การกำจัดขี้หู ของ ขี้หู

การขยับกรามช่วยทำความสะอาดช่องหูโดยธรรมชาติวิทยาลัยวิทยาการหูคอจมูกอเมริกัน (AAO) จึงแนะนำไม่ให้เอาขี้หูออกยกเว้นเมื่อก่อปัญหา[22]

แม้มีวิธีเอาขี้หูออกหลายอย่าง แต่ข้อดีข้อเสียก็ยังไม่เคยเปรียบเทียบ[23]มีสารที่ทำให้ขี้หูนิ่มแต่นี่อย่างเดียวยังไม่พอ[24]วิธีเอาขี้หูออกที่สามัญที่สุดก็คือฉีดน้ำอุ่นด้วยกระบอกฉีดยา[25]แพทย์หูคอจมูกอาจใช้ช้อนแคะหู (curette) ถ้าขี้หูอุดช่องหูเป็นบางส่วนและไม่ได้ติดอยู่กับผิวหนังของช่องหูส่วนไม้ปั่นสำลีโดยมากจะดันขี้หูเข้าไปในช่องหูให้ลึกขึ้น และเอาขี้หูออกได้แต่ตรงปลาย ๆ ที่ติดกับสำลีเท่านั้น[26]

การทำให้นิ่ม

การใช้สารทำให้นิ่มก่อนเอาขี้หูออกอาจมีผลเท่ากับไม่ทำ และสารชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำหรือน้ำมัน ก็อาจไม่มีผลต่างกันมาก[23]แต่ก็ไม่ได้ศึกษาพอให้สรุปได้อย่างชัดเจน อนึ่ง หลักฐานของการฉีดล้างหู (irrigation) และการแคะขี้หูออก (manual removal) ก็ค่อนข้างกำกวม[23]

สารทำให้ขี้หูนิ่มซึ่งมีทั่วไปรวมทั้ง[27]

ควรใช้สารทำให้ขี้หูนิ่ม 2-3 ครั้งต่อวัน 3-5 วันก่อนจะเอาขี้หูออก[28]

การล้างหู

เมื่อทำขี้หูให้นิ่มแล้ว ก็จะสามารถล้างหูเอาขี้หูออกได้ แต่หลักฐานว่าการทำเช่นนี้มีผลดีก็ไม่ชัดเจน[23]การล้างอาจทำด้วยใช้น้ำฉีด ซึ่งทำได้ทั้งในคลินิกและที่บ้าน หรืออาจใช้กระเปาะยางฉีดน้ำ (bulb syringe)[29]

นักวิชาการได้อธิบายวิธีใช้กระบอกฉีดน้ำอย่างละเอียด[28][30]และแนะนำให้ดึงหูขึ้นไปข้างหลัง เล็งปากกระเปาะฉีดน้ำขึ้นเล็กน้อยเข้าไปในหู เพื่อให้น้ำไหลลงเหมือนน้ำตกจากเพดานหูและให้น้ำยาไหลออกจากพื้นช่องหู ล้างเอาเศษขี้หูออก

น้ำที่ใช้ล้างหูปกติจะเป็นน้ำอุ่น[30]น้ำเกลือ[31]น้ำยาโซเดียมไบคาร์บอเนต[32]หรือน้ำผสมน้ำส้มสายชูเพื่อป้องกันการติดเชื้อ[30]

คนไข้ปกติจะชอบน้ำยาล้างที่มีอุณหภูมิเท่ากับร่างกาย[31]เพราะการล้างหูด้วยน้ำยาที่อุ่นกว่าหรือเย็นกว่าอุณหภูมิร่างกายอาจทำให้เวียนหัวคลื่นไส้[25][30]

ช้อนแคะหูและไม้ปั่นหัวสำลี

ไม้แคะหูทำด้วยไม้ไผ่ไม้แคะหูโลหะ

ขี้หูสามารถเอาออกด้วยช้อนแคะหูหรือไม้แคะหู โดยใช้แคะให้ขี้หูหลุดออกจากผนังแล้วตักมันออกมาจากช่องหู[33]ในประเทศตะวันตก มืออาชีพด้านสาธารณสุขเท่านั้นจะใช้ไม้แคะหูแต่ก็เป็นเรื่องปกติในยุโรปโบราณ และยังเป็นเรื่องปกติในเอเชียปัจจุบัน (รวมทั้งประเทศไทย)เพราะคนเอเชียโดยมากมีขี้หูแบบแห้ง[5]จึงสามารถใช้ไม้ขูดเบา ๆ ทำให้ขี้หูหลุดออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ที่แห้ง ๆ

คำแนะนำปกติจะไม่ให้ใช้ไม้ปั่นหัวสำลี เพราะจะดันขี้หูเข้าไปในหูให้ลึกขึ้น และถ้าใช้อย่างไม่ระมัดระวัง อาจทำให้แก้วหูทะลุ[26]อนึ่ง การทำให้ช่องหูถลอก โดยเฉพาะเมื่อมีน้ำจากการว่ายน้ำหรืออาบน้ำ อาจทำให้ติดเชื้อแม้สำลีเองก็อาจหลุดออกติดอยู่ในหูดังนั้น ไม้ปั่นหัวสำลีควรใช้ทำความสะอาดหูภายนอกเท่านั้น

เทียนดูดหู

เทียนดูดหู เป็นขี้ผึ้งแท่งกลวงซึ่งจุดไฟที่ปลายข้างหนึ่ง และเอาปลาย (กลวง) อีกข้างหนึ่งใส่เข้าในหูเพื่อดูดสิ่งที่อยู่ในหูออก แพทย์ทางเลือกอาจอ้างว่า มันสามารถทำให้สุขภาพดีแต่แพทย์ปัจจุบันแนะนำไม่ให้ทำเพราะเสี่ยงอันตรายและไม่มีผลอะไร[22][34]

