ความรู้สึกของประชาชนชาวตะวันตก ของ ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม

กลุ่มผู้บริโภคที่สนใจเรื่องคุณภาพอาหาร ได้เกิดชื่อเสียงเด่นดังก่อนแม้การประดิษฐ์อาหารดัดแปรพันธุกรรมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990นิยายเกี่ยวกับความยากลำบากของชีวิตคนต่างด้าวเรื่อง The Jungle นำไปสู่กฎหมายสำคัญฉบับแรกเกี่ยวกับอาหารและยาของสหรัฐในปี ค.ศ. 1906[18]ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความกังวลเรื่องความบริสุทธิ์และ "ความเป็นธรรมชาติ" ของอาหาร ที่พัฒนามาจากความกังวลเรื่องความสะอาดที่กล่าวถึงในนิยาย กลายเป็นประเด็นต่าง ๆ รวมทั้ง

คือในที่สุด สาธารณชนได้กลายมาเห็นอาหารดัดแปรว่า "ไม่เป็นธรรมชาติ" ซึ่งเป็นความเอนเอียงทางประชานแบบเทิดทูน (halo effect) แบบตรงข้าม ตามแนวคิดทางจิตวิทยา[19]โดยมีความรู้สึกเฉพาะคือพันธุวิศวกรรมกำลังคุกคามกระบวนการชีวภาพตามธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์มีจุดจำกัดที่จะเข้าใจผลลบที่อาจจะเกิดขึ้น[20]ส่วนความรู้สึกด้านตรงกันข้ามก็คือ พันธุวิศวกรรมความจริงเป็นวิวัฒนาการจากวิธีการคัดเลือกพันธุ์ที่ทำกันมาแล้วเป็นเวลานาน[21]

งานสำรวจต่าง ๆ แสดงว่า สาธารณชนกังวลว่า การบริโภคอาหารดัดแปรพันธุกรรมมีอันตราย[22][23][24]ว่า เทคโนโลยีชีวภาพมีความเสี่ยงว่า ควรจะสืบหาข้อมูลเพิ่มขึ้นและว่า ผู้บริโภคควรจะเลือกได้ว่าจะเสี่ยงบริโภคผลิตภัณฑ์หรือไม่[25][25][26]คือ ความรู้สึกพื้น ๆ ทั่ว ๆ ไปที่มีอยู่แล้วว่า ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีกำลังเร่งเร็วยิ่งขึ้น และไม่สามารถควบคุมได้ กลายเป็นจุดเด่นในประเด็นนี้เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงต่ออาหาร[25]

ผู้ที่ขับเคลื่อนความรู้สึกว่าอันตรายของสาธารณชนในสหรัฐ รวมทั้งสื่อเช่นโอปราห์ วินฟรีย์[23][27]องค์กรเช่น Organic Consumers Association (สมาคมผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อินทรีย์)[28]กรีนพีซ (โดยเฉพาะในเรื่องข้าวทอง)[29]และ Union of Concerned Scientists (สหภาพนักวิทยาศาสตร์ผู้ห่วงใย)[24][30][31][32][33]ยังมีกลุ่มศาสนาที่กังวลว่า อาหารที่ได้จากเทคโนโลยีเช่นนี้ จะเหมาะสมกับคำสอนของศาสนาหรือไม่แต่ว่าโดยปี พ.ศ. 2544 ก็ยังไม่มีอาหารที่กำหนดว่าไม่ควรโดยกลุ่มชนยิวหรือกลุ่มชนอิสลาม[34]แต่ว่าก็ยังมีคนยิวเป็นบางส่วนที่ไม่เห็นด้วย[35]

มีกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (เช่น Friends of the Earth)[36]ที่จัดพันธุวิศวกรรมว่าเป็นประเด็นน่าเป็นห่วงโดยทั่วไปทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการเมืองแต่ก็มีกลุ่มอื่น ๆ ด้วย (เช่น GMWatch) ที่ตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านพืชดัดแปรพันธุกรรมโดยเฉพาะหรือโดยหลัก[37][38]

