การแบ่งระดับข้าราชการ ของ ข้าราชการพลเรือนสามัญ

อินทรธนูข้าราชการพลเรือนสามัญในปัจจุบัน

ในอดีตระบบราชการ ใช้การแบ่งระดับข้าราชการในรูปแบบของระบบศักดินา กระทั่งมีการวางระบบข้าราชการพลเรือนสามัญ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 จึงเริ่มมีการวางรูปแบบระดับข้าราชการใหม่ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ

ยุคระบบชั้นยศ

เป็นการแบ่งระดับข้าราชการออกเป็นชั้นยศต่างๆ โดยข้าราชการพลเรือนสามัญจะแบ่งเป็น 5 ชั้น คือ ชั้นจัตวา ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก และชั้นพิเศษ ส่วนข้าราชการพลเรือนวิสามัญจะแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ วิสามัญประจำราชการ ชั้นจัตวา และวิสามัญกิตติมศักดิ์ ยึดระบบชั้นยศ ลำดับอาวุโส และคุณสมบัติของบุคคลเป็นหลัก (Rank in Person)[3]

ยุคมาตรฐานกลาง 11 ระดับ

เป็นการกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยการใช้ระบบจำแนกตำแหน่งตามลักษณะงาน คุณภาพและความยุ่งยากของงานแต่ละตำแหน่ง หรือที่เรียกว่าระบบ PC (Position Classification) โดยกำหนดเป็นระดับตำแหน่งเป็นมาตรฐานกลาง (Common level) 11 ระดับ หรือ "ซี" เพื่อไว้ใช้ในการเปรียบเทียบค่างานในแต่ละส่วนราชการให้เป็นไปตามมาตรฐานกลางนี้ เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 และเมื่อมีการปฏิรูปการทำงานในภาคราชการพลเรือน ให้ข้าราชการมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่กว้างขึ้น จึงได้มีการเปลี่ยนระดับมาตรฐานกลางใหม่ แต่มิได้มีการยกเลิกระบบ PC แต่อย่างใด ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

ยุคระบบลักษณะประเภทตำแหน่ง

ในปัจจุบันข้าราชการพลเรือนสามัญ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีมาตรฐานกลางแต่ละระดับตำแหน่งแยกออกจากกัน และได้ยกเลิกมาตรฐานกลาง 11 ระดับเดิมที่ไม่ได้แยกประเภทตำแหน่ง (ยกเลิก ซี) แต่ยังคงมีการกำหนดตำแหน่งตามลักษณะของงาน และความยุ่งยากซับซ้อนของงานแต่ละตำแหน่ง (ระบบจำแนกตำแหน่ง) ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีผลตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ได้แก่

  • ประเภทบริหาร
    • ระดับสูง
    • ระดับต้น
  • ประเภทอำนวยการ
    • ระดับสูง
    • ระดับต้น

  • ประเภทวิชาการ
    • ระดับทรงคุณวุฒิ
    • ระดับเชี่ยวชาญ
    • ระดับชำนาญการพิเศษ
    • ระดับชำนาญการ
    • ระดับปฏิบัติการ
  • ประเภททั่วไป
    • ระดับทักษะพิเศษ
    • ระดับอาวุโส
    • ระดับชำนาญงาน
    • ระดับปฏิบัติงาน

ใกล้เคียง

ข้าราชการไทย ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ประเทศไทย) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ข้าราชสำนัก ข้าราชการ ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