ผู้สนับสนุนเชื่อว่า เศษสีเข้ม ๆ ที่เหลือจากการทำเช่นนี้เป็นขี้หูที่ดูดออกมา เป็นข้อพิสูจน์ว่าได้ผลแต่งานศึกษาต่าง ๆ ได้แสดงว่า เศษสีเข้มที่พบเป็นส่วนเหลือของการจุดเทียน ซึ่งมีไม่ว่าจะใส่เข้าในหูหรือไม่ เพราะเทียนทำจากใยฝ้ายและขี้ผึ้งซึ่งมีเศษเหลือเมื่อไหม้แต่เศษเหลือที่ว่านี้จะมีสีน้ำตาลเหมือนกับขี้หู (ของบางคน) ทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเป็นขี้หูและเพราะเทียนเป็นแท่งกลวง ขี้ผึ้งร้อน ๆ อาจตกใส่ในช่องหูแล้วทำอันตรายแก่แก้วหู

วิทยาลัยวิทยาการหูคอจมูกอเมริกัน (AAO) กล่าวว่า เทียนดูดหูไม่ปลอดภัยเพื่อเอาขี้หูออก และไม่มีงานศึกษาที่มีกลุ่มควบคุมหรือเป็นวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนให้ใช้มันเยี่ยงนี้[35]ส่วนองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้บังคับใช้กฎหมายต่อต้านการขายเทียนดูดหูหลายครั้งเริ่มตั้งแต่ปี 1996 รวมทั้งยึดของและออกหมายไม่ให้ทำอีก[35]

อนึ่ง ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ขายเพื่อ "ดูดหู" ก็ไม่สามารถเอาขี้หูออกด้วย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับอุปกรณ์ (Jobson-Horne probe[upper-alpha 1]) ที่แพทย์ใช้[37]

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจมี

การแคะหูในอินเดีย ภาพสีน้ำทึบหนังสือ De medicina

การสำรวจแพทย์ทั่วไปในอังกฤษทางไปรษณีย์[25]พบว่า เพียงแค่ 19% เอาขี้หูออกเองเป็นปัญหาเพราะการเอาขี้หูออกเสี่ยง และแพทย์พยาบาลมักไม่ได้ฝึกเอาขี้หูออกพอการล้างหูสามารถทำที่บ้านถ้ามีอุปกรณ์ที่จำเป็นและไม่ฉีดน้ำแรงเกินวิธีการอื่น ๆ ควรให้บุคคลที่ฝึกวิธีนั้นมาดีพอทำ

นักวิชาการผู้หนึ่งแนะนำแพทย์ว่า "หลังจากเอาขี้หูออก ตรวจให้ทั่วว่าไม่มีเหลือคำแนะนำนี้อาจดูเหลือเฟือ แต่บ่อยครั้งถูกเมิน"[32]ซึ่งนักวิชาการอีกท่านหนึ่งก็ได้ยืนยัน[25]เพราะได้สำรวจแพทย์ทั่วไป 320 รายแล้วพบว่า แพทย์เพียง 68% จะตรวจช่องหูว่ามีขี้หูเหลือหรือไม่หลังล้างหูแล้วดังนั้น การเอาขี้หูออกไม่หมดจึงเป็นภาวะแทรกซ้อน 30% เนื่องกับหัตถการนี้

ภาวะแทรกซ้อนอื่นรวมทั้งหูชั้นนอกอักเสบ (otitis externa) เพราะติดเชื้อแบคทีเรีย ตลอดจนเจ็บ รู้สึกหมุน (vertigo) เสียงในหู และแก้วหูทะลุข้อมูลจากงานศึกษานี้ทำให้เสนอว่าภาวะแทรกซ้อนสำคัญเนื่องกับหัตถการนี้เกิดในอัตรา 1/1,000 เมื่อฉีดล้างหู[25]

หน่วยประกันภัยที่ไม่ต้องพิสูจน์ความผิดของนิวซีแลนด์มีกรณีเรียกร้องเพราะปัญหาเอาขี้หูออก 25% ในบรรดากรณีเรียกร้องเกี่ยวกับหูคอจมูก โดยแก้วหูทะลุเป็นปัญหาความพิการซึ่งสามัญที่สุด[30]แม้มีอัตราสูงแต่ก็ไม่น่าแปลกใจเพราะการล้างขี้หูออกเป็นหัตถการที่ทำอย่างสามัญนักวิชาการได้ประเมินว่า มีการล้างขี้หูออก 7,000 ครั้งต่อประชากร 100,000 คนต่อปีอาศัยการประมาณค่านอกช่วงของข้อมูลที่ได้จากเมืองเอดินบะระ[25]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ขี้หู http://www.ahnenkult.com/?p=746 http://audiologysupplies.com/blog/cerumen-manageme... http://www.history-science-technology.com/Notes/No... http://www.popsci.com/article/science/scent-your-e... http://journals.sagepub.com/doi/full/10.1177/01945... http://oto.sagepub.com/content/139/3_suppl_1/S1.fu... http://www.tchain.com/otoneurology/disorders/heari... http://bu.academia.edu/MaryBeaudry/Papers/120776/B... http://www.archives.nd.edu/cgi-bin/words.exe?nitri http://www.cs.ucf.edu/~MidLink/baldrige.jan.two.ht...