ปัญหา ของ ขยะอิเล็กทรอนิกส์

ขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นแหล่งวัสดุดิบชั้นรองที่มีค่า หากมีการดูแล จัดการอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม หากไม่ดูแลจัดการอย่างเหมาะสมแล้ว ก็นับเป็นแหล่งพิษที่ร้ายแรงได้ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้มีต้นทุนเบื้องต้นที่ต่ำ และยังมีการหมดอายุตามที่กำหนด ทำให้เกิดปัญหารวดเร็วมากขึ้นทั่วโลก ปัจจุบันมีวิธีการแก้ปัญหาเชิงเทคนิคหลายประการ แต่จะต้องมีการวางกรอบในเชิงกฎหมาย มีระบบจัดเก็บ ระบบขนส่ง และบริการอื่น ๆ ที่ต้องใช้ก่อนจะนำไปสู่การดำเนินการทางเทคนิค ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกาที่นำไปถมที่ดินนั้น มีสัดส่วนราว 2 เปอร์เซ็นต์ แต่ในจำนวนนี้ เป็นขยะพิษถึง 70 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

ด้วยสภาพการทำงานและมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีในบางประเทศของเอเชียและแอฟริกา ทำมีการส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้งหรือกำจัดในประเทศเหล่านั้น ซึ่งโดยมากจะเป็นไปโดยผิดกฎหมาย ในประเทศไทยเราก็มีข่าวการส่งขยะเข้ามาทางเรืออยู่เสมอ ๆ กรณีเช่นนี้น่าจะมีการร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่บางคนในหน่วยงานบางแห่งของรัฐด้วย ในกัมพูชาก็มีข่าวถูกนำขยะมาทิ้งเช่นกัน

สำหรับในเดลลีและบังกาลอร์ของอินเดีย และในเมืองกุ้ยหยู มณฑลซานโถว ของจีน มีพื้นที่จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม การเผา ถอดชิ้นส่วน และทำลายโดยไม่มีการควบคุม ย่อมก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและต่อสุขภาพผู้คนทั่วไป ได้แก่ผลกระทบต่อสุขภาพ และความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ ที่มีผลต่อผู้เกี่ยวข้องโดยตรง อันเนื่องมาจากวิธีการกำจัดขยะเหล่านั้น สำหรับการค้าขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีระเบียบควบคุมโดยอนุสัญญาบาเซิล

ขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีผลเสียเกี่ยวข้องกับเรื่องของสารพิษบางอย่าง โดยเฉพาะหากจัดการไม่ดี พิษเหล่านี้มักจะเป็นโลหะหนัก ชนิดที่มีมากได้แก่ ตะกั่ว ปรอท และแคดเมียม นอกจากนี้ยังมีสารหนู กำมะถัน และสารเคมีอีกเป็นจำนวนมาก แม้กระทั่งจอมอนิเตอร์สำหรับคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป ก็มีตะกั่วอยู่ถึง 6 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ส่วนมากจะอยู่ในแก้วของจอภาพ CRT กล่าวโดยสรุปว่า มีธาตุต่าง ๆ ในขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น 38 ชนิดด้วยกัน ความไม่อยู่ยั่งยืนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นับเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ต้องมีการรีไซเคิลหรืออาจนำกลับมาใช้ใหม่ (หากจัดการได้เหมาะสม) สำหรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย

ระบบจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นบรรลุถึงจุดสมบูรณ์เมื่อไม่กี่ปีมานี้ หลังจากได้เพิ่มกฎระเบียบ และเงื่อนไขในการใช้งานเชิงพาณิชย์ ส่วนบุคคล และสาธารณะ และเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวาง ส่วนหนึ่งของการปฏิวัตินี้เกี่ยวข้องกับความหลากหลายอย่างมหาศาลของขยะอิเล็กทรอนิกส์จากกระบวนการรีไซเคิลแบบย่อยขนาดที่มีความเข้มข้นขึ้น (นั่นคือ การรีไซเคิลแบบเดิม) เมื่ออุปกรณ์ถูกปรับไปเป็นรูปแบบวัตถุดิบ การแปลงนี้ทำได้ด้วยการนำมาใช้ใหม่ (reuse) และปรับใหม่ (refurbish) ข้อดีในแง่สังคมและสภาพแวดล้อมจากการนำมาใช้ใหม่ มีหลายสถานด้วยกัน นั่นคือ ลดความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ และความต้องการที่เทียบเท่ากันสำหรับวัตถุดิบใหม่โดยสิ้นเชิง (โดยที่สภาพภายนอกที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม จะไม่มีผลต่างด้านต้นทุนของวัตถุดิบนั้น) และน้ำบริสุทธิ์ปริมาณมาก รวมทั้งกระแสไฟฟ้าสำหรับการผลิตที่เกี่ยวข้อง การขายแพกเกจต่อหน่วย การมีเทคโนโลยีเพื่อเปิดโอกาสให้สังคมมีความสนใจต่อความรับผิดชอบผลิตภัณฑ์มากขึ้น และลดการนำไปใช้เพื่อถมที่ดินน้อยลง

ความท้าทายยังคงมีอยู่ เมื่อวัสดุนั้นไม่สามารถนำไปใช้ใหม่ได้ การรีไซเคิลแบบเดิม หรือการกำจัดแบบเดิมโดยการนำไปถมในที่ดินจึงเกิดขึ้นตามมา มาตรฐานสำหรับทั้งสองแนวทางนั้นถูกมองจากมุมมองเชิงกฎหมายที่แตกต่างกันมาก ไม่ว่าในประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศที่พัฒนาแล้ว ความซับซ้อนของรายการต่าง ๆ ที่จะจัดการทำลาย ต้นทุนระบบรีไซเคิลที่มีผลต่อสภาพแวดล้อม และความต้องการสำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวมรวบอุปกรณ์ และกระบวนการขั้นตอนอย่างเป็นระบบ คือทรัพยากรที่มีความขาดแคลนมาก แต่ปัจจุบันนี้ มีความเปลี่ยนแปลงไปมาก พลาสติกจำนวนมากที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้น จะสารติดไฟช้าอยู่ โดยมากจะเป็นฮาโลเจน ที่เติมเข้ากับพลาสติกเรซิน ทำให้พลาสติกเหล่านี้รีไซเคิลยาก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ขยะอิเล็กทรอนิกส์ http://www.canada.com/vancouversun/news/story.html... http://ecycleenvironmental.com http://www.foreignpolicy.com/story/cms.php?story_i... http://www.greenercomputing.com http://www.usedcisco.com/press-cmp1.aspx http://ec.europa.eu/environment/waste/weee_index.h... http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?... http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?... http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?... http://www.boe.ca.gov/sptaxprog/ewaste.htm