กฎหมายการควบคุม ของ ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม

การติดฉลากอาหารGMO

เขียว-บังคับการขึ้นป้าย แดง-ห้ามการนำเข้าและการปลูกพืชผลแปรพันธุกรรม

ในปี 2557 มีประเทศ 64 ประเทศที่บังคับให้ขึ้นป้ายอาหารดัดแปรพันธุกรรมทั้งหมด[412][413]

สหภาพยุโรป[414][415]ประเทศญี่ปุ่น[416]ออสเตรเลีย[417]นิวซีแลนด์[417]รัสเซีย[418]จีน[419]อินเดีย[420]และไทย[421][422]ล้วนแต่บังคับให้ใช้ฉลากอาหาร GMO

โดยเดือนธันวาคม 2558 ประเทศอิสราเอลไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบังคับฉลากอาหารที่มีส่วนผสมจาก GMO[423]และมีเขตปกครองอื่น ๆ ที่อนุญาตให้ขึ้นป้ายโดยสมัครใจ หรือว่ามีแผนที่จะบังคับให้ขึ้นป้าย[424][425][426]

สมาคมสาธารณสุขอเมริกัน (American Public Health Association)[427]สมาคมแพทย์อังกฤษ (British Medical Association)[11]และสมาคมสาธารณสุขออสเตรเลีย[12]สนับสนุนให้บังคับขึ้นฉลากอาหารคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) อ้างว่า การบังคับให้ขึ้นฉลากและการสืบหาต้นตอได้ จำเป็นเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกได้ ป้องกันการโฆษณาลวง[414]และช่วยอำนวยการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ถ้าพบผลลบต่อสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อม[415]แต่งานศึกษาปี 2550 เกี่ยวกับกฎหมายให้ขึ้นฉลากพบว่า เมื่อบังคับให้ขึ้นฉลาก มีผลิตภัณฑ์น้อยที่จะยังมีส่วนผสมแปรพันธุกรรมประเทศที่ส่งอาหารออกเช่นสหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา และแคนาดา อนุญาตให้ขึ้นป้ายโดยอาสา ส่วนประเทศที่นำอาหารเข้าโดยทั่วไปบังคับให้ขึ้นป้าย[428]

ในประเทศสหรัฐอเมริกา การขึ้นป้าย GMO ไม่บังคับโดยองค์การอาหารและยาตราบเท่าที่ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องสุขภาพ ความปลอดภัยทางสิ่งแวดล้อม และความคาดหวังของผู้บริโภคเพราะการบรรจุผลิตภัณฑ์[429][430][431]สมาคมการแพทย์อเมริกัน (American Medical Association ตัวย่อ AMA)[4]และสมาคมอเมริกันเพื่อความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ (American Association for the Advancement of Science ตัวย่อ AAAS)[1]ต่างต่อต้านการบังคับขึ้นฉลากเพราะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ถึงอันตรายAMA กล่าวว่า การขึ้นฉลากแม้โดยอาสาก็ยังชักนำให้เข้าใจผิด นอกจากจะมีการให้ข้อมูลอื่น ๆ กับผู้บริโภคอย่างจริงจังส่วน AAAS กล่าวว่า การบังคับให้ขึ้นฉลาก "ก็จะเป็นเพียงการชักนำผู้บริโภคให้เข้าใจผิด และทำให้ตื่นตระหนกอย่างผิด ๆ"