ประชามติคนตะวันตก

ในปี พ.ศ. 2546 วารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน รายงานว่าโครงการ Public Perceptions of Agricultural Biotechnologies in Europe (ความรู้สึกสาธารณชนเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพในยุโรป ตัวย่อ PABE) ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่โดยสหภาพยุโรป พบว่า[39]สาธารณชนทั้งไม่ได้ยอมรับหรือปฏิเสธ GMOแต่พบว่า ประชาชนมีคำถามสำคัญเกี่ยวกับ GMO คือ[40]

  • ทำไมเราต้องใช้ GMO
  • ใครได้รับผลประโยชน์ในการใช้
  • ใครตัดสินว่าควรพัฒนาใช้ และตัดสินอย่างไร
  • ทำไมจึงไม่มีการแจ้งการใช้ GMO ในอาหารที่ดีกว่านี้ ก่อนที่จะออกสู่ตลาด
  • ทำไมเราจึงไม่มีทางเลือกที่ดีกว่านี้ ในการซื้อหรือไม่ซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้
  • โอกาสผลระยะยาวที่ไม่สามารถเปลี่ยนคืนได้ ได้รับการประเมินอย่างจริงจังแล้วหรือไม่ และโดยใคร
  • องค์กรควบคุมของรัฐ มีอำนาจเพียงพอหรือไม่ที่จะควบคุมบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างมีประสิทธิผล
  • ใครต้องการที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์เหล่านี้
  • กฎควบคุมขององค์กรของรัฐสามารถบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
  • ใครจะเป็นคนรับผิดชอบถ้ามีปัญหาที่รู้ก่อนไม่ได้เกิดขึ้น

PABE ยังพบด้วยว่า ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของประชาชนไม่ได้เปลี่ยนความเห็น เพราะว่า ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ตอบปัญหาเหล่านี้[40]และว่า ประชาชนไม่ได้เรียกร้องให้มีความเสี่ยงเป็นศูนย์ และตระหนักเป็นอย่างดีว่า ชีวิตเต็มไปด้วยความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ต้องนำมาดุลกัน แล้วประเมินเทียบกับผลประโยชน์ที่พึงได้สิ่งที่ประชาชนร้องเรียกก็คือ การประเมินความเสี่ยงที่ตรงกับความจริงยิ่งขึ้น โดยองค์กรควบคุมของรัฐและโดยผู้ผลิต GMO[40]

ในปี พ.ศ. 2549 มีการตีพิมพ์งานปฏิทัศน์ของงานสำรวจต่าง ๆ ในสหรัฐระหว่างปี พ.ศ. 2544-2550[41]ซึ่งแสดงว่า ความรู้คนอเมริกันเกี่ยวกับอาหารและสัตว์ดัดแปรพันธุกรรม น้อยมากในช่วงงานสำรวจเช่น มีการประท้วงมะเขือเทศดัดแปรพันธุกรรมของบริษัท Calgene (ปัจจุบันเป็นส่วนของบริษัทมอนแซนโต) โดยเข้าใจอย่างผิด ๆ ว่า มะเขือเทศมียีนของปลา เป็นการสับสนกับมะเขือเทศยีนปลา (Fish tomato) ของบริษัท DNA Plant Technology ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตแบบตัดต่อพันธุกรรมข้ามพันธุ์ (transgenic) ที่ไม่ได้วางตลาด[42][43]

ส่วนงานสำรวจในปี พ.ศ. 2550 ขององค์กรอาหารของประเทศออสเตรเลียนิวซีแลนด์ (Food Standards Australia New Zealand) พบว่า ในออสเตรเลียที่บังคับการขึ้นป้าย[44]ประชาชนส่วนน้อยในอัตรา 27% จะตรวจดูป้ายเพื่อดูว่ามีองค์ประกอบดัดแปรพันธุกรรมในผลิตภัณฑ์อาหารที่จะเริ่มซื้อหรือไม่[45]

