คตินิยมสิทธิสตรี
คตินิยมสิทธิสตรี

คตินิยมสิทธิสตรี

คตินิยมสิทธิสตรี (อังกฤษ: feminism) เป็นกลุ่มขบวนการและอุดมการณ์ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อนิยาม จัดตั้งและปกป้องสิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมแก่สตรี[1][2] ซึ่งรวมถึงการแสวงจัดตั้งโอกาสที่เท่าเทียมแก่สตรีในการศึกษาและการจ้างงานด้วยชาร์ล ฟูรีเย นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นผู้ให้กำเนิดคำว่า "เฟมินิสม์" ในปี 1837[3] คำว่า "เฟมินิสม์" และ "เฟมินิสต์" ปรากฏครั้งแรกในฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ในปี 1872[4] บริเตนใหญ่ในคริสต์ทศวรรษ 1890 และสหรัฐอเมริกาในปี 1910[5][6], และพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดระบุว่า ปี 1894 เป็นปีที่ปรากฏคำว่า "เฟมินิสต์" ครั้งแรก และปี 1895 ปรากฏคำว่า "เฟมินิสม์" ครั้งแรก[7] ปัจจุบัน พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด นิยามเฟมินิสต์ว่าเป็น "ผู้สนับสนุนสิทธิและความเสมอภาคของสตรี"[8]ทฤษฎีคตินิยมสิทธิสตรี ซึ่งกำเนิดขึ้นจากขบวนการคตินิยมสิทธิสตรีเหล่านี้ มีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจความไม่เสมอภาคทางเพศสภาพโดยการสังเกตบทบาททางสังคมและประสบการณ์ชีวิตของสตรี มีการพัฒนาทฤษฎีในหลายสาขาวิชาเพื่อตอบสนองต่อประเด็นอย่างการประกอบสร้างเพศและเพศภาวะ[9][10] คตินิยมสิทธิสตรีในอดีตบางรูปแบบถูกวิจารณ์ว่า คำนึงถึงแต่มุมมองของสตรีผิวขาว ชนชั้นกลางและมีการศึกษาเท่านั้น ซึ่งนำไปสู่คตินิยมสิทธิสตรีรูปแบบเจาะจงเชื้อชาติหรือหลายวัฒนธรรม[11]การรณรงค์สิทธิสตรีของนักเคลื่อนไหวคตินิยมสิทธิสตรี เช่น ในกฎหมายสัญญา กรรมสิทธิ์และการออกเสียงเลือกตั้ง ขณะที่สนับสนุนความชอบธรรมในร่างกาย การตัดสินใจเรื่องส่วนบุคคลและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์แก่สตรี การรณรงค์คตินิยมสิทธิสตรีได้เปลี่ยนแปลงสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกตะวันตก โดยการบรรลุสิทธิออกเสียงเลือกตั้งของผู้หญิง ความเป็นกลางของเพศสภาพในภาษาอังกฤษ การจ่ายค่าจ้างเท่าเทียมแก่สตรี สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของสตรี รวมถึงการเข้าถึงการคุมกำเนิดและการทำแท้ง และสิทธิในการทำสัญญาและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์[12][13] นักคตินิยมสิทธิสตรีทำงานเพื่อปกป้องสตรีและเด็กหญิงจากความรุนแรงในครอบครัว การล่วงละเมิดทางเพศและการทำร้ายทางเพศ[14][15][16] พวกเขายังสนับสนุนสิทธิในที่ทำงาน รวมถึงการลาคลอด และต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ[12][13][17] แต่เพราะคตินิยมสิทธิสตรีแสวงความเท่าเทียมทางเพศ จึงมีนักคตินิยมสิทธิสตรีบางคนแย้งว่า การปลดปล่อยบุรุษก็เป็นส่วนที่จำเป็นของคตินิยมสิทธิสตรีเช่นกัน และว่าบุรุษเองก็ถูกทำร้ายจากลัทธิกีดกันทางเพศและบทบาทประจำเพศเช่นกัน[18]

ใกล้เคียง

คตินิยมเชื้อชาติในประเทศไทย คตินิยมสิทธิสตรี คตินิยมศิลปะญี่ปุ่น คตินิยมนักวิชาการ คตินิยมเชื้อชาติในสหรัฐ คตินิยมเชื้อชาติ คตินิยมสรรผสาน คตินิยมแบบโบลิบาร์ คตินิยมเส้นกั้นสี คตินิยมเปลี่ยนแนว