การพยายามให้ขึ้นป้ายไม่ได้เป็นไปตามหลักฐานว่าอาหารแปรพันธุกรรมมีอันตรายจริง ๆคือจริง ๆ แล้ว (ข้อมูล)วิทยาศาสตร์นั้นชัดเจนมากว่า การปรับปรุงพืชผลโดยใช้เทคนิคระดับโมเลกุลของเทคโนโลยีชีวภาพในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ปลอดภัยแต่ว่า ความพยายามเหล่านั้น มีเหตุจากองค์ประกอบต่าง ๆ เริ่มจากความเห็นเรื้อรังว่า อาหารเช่นนี้ "ไม่เป็นธรรมชาติ" เพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง และอาจจะเป็นอันตราย จนไปถึงความต้องการที่จะได้เปรียบในการแข่งขัน โดยออกกฎหมายให้ติดป้ายที่มีเป้าหมายเพื่อทำให้ตระหนกตกใจสิ่งที่เข้าใจผิดอีกอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นเหตุผลเพื่อขึ้นป้ายก็คือ พืชผลแปรพันธุกรรมนั้นไม่ได้ทดสอบ

AAAS[1]

มีความพยายามหลายครั้งหลายหนที่จะออกกฎหมายการขึ้นป้ายในสหรัฐ โดยเฉพาะในระดับมลรัฐ[432]สมาคมสาธารณสุขรัฐอิลลินอยส์[433]และสมาคมการแพทย์รัฐอินเดียนา[434]ล้วนแต่กล่าวว่า

การไม่มีฉลากทำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่สามารถสืบสาวความเป็นพิษหรือภูมิแพ้ที่เป็นปฏิกิริยาต่อ หรือสืบสาวผลลบทางสุขภาพอื่น ๆ จาก อาหารแปรพันธุกรรม[433][434]

ความพยายามแรกสุดเกิดขึ้นในปี 2545 ในรัฐออริกอน แต่ไม่ผ่านรัฐสภาด้วยคะแนนเสียงในอัตรา 7 ต่อ 3 และเมื่อต้นปี 2555 มีรัฐสภาของ 18 มลรัฐที่อภิปรายเรื่องการออกฎหมายบังคับการขึ้นป้าย[435]ในปี 2555 ชาวรัฐแคลิฟอร์เนียออกเสียงปฏิเสธกฎหมายที่บังคับการขึ้นป้าย (California Proposition 37)[436][437]ในปี 2556 รัฐคอนเนตทิคัตออกฎหมายบังคับการขึ้นป้ายเป็นฉบับแรกในสหรัฐ โดยมีเงื่อนไขว่า จะไม่มีผลจนกระทั่งรัฐอื่น ๆ ออกกฎหมายตาม[438]ในปีเดียวกัน ชาวรัฐวอชิงตันลงมติปฏิเสธกฎหมายบังคับให้ขึ้นป้าย[439][440]โดยเดือนกันยายนปีเดียวกัน ยังมีการอภิปรายถึงกฎหมายขึ้นป้ายในรัฐไม่ต่ำกว่า 20 รัฐในสหรัฐ[441]ในวันที่ 9 มกราคม 2556 รัฐเมนออกกฎหมายบังคับการขึ้นป้าย โดยมีเงื่อนไขคล้ายกับของรัฐคอนเนตทิคัต[442]ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 มีกฎหมายร่างบังคับการขึ้นป้ายในวุฒิสภาของรัฐแคลิฟอร์เนีย[443][444]ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน รัฐเวอร์มอนต์ออกกฎหมายบังคับการขึ้นป้าย[412][445]

ความเป็นกลางขององค์กรควบคุมกฎหมาย

กลุ่มต่าง ๆ ที่ต่อต้านการอนุมัติสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม หรือการใช้เป็นอาหาร ได้ตั้งข้อสงสัยว่า องค์กรควบคุมของรัฐสนิทสนมกับบริษัทที่ต้องการให้อนุมัติผลิตภัณฑ์ของตนเกินไปหรือไม่[33][38]

