ประวัติ ของ ข้าราชการพลเรือนสามัญ

ก่อนจะมีการจัดระบบการบริหารราชการ และระบบข้าราชการในประเทศไทย ได้กำหนดให้ข้าราชการมีบรรดาศักดิ์ มีลักษณะเป็นเป็นชั้นยศ (Rank) โดยแบ่งออกเป็น 9 ชั้น คือ

  • บรรดาศักดิ์ชั้น "นาย"
  • บรรดาศักดิ์ชั้น "พัน" หรือ "หมื่น"
  • บรรดาศักดิ์ชั้น "ขุน" (เป็นข้าราชการสัญญาบัตร)
  • บรรดาศักดิ์ชั้น "หลวง"
  • บรรดาศักดิ์ชั้น "พระ"
  • บรรดาศักดิ์ชั้น "พระยา"
  • บรรดาศักดิ์ชั้น "เจ้าพระยา"
  • ส่วนบรรดาศักดิ์ "สมเด็จเจ้าพระยา" นั้น ต้องยกเป็นตำแหน่งพิเศษออกไป เพราะพระราชทานพิเศษเฉพาะตัวจำนวนไม่มาก จึงเป็นกรณีพิเศษ

กระทั่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเป็นผู้วางรากฐานของข้าราชการพลเรือน ซึ่งทรงวางระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นครั้งแรก ให้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472[2] จึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันข้าราชการพลเรือน

การวางระเบียบข้าราชการพลเรือน เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกสรรผู้มีความรู้และความสามารถเข้ารับราชการ โดยกำหนดให้มีข้าราชการ 3 ประเภท คือ

  • ข้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่รัฐบาลบรรจุแต่งตั้งไว้ตามระเบียบฯ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ
    • ชั้นสัญญาบัตร (รองอำมาตย์ตรีขึ้นไป)
    • ชั้นราชบุรุษ
  • ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ คือ บุคคลที่รัฐบาลจ้างไว้ให้ทำการเฉพาะอย่าง หรือระยะเวลาชั่วคราว
  • เสมียนพนักงาน คือ ข้าราชการชั้นต่ำ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนตามอัตราที่ตั้งไว้

ใกล้เคียง

ข้าราชการไทย ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ประเทศไทย) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ข้าราชสำนัก ข้าราชการ ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