การบรรจุแต่งตั้ง ของ ข้าราชการพลเรือนสามัญ

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้

การสอบแข่งขัน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ซึ่ง ก.พ. กำหนดโดย หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004.1/ ว15 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551

อัตราเงินเดือน

ข้าราชการพลเรือนสามัญ ที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งจะได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดินในอัตราที่กำหนดไว้ ตามคุณวุฒิที่บรรจุแต่งตั้ง เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557[4] ซึ่งกำหนดอัตราเงินเดือนไว้ 34 คุณวุฒิ ประกอบด้วยคุณวุฒิหลัก เช่น

  • ปริญญาเอก บรรจุแต่งตั้งในประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือนระหว่าง 21,000 - 23,100 บาท
  • ปริญญาโท บรรจุแต่งตั้งในประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือนระหว่าง 17,500 - 19,250 บาท
  • ปริญญาตรี บรรจุแต่งตั้งในประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือนระหว่าง 15,000 - 16,500 บาท (ปริญญาตรี 5 ปี อัตราเงินเดือน 15,800 - 17,380 บาท)
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง บรรจุแต่งตั้งในประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน อัตราเงินเดือนระหว่าง 11,500 - 12,650 บาท
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพ บรรจุแต่งตั้งในประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน อัตราเงินเดือนระหว่าง 9,400 - 10,340 บาท

คุณสมบัติของบุคคลที่จะบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการ

ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังนี้

  • มีสัญชาติไทย
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
  • เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

และไม่มีลักษณะต้องห้ามลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน

ใกล้เคียง

ข้าราชการไทย ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ประเทศไทย) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ข้าราชสำนัก ข้าราชการ ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