ผู้ต่อต้านในสหรัฐได้ประท้วงการตั้งนักวิ่งเต้นในตำแหน่งสูง ๆ ภายในองค์การอาหารและยา (ตัวย่อ FDA)เช่นในปี 2534 นักวิ่งเต้นของมอนแซนโตคนหนึ่ง (Michael R. Taylor) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปรึกษาอาวุโสของ FDA เกี่ยวกับความปลอดภัยอาหารต่อมาเมื่อลาจากตำแหน่งแล้ว เขาได้กลายเป็นรองประธานคนหนึ่งในบริษัทต่อมาในวันที่ 7 กรกฎาคม 2552 เขากลับไปทำงานกับรัฐบาลอีกโดยเป็นผู้ปรึกษาอาวุโสของกรรมาธิการขององค์กร[446]

ในปี 2554 เมื่อเกิดกรณีเรียกคืนข้าวโพด Starlink บุคลากรขององค์การไม่แสวงหาผลกำไร "ศูนย์ความปลอดภัยอาหาร (Center for Food Safety)" ได้วิจารณ์สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐว่า ตอบสนองต่อปัญหาช้า[447]และวิจารณ์ทั้งองค์กรและบริษัท Aventis CropScience (ปัจจุบัน Sanofi) เพราะคำแถลงการณ์ว่า ทั้งสององค์กรไม่ได้คาดหวังว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้น[447]

คณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพแคนาดาที่ทำหน้าที่ทบทวนกฎหมายควบคุมของแคนาดาระหว่างปี 2542-2546 ถูกตำหนิโดยกลุ่มสิ่งแวดล้อมและกลุ่มพลเมืองต่าง ๆ ว่า ไม่ได้เป็นผู้แทนเพื่อสาธารณประโยชน์ในทุก ๆ ด้าน และใกล้ชิดกับกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากเกินไป[448]

สมาชิกโดยมากของคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติจีนมีส่วนร่วมในเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งทำให้เกิดคำวิจารณ์ว่า ไม่เป็นตัวแทนเพื่อสาธารณประโยชน์ที่กว้างขวางเพียงพอ[449]

ข้อขัดแย้งโดยคดีฟ้องร้องและโดยการควบคุม

สหรัฐอเมริกา

มีการฟ้องคดีในศาลรัฐบาลกลางสหรัฐ 4 คดี ต่อกรมตรวจสอบสุขภาพของสัตว์และพืช (Animal and Plant Health Inspection Service ตัวย่อ APHIS) ซึ่งอยู่ใต้อำนาจของกระทรวงเกษตรสหรัฐ ที่มีหน้าที่ดูแลควบคุมพืชดัดแปรพันธุกรรมคือคดี 2 คดีเนื่องด้วยการทดสอบภาคสนามของหญ้าทนยาฆ่าวัชพืชในรัฐออริกอน และข้าวโพดและอ้อยที่สามารถผลิตยาได้ในรัฐฮาวาย กับอีก 2 คดีเนื่องด้วยการยกเลิกกฎบังคับถั่วอัลฟัลฟาแปรพันธุกรรม[450]และต้นน้ำตาลบีท (Sugar beet) แปรพันธุกรรม[451]APHIS แพ้ทั้ง 4 คดีในศาลเบื้องต้น โดยผู้พิพากษาตัดสินว่า ไม่ทำตามนโยบายที่ตั้งไว้ในกฎหมายแต่ว่า ต่อมาศาลสูงสุดของสหรัฐยกเลิกการห้ามถั่วอัลฟัลฟาแปรพันธุกรรมทั่วประเทศ[452]ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงอนุญาตให้ลดกฎข้อบังคับของต้นน้ำตาลบีทแปรพันธุกรรม[453]หลังจากที่ APHIS เตรียมคำแถลงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของถั่วอัลฟัลฟาและต้นน้ำตาลบีท การยกเลิกกฎบังคับจึงได้รับการอนุมัติ[454][455]

ในปี 2557 ชนในเทศมณฑลเมาวีในรัฐฮาวายออกเสียงให้ระงับการผลิตและการวิจัยสิ่งมีชีวิตแปรพันธุกรรมอย่างชั่วคราวโดยให้ลงโทษทั้งจำและปรับถ้าฝ่าฝืนโดยเจตนา และไม่จำกัดเพียงแค่เกษตรกรรมเพื่อการค้าเท่านั้น[456][457]โดยมีปชามติผ่านกฎหมายในอัตรา 50.2% ต่อ 47.9%[458]

