สิทธิและผลประโยชน์ ของ ขุนนางกรุงศรีอยุธยา

ขุนนางในสมัยอยุธยามีรายได้และผลประโยชน์หลายอย่าง โดยเฉพาะผลประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่ที่ตนดำรงอยู่ ดังนั้น การอยู่ในตำแหน่งของขุนนางจึงมักเรียกว่า "กินตำแหน่ง" หรือ "กินเมือง"

ขุนนางและครอบครัวบุตรหลานบริวารได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน ขุนนางไม่ต้องเสียภาษี มีไพร่ในสังกัดเพื่อควบคุมตามความสูงศักดิ์ไม่ต้องไปศาลเอง แต่มีสิทธิใช้ทนายไปให้การในศาลแทน และการสืบสวนขุนนางจะทำได้ต่อเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงพระบรมราชานุญาต ขุนนางมีสิทธิเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ตามลำดับยศศักดิ์ มีสิทธิในการใช้เสมียนนายรับใช้ใกล้ชิดติดตามขุนนาง นอกจากนี้ ขุนนางได้รับเครื่องยศต่างๆ เพื่อแสดงฐานะสูงศักดิ์ เช่น หีบหมาก คนโท กระโถน หรือบางทีอาจมีช้าง มีม้า ข้าคนและที่ดิน เครื่องยศเหล่านี้ต้องคืนถวายเมื่อถึงแก่อนิจกรรมหรือออกจากราชการ ขุนนางที่มีความดีความชอบมาแต่ก่อน แต่ทำความผิดซึ่งโทษถึงตาย (ยกเว้นเป็นกบฏ) มีสิทธิขอพระราชทานลดโทษไม่ให้ถึงตายได้

สิทธิของขุนนางก็มีข้อจำกัดขอบเขตสิทธิเช่นกัน เช่น ความสูงศักดิ์ของการเป็นขุนนางมีเฉพาะตน ไม่สามารถถ่ายทอดถึงลูกหลานได้ การทำเกินยศศักดิ์ในด้านชีวิตความเป็นอยู่และมีไพร่เกินฐานะ มีโทษถูกริบไพร่ทั้งหมด ให้ออกจากราชการ ถ้าขุนนางตาย บุตรภรรยาหรือญาติพี่น้องต้องทำบัญชีแจ้งทรัพย์สินทั้งหมดเรียกว่า พัทธยา เพื่อกราบทูล เพื่อทรงพิจารณาว่าจะเรียกทรัพย์สินที่พระราชทานไปใด้กลับมาประการใดบ้าง จะต้องคืนพัทธยาได้แก่ราชการและยังต้องแบ่งทรัพย์มรดกส่วนหนึ่งให้แก่พระคลังหลวงอีกด้วย เป็นการควบคุมความมั่งคั่งของขุนนางทางหนึ่งมิให้มีทรัพย์เป็นมรดกมากเกินไป

ใกล้เคียง

ขุนนางกรุงศรีอยุธยา ขุนนางอังกฤษ ขุนนางฝ่ายอาณาจักร ขุนนางฝรั่งเศส ขุนนางฝ่ายศาสนจักร ขุนนางผู้พลีชีพทั้งหก ขุนนาง ขุนนางญี่ปุ่น ขุนนางโกฮาอิน ขุนชนานิเทศ (เซียวเซอะ ทองตัน)