งานปฏิทัศน์งานสำรวจผู้บริโภคชาวยุโรปในปี พ.ศ. 2552 สรุปว่า ความรู้สึกต่อต้านสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมในยุโรป ค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ[46]และผู้ที่ให้คำตอบแก่งานสำรวจประมาณ 80% "ไม่ได้หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ดัดแปรพันธุกรรมอย่างจงใจเมื่อไปช็อปปิ้ง"ในปี พ.ศ. 2553 งานสำรวจความเห็นประชาชนของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพและวิทยาศาสตร์ชีวภาพพบว่า[47]พืชดัดแปรพันธุกรรมประเภทที่ก็สามารถทำได้ด้วยโดยวิธีธรรมดา จะทำให้เกิดปฏิกิริยาจากประชาชนน้อยกว่าพืชที่ทำโดยการตัดต่อพันธุกรรม (transgenic) ซึ่งใช้ยีนจากสปีชีส์ที่แตกต่างกันอย่างมากทางอนุกรมวิธาน[48]

ในปี พ.ศ. 2553 งานสำรวจในสหรัฐพบว่า ผู้บริโภค 34% เป็นห่วงกังวลอย่างมากหรืออย่างยิ่งเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม แต่มีอัตราลดลง 3% จากปี 2551[49]ผลที่พบแตกต่างกันระหว่างเพศ คือ 10% ของผู้ชายเป็นห่วงอย่างยิ่ง เทียบกับ 16% ในหญิง และมี 27% ของชายที่ไม่ห่วงเรื่องนี้เลย เทียบกับ 16% ในหญิง

ในงานสำรวจปี พ.ศ. 2556 โดยหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ พบว่า คนอเมริกัน 93% ต้องการให้ขึ้นป้ายอาหารดัดแปรพันธุกรรม[50]แต่หลังจากมีการให้รางวัลอาหารโลกปี พ.ศ. 2556 กับพนักงานของบริษัทพืชดัดแปรพันธุกรรมมอนแซนโตและ Syngenta[51]ประชาชนในรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ก็ลงประชามติปฏิเสธการบังคับขึ้นป้ายอาหารดัดแปรพันธุกรรม[52]

ถ้าเป็นคำถามที่ว่า "อาหาร GMO ปลอดภัยที่จะบริโภคหรือไม่" ความเห็นของสาธารณชนและของนักวิทยาศาสตร์สมาคมอเมริกันเพื่อความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ (American Association for the Advancement of Science ตัวย่อ AAAS เป็นสมาคมวิทยาศาสตร์ทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดในโลก) แตกต่างกันมาก คือประชาชน 37% เห็นว่าปลอดภัย แต่นักวิทยาศาสตร์ 88% เห็นว่าปลอดภัย[53]

การประชาสัมพันธ์และการประท้วง

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 กลุ่มที่ชื่อว่า "Take the Flour Back (เอาแป้งคืนมา)" ประท้วงแผนงานของกลุ่ม Rothamsted Experimental Station (ปัจจุบันเรียกว่า Rothamsted Research) ที่อยู่ในประเทศอังกฤษ ที่จะทดลองข้าวสาลีดัดแปรพันธุกรรมที่สามารถขับเพลี้ยสกุล Aphididae ออกได้[54]นักวิจัยได้เขียนจดหมายไปหาชนในกลุ่มเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ขอให้ระงับการประท้วงที่กำหนดจะทำในวันที่ 27[55]แต่สมาชิกในกลุ่มกล่าวว่า กลุ่มเป็นห่วงเรื่องการหลุดออกไปสู่ธรรมชาติของพืชทดลอง โดยอ้างตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐและแคนาดา[56]ต่อมา Rothamsted Research และองค์กรกุศลที่โปรโหมตความรู้วิทยาศาสตร์ของประชาชน Sense About Science จึงได้จัดช่วงคำถาม-คำตอบ เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับโอกาสที่เหตุการณ์เช่นนั้นจะเกิดขึ้น[57]

วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 กลุ่ม "March Against Monsanto (สวนสนามต่อต้านมอนแซนโต)" นัดชุมนุมกันเพื่อประท้วง[58]ในเมืองบัวโนสไอเรสและเมืองอื่น ๆ ทั่วโลกส่วนในเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน เจ้าหน้าที่ตำรวจรายงานว่า มีคนชุมนุมประท้วงกันถึง 6,000 คน[59]และก็มีคนหลายร้อยสวนสนามประท้วงในนครลอสแอนเจลิส[60]ตามทีวีช่องหนึ่ง มีคนเป็นร้อยชุมนุมประท้วงในเมืองคิตเชเนอร์ รัฐออนแทรีโอ[61]แม้ว่าจำนวนผู้ประท้วงรวมทั้งหมดทั่วโลกจะไม่ชัดเจน แต่ประเมินว่ามี "หลายแสน"[62]จนกระทั่งถึง "2 ล้าน"[59][63]และตามผู้จัดการประท้วง มีคนมาชุมนุมประท้วงในเมือง 436 เมือง ในประเทศ 52 ประเทศ[64][65]

ต่อมา ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 บริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรจึงริเริ่มโครงการที่เรียกว่า GMO Answers (คำตอบ GMO) เพื่อตอบคำถามของผู้บริโภคเกี่ยวกับอาหารดัดแปรพันธุกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา[66]โครงการริเริ่มนี้มีผู้เชี่ยวชาญอาชีพต่าง ๆ ช่วยตอบคำถาม เริ่มตั้งแต่เกษตรกรธรรมดา เกษตรกรอินทรีย์ ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญจากอุตสาหกรรมเกษตรกรรม นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ แพทย์ นักโภชนาหาร และผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทที่เป็นผู้จัดตั้งองค์กรอุตสาหกรรม Council for Biotechnology Information ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้เงินทุนกับโครงการริเริ่ม[67]บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพผู้จัดตั้งรวมทั้ง BASF, ไบเออร์, Dow AgroSciences, DuPont Pioneer, มอนแซนโต และ Syngenta[68]

ในเดือนตุลาคม 2556 กลุ่มที่เรียกว่า European Network of Scientists for Social and Environmental Responsibility (เครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ยุโรปเพื่อความรับผิดชอบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ตัวย่อ ENSSER) ได้เผยแพร่คำแถลงการณ์ว่า ยังไม่มีมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารดัดแปรพันธุกรรม[69]ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ประมาณ 200 คนในสาขาต่าง ๆ ที่ลงลายเซ็นร่วมด้วยภายในอาทิตย์แรกที่เผยแพร่[51]และกลายเป็นคำแถลงการณ์ที่นิยมใช้โดยกลุ่มต่อต้าน GMO ต่าง ๆ[70][71][72]แต่นี่เป็นคำแถลงการณ์ที่ขัดแย้งกับมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ดังที่ AAAS และงานศึกษาต่าง ๆ ได้แจ้ง[1][2][3]

การทำลายทรัพย์สินและการข่มขู่

มีองค์กรปฏิบัติการหัวรุนแรงต่าง ๆ เช่น Earth Liberation Front, กรีนพีซ, และอื่น ๆ ที่ทำลายทรัพย์สินของผู้ที่ทำงานวิจัยสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม โดยทำกระจายไปทั่วโลก[73][74][75][76][77]ในประเทศสหราชอาณาจักรและประเทศยุโรปอื่น ๆ โดยปี พ.ศ. 2557 ผู้ประท้วงได้ทำลายงานทดลองพืชแล้ว 80 งานที่ทำโดยสถาบันวิชาการหรือรัฐ[78]ในบางกรณี ก็ยังมีคำข่มขู่และความรุนแรงกระทำต่อบุคคลและทรัพย์สินอีกด้วย[78]เช่นในปี พ.ศ. 2542 นักปฏิบัติการหัวรุนแรงวางเพลิงแล็บเทคโนโลยีชีวภาพที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต ทำลายงานที่ทำมานานหลายปี และทรัพย์สินมูลค่า 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 15 ล้านบาท)[79]