สหภาพยุโรป

จนกระทั่งถึงคริต์ทศวรรษ 1990 กฎหมายควบคุมในยุโรปเข้มงวดน้อยกว่าในสหรัฐ[459]ในปี 2541 (ค.ศ. 1998) ข้าวโพดดัดแปรพันธุกรรม Bt (พันธุ์ MON810) ที่ทนต่อหนอนเจาะข้าวโพดยุโรป ได้รับอนุมัติให้ใช้เพื่อการเพาะปลูกสำหรับการค้าในยุโรปแต่ว่าในช่วงนั้น มีปัญหาเกี่ยวกับอาหารที่ไม่ใช่ GMO หลายอย่างที่ทำให้ผู้บริโภควิตกกังวลด้านความปลอดภัยของอาหารโดยทั่ว ๆ ไป แล้วทำให้ประชาชนเสื่อมความเชื่อใจในการดูแลตรวจสอบของรัฐบาลโดยมีปัญหาโรควัวบ้าระบาดเป็นเรื่องดังที่สุด[460]ดังนั้น ในปี 2541 สหภาพยุโรปจึงระงับการอนุมัติสิ่งมีชีวิตแปรพันธุกรรมชั่วคราวโดยปริยาย เป็นการรอให้แก้กฎบังคับที่มีอยู่แล้ว

ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 การอนุมัติพืชผลแปรพันธุกรรมของรัฐบาลสหรัฐทำให้ชาวยุโรปวิตกกังวล มีผลเป็นการลดการส่งออกจากสหรัฐไปยังยุโรปคือ "ก่อนปี 2540 การส่งออกข้าวโพดไปยังยุโรปอยู่ในอัตรา 4% ของการส่งออกสหรัฐทั้งหมด โดยมีรายได้ประมาณ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ยกตัวอย่างเช่น ก่อนปี 2540 สหรัฐขายข้าวโพดประมาณ 1.75 ล้านตันต่อปีให้แก่ประเทศสเปนและโปรตุเกส แต่ในช่วงปี 2540 และ 2541 สเปนซื้อข้าวโพดน้อยกว่า 1/10 ของที่เคยซื้อปีก่อน โดยที่โปรตุเกสไม่ได้ซื้อเลย"[460]

ในเดือนพฤษภาคม 2546 สหรัฐและประเทศอื่น ๆ อีก 12 ประเทศ ส่งคำร้องเรียนไปยังองค์การการค้าโลกว่า สหภาพยุโรปละเมิดสนธิสัญญาการค้าระหว่างประเทศ เพราะห้ามการนำเข้าผลิตภัณฑ์เกษตรสหรัฐโดยการห้ามอาหารแปรพันธุกรม[461]และอ้างว่า กระบวนการดูแลควบคุมของสหภาพยุโรปเนิ่นช้า และใช้มาตรฐานที่ไม่มีเหตุผลเพราะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่า พืชผลเหล่านั้นปลอดภัยกรณีนี้มีการวิ่งเต้นโดยบริษัทมอนแซนโต และ Aventis (ปัจจุบัน Sanofi-Aventis) แห่งประเทศฝรั่งเศส และโดยกลุ่มเกษตรกรรมสหรัฐต่าง ๆ เช่น สมาคมผู้ปลูกข้าวโพดแห่งชาติ (National Corn Growers Association)ในเดือนมิถุนายน 2546 รัฐสภายุโรปจึงเซ็นสัญญาระเบียบการเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ (Cartagena Protocol on Biosafety) ของสหประชาชาติ ซึ่งควบคุมการค้าอาหารแปรพันธุกรรมระหว่างประเทศ และในเดือนต่อมา อนุมัติกฎบังคับให้มีการขึ้นป้ายและการสืบหาต้นตอได้ โดยมีเงื่อนไขที่แต่ละประเทศสมาชิกจะสามารถเลือกทำได้การอนุมัติสิ่งมีชีวิตแปรพันธุกรรมใหม่ ๆ จึงเริ่มขึ้นอีกในเดือนพฤษภาคม 2547แม้ว่าจะมีสิ่งมีชีวิตแปรพันธุกรรมที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่นั้น แต่การอนุมัติก็ยังเป็นประเด็นให้ถกเถียงกันมาก และประเทศหลายประเทศก็ได้เลือกใช้เงื่อนไขที่จะไม่ทำต่อมาในปี 2549 องค์การการค้าโลกตัดสินว่า กฎจำกัดที่มีก่อนปี 2547 เป็นการละเมิดสนธิสัญญา[462][463]แม้ว่า คำตัดสินจะไม่มีผลอะไรทันที เนื่องจากการห้ามชั่วคราวได้ยกเลิกไปแล้ว

