การใช้ ของ ขวดรูปชมพู่

การใช้ในเคมี

การเขย่าขวดรูปชมพู่เป็นวงกลมขณะไทเทรต

ด้านข้างที่เรียวลงและคอที่แคบทำให้สามารถทำการผสมสารโดยการเขย่าเป็นวงกลม โดยไม่ต้องกลัวกระเด็น ทำให้เหมาะกับการไทเทรต โดยวางไว้ใต้บิวเรตต์ และใส่ตัวทำละลายกับตัวบ่งชี้ลงไปในขวดรูปชมพู่[6] รูปลักษณ์เหล่านี้ยังทำให้เหมาะสำหรับการต้มของเหลว ไอน้ำร้อนรวมตัวกันในส่วนบนของขวดรูปชมพู่ ทำให้ลดการสูญเสียของตัวทำละลาย นอกจากนี้ความแคบของคอทำให้สามารถใช้ร่วมกับกรวยกรอง

สองคุณสมบัติทำให้ขวดรูปชมพู่เหมาะกับการเกิดผลึกใหม่ (recrystallization) เริ่มจากการให้ความร้อนตัวอย่างที่ต้องการเพิ่มความบริสุทธิ์จนเดือด จากนั้นจึงเติมตัวทำละลายจนละลายอย่างสมบูรณ์ ขวดรับถูกเติมด้วยตัวทำละลายปริมาณเล็กน้อย และให้ความร้อนจนเดือด ขณะกำลังร้อนตัวทำละลายถูกกรองผ่านกระดาษกรองที่ถูกพับไปยังขวดรับ ไอน้ำร้อนจากตัวทำละลายที่กำลังเดือดทำให้กรวยกรองยังคงอุ่น และป้องกันการตกผลึกก่อนที่จะผ่านลงไป

ขวดรูปชมพู่ไม่เหมาะกับการวัดปริมาตรแบบแม่นยำ เช่นเดียวกับบีกเกอร์ ขีดบนขวดมีความแม่นยำในระยะ 5%[7]

การใช้ในชีววิทยา

คอโลนี Microcystis ที่กำลังลอยอยู่ในขวดรูปชมพู่

ขวดรูปชมพู่ยังถูกใช้ในจุลชีววิทยาสำหรับการเพาะเลี้ยงจุลชีพ ขวดรูปชมพู่ที่ใช้เพื่อเพาะเลี้ยงเซลล์ต้องผ่านการฆ่าเชื้อ และอาจมีจุกปิดเพื่อให้แก๊สสามารถแลกเปลี่ยนได้ระหว่างการฟักตัวและการเขย่า ปกติแล้วจะใช้ของเหลวปริมาณไม่มาก และมักไม่เกินหนึ่งในห้าของความจุขวด เพื่อให้แก๊สแลกเปลี่ยนได้อย่างสะดวก และส่งเสริมการผสมอย่างทั่วถึงเมื่อขวดถูกเขย่า อัตราการแลกเปลี่ยนแก๊สในขวดรูปชมพู่ขึ้นอยู่กับความเร็วในการเขย่า, ปริมาณของเหลว และการออกแบบของขวด[8] โดยความเร็วในการเขย่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลสูงสุดต่ออัตราการแลกเปลี่ยนออกซิเจน[9][10][11][12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ขวดรูปชมพู่ http://www.crscientific.com/texas-glassware.html http://www.globalspec.com/learnmore/labware_scient... http://www.ssgwlab.com/laboratory-glassware.html http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entrez?cmd=retri... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entrez?cmd=retri... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entrez?cmd=retri... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entrez?cmd=retri... http://www.webassign.net/question_assets/tccgenche... http://www.rsc.org/chemistryworld/issues/2008/july... http://www.sciencebuddies.org/science-fair-project...