เชิงอรรถ ของ คริปโทเคอร์เรนซี

  1. ในระบบคอมพิวเตอร์ทนต่อความผิดพร่อง โดยเฉพาะระบบแบบกระจาย การทนความผิดพร่องแบบไบแซนไทน์ (Byzantine fault tolerance, BFT) เป็นลักษณะของระบบที่ทนต่อความขัดข้อง (failure) ในกลุ่มที่เรียกว่า Byzantine Generals' Problem[24]อันเป็นกรณีทั่วไปของปัญหา Two Generals' Problem ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าแก้ไม่ได้ความขัดข้องแบบไบแซนไทน์ พิจารณาว่าเป็นความขัดข้องแบบทั่วไปที่สุดและยากที่สุดในบรรดารูปแบบการขัดข้องทั้งหลายเทียบกับรูปแบบการขัดข้องที่เรียกว่า fail-stop ซึ่งเป็นแบบง่ายที่สุดคือเป็นการขัดข้องที่เกิดได้โดยวิธีเดียวคือสถานีในเครือข่ายล้มเหลว โดยสถานีอื่น ๆ จะตรวจจับได้ แต่ความขัดข้องแบบไบแซนไทน์ไม่มีข้อจำกัดเช่นนี้ คือ สถานีที่เกิดความขัดข้องอาจสร้างข้อมูลมั่ว ทำเป็นเหมือนข้อมูลถูกต้อง ซึ่งทำให้ทนต่อความผิดพร่องได้ยากมากความผิดพร่อง (fault) แบบไบแซนไทน์เป็นความผิดพร่องใดก็ได้ที่แสดงอาการต่าง ๆ ต่อผู้สังเกตการณ์ต่าง ๆ[25]ความขัดข้อง (failure) แบบไบแซนไทน์เป็นการเสียบริการของระบบเนื่องจากความผิดพร่องแบบไบแซนไทน์ ในระบบที่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้อง (consensus)[26]
  2. ปัญหาการใช้จ่ายเกินครั้ง (Double-spending) เป็นความผิดพลาดในการดำเนินงานของระบบเงินดิจิทัล ที่มีการใช้จ่ายเงินหน่วยเดียวกันสองครั้งหรือยิ่งกว่านั้นซึ่งเป็นไปได้เพราะหน่วยเงินเป็นไฟล์ดิจิทัลที่สามารถทำซ้ำหรือปลอมได้[28]เหมือนกับเงินปลอม ปัญหาการใช้จ่ายเกินครั้งจะทำให้เงินเฟ้อเพราะสร้างเงินปลอมที่ไม่เคยมีมาก่อนซึ่งลดค่าของเงิน ทำให้ไม่ได้ความเชื่อถือ ลดการใช้จ่ายและการเก็บเงินในสกุลนั้น ๆ
  3. 1 2 3 ระบบ/เกณฑ์วิธี/ฟังก์ชัน proof-of-work (POW, การพิสูจน์ว่าได้ทำงาน) เป็นวิธีการทางเศรษฐกิจเพื่อกีดกันการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการและการปฏิบ้ติโดยไม่ชอบอื่น ๆ ต่อระบบบริการ เช่น สแปม โดยบังคับให้ผู้ขอบริการต้องทำงานอะไรบางอย่าง ซึ่งปกติหมายถึงเวลาที่ต้องใช้ประมวลผลของคอมพิวเตอร์
  4. Proof-of-stake (PoS, การพิสูจน์ว่ามีส่วนได้ส่วนเสีย) เป็นขั้นตอนวิธีแบบหนึ่งที่เครือข่ายบล็อกเชนของคริปโทเคอร์เรนซีใช้เพื่อให้ถึงความเห็นพ้องแบบกระจายเป็นระบบที่ไม่เหมือน proof-of-work (PoW) ที่ใช้ในคริปโทเคอร์เรนซีเช่น บิตคอยน์ ที่ให้รางวัลแก่ผู้เข้าร่วมแก้ปัญหาวิทยาการรหัสลับที่ซับซ้อน ในการพิสูจน์ยืนยันธุรกรรมและสร้างบล็อกใหม่ ๆ (เรียกว่า ไมนิง คือการขุดหาเหรียญ)ในระบบ PoS ผู้สร้างบล็อกต่อไปจะได้รับเลือกอย่างกำหนดได้แบบสุ่มเทียม (pseudo-random) และโอกาสได้รับเลือกจะขึ้นอยู่กับความร่ำรวย ซึ่งก็คือความมีส่วนได้ส่วนเสียในระบบคริปโทเคอร์เรนซีแบบ PoS บล็อกหนึ่ง ๆ จะเรียกว่า ตีขึ้น (forged, อุปมาโดยช่างเหล็ก) หรือเรียกว่า ทำเหรียญ/พิมพ์เงิน (minted) ไม่ใช่ขุดหาเหรียญ/ไมนิงอนึ่ง ปกติแล้วเงินทั้งหมดจะสร้างขึ้นตั้งแต่ต้น และจำนวนเงินทั้งหมดจะไม่เปลี่ยนไปทีหลัง (แม้จะมีระบบ PoS ที่สร้างเงินขึ้นใหม่ได้เหมือนกัน)ดังนั้น ในรูปแบบพื้นฐานของ PoS จะไม่มีรางวัลในการสร้างบล็อกใหม่เหมือนกับในบิตคอยน์ ดังนั้น ผู้ตีบล็อกใหม่ขึ้นจะได้แต่ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม[31]
  5. ในการพนันออนไลน์ ยุติธรรมแบบพิสูจน์ได้ (provably fair) หมายถึง ขั้นตอนวิธีซึ่งสามารถวิเคราะห์และทวนสอบดูความยุติธรรมของผู้ให้บริการ[81]ซึ่งมักใช้ในการดำเนินการของกาสิโนออนไลน์ในระบบการพนันเช่นนี้ ผู้เล่นจะแทงพนันในเกมที่มีของผู้ให้บริการผู้จะตีพิมพ์วิธีเพื่อยืนยันพิสูจน์ธุรกรรมภายในเกมของตนซึ่งปกติใช้ขั้นตอนวิธีแบบโอเพนซอร์ซสำหรับกำหนดเลขตั้งของตัวสร้างเลขสุ่ม สำหรับสร้างเลขสุ่ม และสำหรับฟังก์ชันแฮช เมื่อเล่นเกมเสร็จแล้ว ผู้เล่นอาจใช้ขั้นตอนวิธีเหล่านี้ในการตรวจสอบการตอบสนองของเกมตามการตัดสินใจของผู้เล่นที่ได้ทำ และตรวจสอบผลที่ได้โดยใช้ขั้นตอนวิธี ตัวตั้งต้น ค่าแฮช และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงการเล่น

ใกล้เคียง

คริปโทเคอร์เรนซี คริปโทเคอร์เรนซีวอลเลต คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัย คริปโตไนต์ คริปโต.คอม อารีนา คริปโทแซนทิน คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส คริสโตเฟอร์ โนแลน คริสโตเฟอร์ โรบิน (ภาพยนตร์) คริสโตเฟอร์ วอลเคน

แหล่งที่มา

WikiPedia: คริปโทเคอร์เรนซี http://www.osc.gov.on.ca/en/SecuritiesLaw_csa_2017... http://gjis.journals.yorku.ca/index.php/gjis/artic... http://www.heg-fr.ch/EN/School-of-Management/Commu... http://altcoins.com/scamcoins http://www.americanbanker.com/bankthink/how-crypto... http://bitcoinmagazine.com/12839/big-picture-china... http://www.businessinsider.com/paul-krugman-says-b... http://www.coindesk.com/bitcoin-peer-reviewed-acad... http://coinmarketcap.com/all/views/all/ http://cryptocointalk.com/forum/178-scrypt-cryptoc...