ในช่วงท้ายปี 2550 เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศฝรั่งเศสแนะนำ "นโยบายแก้เผ็ด" เพื่อตอบโต้ประเทศฝรั่งเศสและสหภาพยุโรป ในเรื่องการห้าม GMO ของฝรั่งเศสและเรื่องความเปลี่ยนแปลงนโยบายของยุโรปต่อพืชผลแปรพันธุกรรม เนื้อความนี้มาจากข้อความรั่วระหว่างสถานทูตกับกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐที่เผยแพร่โดยวิกิลีกส์[464][465]

ประเทศยุโรป 20 ประเทศจาก 28 ประเทศ (รวมทั้งสวิตเซอร์แลนด์) ไม่ยอมให้ปลูก GMO จนกระทั่งถึงเดือนตุลาคมปี 2558[466][467]ต่อเป็นนี้เป็นรายการประเทศยุโรปที่ห้ามไม่ให้ปลูก GMO

2
The unnamed parameter 2= is no longer supported. Please see the documentation for {{columns-list}}.

ออสเตรเลีย

ในเดือนพฤษภาคมปี 2557 ศาลสูงสุดของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียยกฟ้องคดี มาร์ช์กับแบกซเตอร์ (Marsh v. Baxter)[468][469]โจทก์คือเกษตรกรอินทรีย์นายสตีฟ มาร์ช และจำเลยคือนายไมเคิล แบกซเตอร์ ผู้เป็นเกษตรกรเพื่อนบ้านมาทั้งชีวิต ผู้ปลูกพืชวงศ์ผักกาดแปรพันธุกรรม[470]คือในปลายปี 2553 นายมาร์ชพบเมล็ดพืชผลของนายแบ็กซ์เตอร์ในแปลงของเขาแล้วต่อมาพบพืชแปรพันธุกรรมกำลังเจริญเติบโตขึ้นเมื่อเขารายงานว่าพบเมล็ดและพืชไปยังสำนักงานการรับรองอาหารอินทรีย์พืชผลประมาณ 70% ในไร่ประมาณ 3 พันไร่ของเขาจึงไม่ได้การรับรองจากสำนักงาน[468]นายมาร์ชจึงฟ้องนายแบ็กซ์เตอร์ในศาลโดยกล่าวหาว่า วิธีการเก็บเกี่ยวพืชผลของนายแบ็กซ์เตอร์ไม่ได้มาตรฐานและทำอย่างปล่อยปละละเลย เพราะว่า ได้ปนเปื้อนไร่ของเขาอย่างกว้างขวาง[468]แต่ศาลพิพากษาวินิจฉัยว่า

