให้พระภิกษุล่วงละเมิด ที่ดินที่เป็นทรัพย์สินกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น หรือพระภิกษุ อาจเข้าอยู่อาศัยในที่ที่มีผู้สละแบ่งให้ก็ได้ เช่นในเรือนที่พระภิกษุจะต้องอยู่รวมกันหลายๆ รูป แต่การอยู่อาศัยรวมกันนั้น ก็จะต้องมีการกำหนด แบ่งเขตให้เป็นสัดส่วนเฉพาะของภิกษุแต่ละรูป เขตเฉพาะตนดังกล่าวนี้เรียกว่า เขตของการครองผ้าไตรจีวร เขตนี้มีเครื่องล้อมบังเป็นที่หมายกำหนด แต่ถ้าไม่มีเครื่องล้อมบัง จะถือเอากำหนดหัตถบาสที่มีระยะหนึ่งศอกโดยรอบตัวเป็นเขตกำหนด หรือเป็นป่าก็อนุญาตให้อย่างมาก ๗ อัพภันดรโดยประมาณ คือในวงรอบ ๙๘ เมตร เป็นเขตครองผ้าไตรจีวร เขตครองผ้าไตรจีวร หมายถึง เขตที่พระภิกษุ จะต้องรักษาเครื่องนุ่งห่มที่เรียกว่าไตรจีวร (ผ้านุ่ง ผ้าห่ม และผ้าพาดไหล่) ไว้กับตัวเฉพาะในเวลากลางคืน จนกว่าจะถึงเวลาเช้า แม้ในเวลานอนก็จะต้องรักษาไตรจีวรไว้ใกล้ตัว หากพระภิกษุละทิ้งให้ไตรจีวรอยู่ห่างจากตัว แม้ระยะห่างเกินกว่าหัตถบาสรอบตัว ก็ถือว่าขาดจากความเป็นเจ้าของ จะต้องประกาศความเป็นเจ้าของกับพระภิกษุรูปอื่นใหม่ เพื่อให้เป็นพยานจึงนำมานุ่งห่มได้อีก การที่มีบัญญัติเช่นนี้ ก็เพื่อให้มีการรู้จักระมัดระวังข้าวของของตน ไม่ให้ถูกลักขโมยได้ง่ายลักษณะอาคารที่ใช้สอยในเขตสังฆวาสนี้ ไม่มีข้อกำหนดว่า จะต้องเป็นรูปหรือทรวดทรงอย่างไร ตามที่ปฏิบัติกันมานั้น กุฏิส่วนมากก็มีลักษณะดังเรือนราษฎรอยู่อาศัย เพราะพระภิกษุก็คือราษฎรที่มาบวชนั่นเอง แต่ถ้าจะมีการกำหนดจำแนกแล้ว กุฏิที่พระสงฆ์อยู่อาศัยอาจมีได้ดังนี้๑.ภิกษุสร้างขึ้นเองโดยวิธีประกาศหาที่ที่ไม่มีผู้คัดค้าน และอยู่ในขนาดที่มีพุทธานุญาต๒. บุคคลปลูกถวายพระภิกษุด้วยความศรัทธา๓.บุคคลยกเรือนเดิมรื้อมาถวายอุทิศให้พระภิกษุอยู่อาศัยโดยเฉพาะในกรณีข้อ ๓ นี้มักปรากฏอยู่เนืองๆ บุคคลในที่นี้อาจเป็นราษฎร หรืออาจเป็นผู้มีอำนาจปกครองก็ได้ กรณีที่ราษฎรยกบ้านเรือนถวายแก่สงฆ์มักเป็นกรณีที่ บ้านเรือนนั้นอยู่อาศัยไม่เป็นปกติ เกิดมีความเจ็บไข้หรือมี คนตายเนืองๆ หรือบ้านเรือนนั้นอาจมีสิ่งที่ไม่เป็นมงคลเช่น เชื่อกันว่ามีผีปิศาจสิง ทำให้ผู้คนที่อยู่อาศัยเกิดความหวาดกลัว หรือเป็นเรือนที่เจ้าของเสียชีวิตไม่มีผู้อยู่อาศัยต่อมา ทายาทจึงได้รื้อเรือนไปปลูกถวายวัด หรือพระมหากษัตริย์ ถวายเรือนของบรรพชนนำมาสร้างเป็นกุฏิสงฆ์ ดังที่เคย กล่าวมาแล้วในตอนต้นลักษณะกุฏิเท่าที่นิยมสร้างกันมานั้นสังเกตว่าอาจ จำแนกวิธีการสร้างได้เป็น ๓ ประเภท คือ๑. กุฏิเดี่ยว เป็นกุฏิชนิดที่มีพระภิกษุอยู่อาศัยเพียงรูปเดียว มีห้องที่อาศัยหลับนอนเพียงหนึ่งห้อง มีชานนั่งหน้าห้องแบบชานพะไลเรือน กุฏิประเภทนี้มักนิยมใช้เป็นแบบกุฏิของภิกษุ ที่ปรารถนาปฏิบัติวิปัสสนาธรรมปลูกแยกห่างจากกัน เหมาะสำหรับการสร้างในที่ดอนและตามป่า๒. กุฏิแถว เป็นกุฏิเช่นเดียวกับกุฏิเดี่ยวแต่ต่อเรียงติดกันหลายห้อง มีชานแล่นให้เดินติดต่อ กันได้ตลอด กุฏิชนิดนี้เป็นกุฏิที่ต้องการ ความสะดวกในการอยู่รวมกันจำนวนมากๆ มักนิยมปลูกในวัดที่มีพระภิกษุจำนวนมาก และในที่ที่น้ำท่วมถึง๓. คณะกุฏิ เป็นกุฏิชนิดเกาะหมู่อยู่รวมกัน โดยทำเป็นกุฏิแถวล้อมสองด้านหรือสี่ด้าน มีหอฉันหรือลานอยู่กลาง กุฏิชนิดนี้มักจะทำขึ้นในวัดที่มีการแบ่งการควบคุม ดูแลเป็นกลุ่มใหญ่เรียกว่าคณะหลายๆ คณะ