ประเภท ของ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา

ประกอบด้วยตำแหน่งต่างๆ ได้แก่

  1. ครูผู้ช่วย ในราชการส่วนท้องถิ่นมีตำแหน่ง ครูผู้ดูแลเด็ก (หรือ ครู ผดด.) และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (หรือ หน.ศผด.) ซึ่งเทียบเท่าครูผู้ช่วย
  2. ครู
  3. อาจารย์
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์
  5. รองศาสตราจารย์
  6. ศาสตราจารย์

ทั้งนี้ตำแหน่งตามข้อ 3-6 จะมีได้เฉพาะในสถานศึกษาที่สอนระดับปริญญา

ครูตามข้อ 1 และ 2 แบ่งระดับอัตราเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ดังนี้

  • ครูผู้ช่วย เป็นตำแหน่งที่บรรจุแต่งตั้งในระดับแรก (เทียบเท่าอาจารย์ 1 ระดับ 5 เดิม ปัจจุบันการบรรจุข้าราชการครูมิได้เริ่มที่ ซี 3-4 ดังแต่ก่อน)
  • ครู คศ. 1 (เทียบเท่าอาจารย์ 2 ระดับ 6)
  • ครู คศ. 2 เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการ แต่งตั้งจากครู ค.ศ. 1 (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 2 ระดับ 7 เดิม)
  • ครู คศ. 3 เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ แต่งตั้งจากครู ค.ศ. 2 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 8 เดิม)
  • ครู คศ. 4 เป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ แต่งตั้งจากครู ค.ศ. 2หรือ ค.ศ. 3 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 9 เดิม)
  • ครู คศ. 5 เป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ แต่งตั้งจากครู ค.ศ. 4 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าระดับ 10 ซึ่งในอดีตไม่เคยมีมาก่อน โดยได้รับการขยายระดับให้สูงขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ในมาตราที่ 39 ให้เทียบเท่าอธิบดีกรมฯ)

ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา

ประกอบด้วยตำแหน่งต่างๆ ได้แก่

  1. รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
  2. ผู้อำนวยการสถานศึกษา
  3. รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
  4. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
  5. ตำแหน่งที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

บุคลากรทางการศึกษาอื่น

ประกอบด้วยตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ และตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

ใกล้เคียง

ข้าราชการไทย ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ประเทศไทย) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ข้าราชสำนัก ข้าราชการ ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