  • มีต้นผักกาดประมาณ 245 ต้นที่ลมพัดเข้าไปในไร่ของนายมาร์ช[469]:2
  • วิธีการเก็บเกี่ยวของนายแบ็กซ์เตอร์ "เป็นวิธีการเก็บเกี่ยวธรรมดาและเป็นที่ยอมรับ"[469]:5
  • ในปี 2554 มีผักกาดแปรพันธุกรรมเกิดขึ้นเอง 8 ต้นในไร่ของนายมาร์ช ซึ่งเมื่อถูกถอนออก ก็ไม่พบผักกาดแปรพันธุกรรมอีกในปีต่อ ๆ มา[469]:4
  • การสูญเสียการรับรองพืชอินทรีย์นั้น เกิดจากกฎเกณฑ์ขององค์กร NASAA (สมาคมเกษตรกรรมยั่งยืนแห่งชาติออสเตรเลีย) ที่ประยุกต์ใช้กับผู้ปลูกพืชอินทรีย์ของ NSAAA ในกรณี GMO อย่างผิดพลาดในเวลานั้น[469]:4
  • การไม่มีหลักฐานสนับสนุนที่เชื่อถือได้ ทำให้การขอห้ามวิธีการเก็บเกี่ยวของนายแบ็กซ์เตอร์เป็นกรณีที่อ่อนมาก[469]:6

ต่อมาในวันที่ 18 มิถุนายน 2557 นายมาร์ชประกาศว่าตนได้ร้องอุทธรณ์ต่อศาล[471]โดยเหตุผลหนึ่งว่า ตนถูกปรับ $803,989 (ประมาณ 24,407,885 บาท[472])การฟังความคดีอุทธรณ์เริ่มขึ้นวันที่ 23 มีนาคม 2558 แต่เลื่อนออกไปในวันที่ 25 เพื่อสืบความว่า การสู้คดีของนายแบ็กซ์เตอร์ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากบริษัทขายเมล็ดพันธุ์พืชคือมอนแซนโต และ/หรือจากสมาคม Pastoralists and Graziers Association of Western Australia หรือไม่ และดังนั้น ค่าเสียหายที่ปรับนายมาร์ชไม่ควรจะรวมค่าใช้จ่ายที่มือที่ 3 ได้ช่วยออกให้นายแบ็กซ์เตอร์แล้ว[473][474]

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและกฎหมายควบคุม

พืชดัดแปรพันธุกรรมแรกสุดทำด้วยยวิธี transgenesis คือโดยใช้ยีนของอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่ง และบางครั้งใช้แบคทีเรียเพื่อถ่ายโอนยีนซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา พืชผ่านกรรมวิธีเช่นนี้จะอยู่ใต้การควบคุมของกระทรวงเกษตร (USDA)[475][476]แต่ต่อมาในปี 2553 เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมใหม่ ๆ เช่น การตัดต่อจีโนม (genome editing) ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเปลี่ยนจีโนมพืชได้โดยไม่ต้องเพิ่มยีนจากสิ่งมีชีวิตอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้น พืชทำโดยวิธีนี้ จึงพ้นจากการควบคุมของกระทรวงเกษตร[475]จึงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า กฎหมายควบคุมจะต้องเปลี่ยนเพื่อให้ทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ[475]

ใกล้เคียง

ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม ข้อต่อ ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1970 ข้อตกลงออสโล ข้อตกลงสำหรับเครื่องหมายพาสซีฟ ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล ข้อตกลงพลาซา ข้อต่ออโครมิโอคลาวิคิวลาร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม http://92.52.112.178/web/sa/saweb.nsf/GetInvolved/... http://www.canberratimes.com.au/act-news/gm-crop-d... http://www.farmweekly.com.au/news/agriculture/crop... http://www.smh.com.au/environment/greenpeace-activ... http://www.theland.com.au/news/agriculture/croppin... http://www.foodstandards.gov.au/_srcfiles/Review_o... http://www.foodstandards.gov.au/consumer/gmfood/se... http://www.foodstandards.gov.au/consumerinformatio... http://www.foodstandards.gov.au/consumerinformatio... http://www.foodstandards.gov.au/scienceandeducatio...