ศักดินา ของ ขุนนางกรุงศรีอยุธยา

ศักดินาเป็นเครื่องกำหนดความสูงต่ำของยศศักดิ์ขุนนาง โดยในสังคมไทยสมัยกรุงศรีอยุธยายกเว้นกษัตริย์ ถูกกำหนดให้แต่ละคนมีจำนวนศักดินาประจำตัวแตกต่างกัน บุคคลที่มียศศักดิ์สูง มีหน้าที่ราชการความรับผิดชอบมาก ก็มีศักดินาสูงเป็นไปตามลำดับขั้น

สำหรับขุนนางจะมีศักดินาได้สูงสุด 10,000 เท่านั้น แม้ว่าขุนนางจะมีจะมีบรรดาศักดิ์เท่ากันหรือตำแหน่งในระดับเดียวกัน ขุนนางที่มีศักดินาสูงย่อมมีความสำคัญมากกว่า แม้ว่าจะดำรงตำแหน่งในระดับเดียวกันหรือมีบรรดาศักดิ์เท่ากันก็ตาม ดังนั้นศักดินาจึงใช้แสดงความสูงศักดิ์ได้แน่นอนกว่า ยศ ราชทินนาม หรือตำแหน่ง

บรรดาศักดิ์ ราชทินนาม ตำแหน่งและศักดินาซึ่งแสดงถึงความสูงศักดิ์ของขุนนาง มิใช่สิ่งที่จะสืบทอดกันในวงศ์ตระกูลและไม่ใช่สิ่งถาวร กล่าวคือ 4 สิ่งนี้อาจจะหมดไปได้ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงถอดถอนหรือขุนนางผู้นั้นลาออกจากตำแหน่งความสูงศักดิ์จะดำรงอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ขุนนางยังดำรงตำแหน่ง แต่อาจมีข้อยกเว้นบ้าง เช่นขุนนางที่ลาออกและมีบ่าวไพร่จะเหลือศักดินา 1 ใน 3 ของศักดินาเดิม หรือขุนนางบางคนที่มีความดีความชอบอาจได้รับพระบรมราชานุญาตให้คงรักษาบรรดาศักดิ์เดิมไว้หลังจากที่ลาออก ในสมัยอยุธยาขุนนางจะอยู่ในตำแหน่งได้ตลอดชีวิตหากไม่ประพฤติผิดและถูกกษัตริย์ถอดถอนหรือมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

ใกล้เคียง

ขุนนางกรุงศรีอยุธยา ขุนนางอังกฤษ ขุนนางฝ่ายอาณาจักร ขุนนางฝรั่งเศส ขุนนางฝ่ายศาสนจักร ขุนนางผู้พลีชีพทั้งหก ขุนนาง ขุนนางญี่ปุ่น ขุนนางโกฮาอิน ขุนชนานิเทศ (เซียวเซอะ ทองตัน)