ในปี พ.ศ. 2526 กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้ฟ้องศาล มีผลยังการทดสอบภาคสนามของแบคทีเรียลดการเกาะของน้ำแข็ง (Ice-minus bacteria) ให้ล่าช้า[80]แต่ในปี พ.ศ. 2530 แบคทีเรียที่ว่านี้ ก็กลายเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (GMO) ที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมเป็นอย่างแรก[81]หลังจากสเปรย์แบคทีเรียลงในสวนสตรอว์เบอร์รีทดสอบในรัฐแคลิฟอร์เนีย แล้วตามด้วยการสเปรย์ลงบนต้นอ่อนมันฝรั่ง[82]ผู้ประท้วงก็ได้ถอนพืชที่ปลูกในสนามทดสอบทั้งสองออก แต่ก็มีการปลูกทดแทนในวันต่อมา[81]

ในปี พ.ศ. 2554 กรีนพีซต้องจ่ายค่าเสียหาย เมื่อสมาชิกได้บุกรุกเข้าไปในสถานที่ของ Australian scientific research organization (CSIRO) แล้วทำลายแปลงข้าวสาลีดัดแปรพันธุกรรมแปลงหนึ่งผู้พิพากษากล่าวว่า กรีนพีซไม่มีความจริงใจโดยใช้สมาชิกอ่อนอาวุโสเพื่อทำการ มีจุดประสงค์เพื่อไม่ให้โทษมาถึงตนแล้วให้คำพิพากษารอการลงโทษเป็นเวลา 9 เดือนแก่จำเลย[73][83][84]

วันที่ 8 สิงหาคม 2556 ผู้ประท้วงได้ถอนพืชในแปลงทดลองข้าวทองในประเทศฟิลิปปินส์[85][86]แต่มีอดีตผู้ปฏิบัติการหัวรุนแรงที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งคือนายมาร์ค ไลนาส[87]ได้เขียนบทความให้สำนักข่าว Slate ว่า กลุ่มย่อยนำโดยองค์กรหัวรุนแรงคือ Kilusang Magbubukid ng Pilipinas (KMP) เป็นตัวการทำลายทรัพย์สิน ในขณะที่ผู้ประท้วงอื่น ๆ ได้แต่ดูอย่างตระหนกตกใจ[88]ส่วนองค์กรการกุศลเพื่อคนตาบอด Helen Keller International แจ้งว่า ข้าวทองออกแบบมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการขาดวิตามินเอที่ทำให้เด็กตายหรือตาบอดเป็นแสน ๆ คนต่อปีในประเทศกำลังพัฒนา[89]

ใกล้เคียง

ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม ข้อต่อ ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1970 ข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล ข้อตกลงออสโล ข้อตกลงสำหรับเครื่องหมายพาสซีฟ ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ข้อตกลงพลาซา ข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ อีเอส-11/4

แหล่งที่มา

WikiPedia: ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม http://92.52.112.178/web/sa/saweb.nsf/GetInvolved/... http://www.canberratimes.com.au/act-news/gm-crop-d... http://www.farmweekly.com.au/news/agriculture/crop... http://www.smh.com.au/environment/greenpeace-activ... http://www.theland.com.au/news/agriculture/croppin... http://www.foodstandards.gov.au/_srcfiles/Review_o... http://www.foodstandards.gov.au/consumer/gmfood/se... http://www.foodstandards.gov.au/consumerinformatio... http://www.foodstandards.gov.au/consumerinformatio... http://www.foodstandards.gov.au/scienceandeducatio...