ขุนนางกรุงศรีอยุธยา

ขุนนางไทย คือข้าราชการที่ได้รับพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์ราชทินนามและศักดินาตั้งแต่ 400 ขึ้นไป โดยขุนนางเป็นผู้ที่กำเนิดจากสามัญชน อาจจะมาจากครอบครัวชั้นสูงหรือชั้นต่ำในสังคมก็ได้ ฉะนั้นขุนนางเกิดจากการใช้พระราชอำนาจของกษัตริย์ สามัญชนที่มีโอกาสถวายตัวรับราชการกับกษัตริย์และได้รับศักดินา 400 ขึ้นไป หรืออาจมีข้อยกเว้นหากมีศักดินาต่ำกว่า 400 แต่รับราชการในกรมมหาดเล็กก็จัดเป็นขุนนาง ทั้งนี้ขุนนางในกรมมหาดเล็กจะได้รับการเลือกสรรโดยตรงจากพระมหากษัตริย์สามัญชนจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นขุนนางอาจเกิดขึ้นได้ 2 ระยะ คือระยะแรกเมื่อเป็นเด็ก บิดาซึ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่นำเข้าเฝ้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก อาจจะถวายตัวกับเจ้านายพระองค์อื่นสักระยะ เมื่อมีคุณสมบัติครบที่จะเป็นขุนนางได้ ขุนนางผู้ใหญ่จะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติ หากเห็นว่าเหมาะสมจะส่งไปประจำตามกรมกองต่างๆ ซึ่งมักเป็นกรมกองที่บิดามารดาหรือญาติพี่น้องรับราชการประจำอยู่แล้วในพระราชกำหนดเก่าที่ตราขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นขุนนางว่าจะต้องประกอบด้วยวุฒิ 4 ประการ คือ ชาติวุฒิ (เป็นตระกูลขุนนางสืบทอดกันมา), วัยวุฒิ (อายุ 31 ปีขึ้นไป), คุณวุฒิ (มีภูมิรู้ที่ดี) และ ปัญญาวุฒิ (มีความฉลาดรอบรู้โดยทั่ว) นอกจากนี้ยังต้องมีฉันทาธิบดี (ถวายสิ่งที่ต้องประสงค์) วิริยาธิบดี (มีความเพียรในราชการ) จิตตาธิบดี (กล้าหาญในสงคราม) และวิมังสาธิบดี (ฉลาดการไตร่ตรองคดีความและอุบายในราชการต่างๆ) ทั้งนี้ กฎเกณฑ์เหล่านี้มิได้กำหนดเป็นการตายตัว

ใกล้เคียง

ขุนนางกรุงศรีอยุธยา ขุนนางอังกฤษ ขุนนางฝ่ายอาณาจักร ขุนนางฝรั่งเศส ขุนนางฝ่ายศาสนจักร ขุนนางผู้พลีชีพทั้งหก ขุนนาง ขุนนางญี่ปุ่น ขุนนางโกฮาอิน ขุนชนานิเทศ (เซียวเซอะ ทองตัน)