คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ตัวย่อ: ครป. อังกฤษ: Campaign for Popular Democracy-CPD) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรณรงค์ให้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2521 ให้เป็นประชาธิปไตย ซึ่งได้ยุติบทบาทลงเมื่อปี พ.ศ. 2526 แต่เมื่อเกิดรัฐประหารโดยคณะ รสช. ขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 องค์กรสิทธิมนุษยชนองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และนักศึกษาจึงได้กลับมารวมตัวกันรื้อฟื้น ครป. ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือการติดตามและรณรงค์เพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2534 เป็นประชาธิปไตยครป. ได้จัดกิจกรรมทั้งทางวิชาการและทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบการประชุม สัมมนา อภิปราย การรณรงค์ และได้ร่วมกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และองค์กรประชาธิปไตยต่างๆ ต่อมาภายหลังเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พล.อ. สุจินดา คราประยูร ผู้นำ รสช. ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ครป.เป็นองค์กรหนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวระหว่างเดือน เมษายน-พฤษภาคม เพื่อคัดค้านการสืบทอดอำนาจของ รสช. แม้ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ สถานการณ์ทางการเมืองจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ได้รัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรีมาจาก ส.ส. แต่ ครป. เห็นว่าโครงสร้างของสังคมไทยยังมิได้เป็นประชาธิปไตยที่เอื้อต่อคนส่วนใหญ่อย่างแท้จริง โดยเฉพาะคนระดับพื้นฐาน อันเป็นเกษตรกรและแรงงาน ระบบรัฐสภายังผูกขาดโดยนักการเมือง ระบบราชการ และระบบการศึกษา ที่รวมศูนย์อยู่นอกเหนือการควบคุมตรวจสอบของประชาชน ยังผลให้ประชาชนไม่สามารถมีส่วนร่วมในทางการเมืองอย่างแท้จริง ครป. จึงดำเนินกิจกรรมโดยยึดแนวทาง อิสระไม่ฝักใฝ่ทางการเมืองกับพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง มุ่งการรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อไปสู่การปฏิรูปการเมืองทั้งระบบ โดยในปี พ.ศ. 2540 ครป. ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรประชาธิปไตย และองค์กรประชาชน ในนาม 30 องค์กรประชาธิปไตย ได้มีการใช้รูปแบบการเคลื่อนไหว "ชูธงเขียว เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" และรวบรวมประมวลข้อคิดเห็นในการร่าง รัฐธรรมนูญจากประชาชนทั่วประเทศ นำเสนอต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ และร่วมผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน จนผ่านรัฐสภาในที่สุดโครงสร้างของ ครป. ประกอบด้วยนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวทางด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนหลายท่าน ประกอบด้วยที่ปรึกษา, ที่ปรึกษาส่วนภูมิภาค, คณะกรรมการกลาง, คณะกรรมการกลางส่วนภูมิภาค, คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ, คณะกรรมการดำเนินงาน (ประกอบโดย ประธาน, รองประธานและเลขาธิการ, คณะกรรมการ และเหรัญญิก), และสำนักงานเลขาธิการ.ผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน ครป. อาทิ

ใกล้เคียง

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย) คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด คณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย) คณะกรรมการโอลิมปิกสากล คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่