ประวัติเกี่ยวกับสึนามิที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ของ คลื่นสึนามิ

แม้ว่าสึนามิจะเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ก็เป็นที่รู้จักกันดีว่าปรากฏการณ์สึนามิได้เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของโลกด้วยเช่นกัน และมีข้อมูลเก่าแก่มากมายหลายชิ้นที่พูดถึง "สึนามิ" ที่มีอำนาจทำลายล้างสูงนี้ ซึ่งเรียงตามลำดับการเกิดขึ้นก่อนหลังได้ดังต่อไปนี้[ต้องการอ้างอิง]

6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช

สึนามิที่เกิดขึ้นในช่วง 6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นคลื่นสึนามิใต้น้ำที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ อันเป็นผลจากการเลื่อนตัวของชั้นหินที่เรียกว่า "Storegga Slide" ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินใต้น้ำครั้งใหญ่ติดต่อกันเป็นระลอก  ๆ ยาวนานเป็นเวลาหลายหมื่นปี[ต้องการอ้างอิง]

เกาะซานโตรินี่

ในปี 1650 ก่อน ค.ศ. คลื่นสึนามิจากภูเขาไฟระเบิดในเกาะซานโตรินี่ (Santorini) ในช่วงระหว่างปี 1650 ก่อน ค.ศ. ถึง 1600 ก่อน ค.ศ. (เวลาที่แน่นอนยังถกเถียงกันอยู่) ภูเขาไฟในเกาะซานโตรินี่ของกรีซระเบิดขึ้น ทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำ "สึนามิ" ที่มีความสูงตั้งแต่ 100 เมตรถึง 150 เมตร ซึ่งถาโถมเข้าถล่มชายฝั่งทางด้านเหนือของเกาะครีต (Crete) ซึ่งอยู่ห่างออกไป 70 กิโลเมตร (45 ไมล์) พร้อมกวาดทำลายต้นไม้ทุกต้นที่ขึ้นอยู่ในแนวป่ามิโนอัน ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าเขียวชอุ่มรอบชายฝั่งทางเหนือของครีตจนหายวับไปหมดในชั่วพริบตา คาดกันว่าคลื่นใต้น้ำ "ซานโตรินี่" คือแหล่งข้อมูลที่ทำให้เพลโต (Plato) เกิดแรงบันดาลใจในการเขียนวรรณกรรมเป็นนวนิยายดังเรื่องแอตแลนติส (Atlantis) และนักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่า คลื่นสึนามิ "ซานโตรินี่" ที่เกิดขึ้นครั้งนี้คือแหล่งที่มาสำคัญที่นำไปสู่การบันทึกถึงเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำท่วมโลก (Great Flood) ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทั้งของชาวยิว คริสเตียน และชาวอิสลาม

เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส

คลื่นใต้น้ำที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวที่เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ในปี ค.ศ. 1755 ชาวโปรตุเกสจำนวนหลายหมื่นคนรอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ลิสบอนในปี ค.ศ. 1755 แต่กลับต้องเสียชีวิตไปทันที ด้วยคลื่นสึนามิที่โถมเข้าทำลายหลังเกิดแผ่นดินไหวได้เพียงไม่กี่นาที เนื่องจากคนจำนวนมากหนีภัยแผ่นดินไหวออกไปยังแนวชายฝั่งทะเล ด้วยเชื่อว่าเป็นสถานที่ที่มีความปลอดภัย พ้นอันตรายจากไฟไหม้ และการร่วงหล่นของเศษสิ่งของต่าง ๆ ได้ เมื่อเกิดอ๊าฟเตอร์ช็อก ก่อนหน้าที่กำแพงน้ำที่สูงใหญ่ จะถาโถมเข้าถล่มท่าเรือบนชายฝั่งนั้น น้ำทะเลได้เหือดแห้งลดระดับลงไปมากจนซากเรือสินค้าเก่า ๆ ที่ปรักหักพังและหลงลืมกันไปแล้ว โผล่ขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน

แผ่นดินไหว สึนามิ และไฟไหม้ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้สังหารชาวเมืองลิสบอนไปมากกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนชาวเมืองทั้งหมดประมาณ 275,000 คน บันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสำรวจทางทะเลของ วาสโก ดา กามา และ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ที่เก็บไว้ก็สูญหายไป ตึกรามอาคารต่าง ๆ จำนวนนับไม่ถ้วนถูกทำลาย (รวมถึงตัวอย่างส่วนใหญ่ของสถาปัตยกรรมแบบ Manueline ของโปรตุเกส) การพังพินาศของลิสบอนยังส่งผลให้ความทะเยอทะยานด้านการล่าอาณานิคมของจักรวรรดิโปรตุเกสสะดุดลงด้วย ชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 พยายามที่จะเข้าใจภัยพิบัติที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบของศาสนา และระบบความเชื่อในหลักแห่งเหตุผล นักปรัชญาในยุคส่องสว่าง (the Enlightenment) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วอลแตร์ ได้บันทึกเรื่องถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แนวความคิดหลักปรัชญาของการทำให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ดังเช่นที่อธิบายโดยนักปรัชญา อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) ในหนังสือ The Observation on the Feeling of the Beautiful and Sublime นั้นก็ได้แรงบันดาลใจบางส่วนมาจากความพยายามที่จะเข้าใจถึงความร้ายกาจของเหตุการณ์แผ่นดินไหว และคลื่นใต้น้ำสึนามิ ที่ลิสบอนครั้งนี้

สัตว์จำนวนมากรู้โดยสัญชาตญาณถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น และได้หนีภัยขึ้นไปยังพื้นที่สูง ก่อนหน้าที่น้ำทะเลจะซัดเข้าฝั่ง แผ่นดินไหวที่ลิสบอนเป็นกรณีแรกที่มีการบันทึกไว้เป็นเอกสารหลักฐาน เกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าวในทวีปยุโรป ปรากฏการณ์ในลักษณะนี้ ได้รับการบันทึกไว้เช่นกันในศรีลังกาในปี ค.ศ. 2004 เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย นักวิทยาศาสตร์บางรายสงสัยว่าสัตว์ต่าง ๆ อาจมีความสามารถในการรับสัญญาณคลื่นเรย์ลีความถี่ต่ำ (subsonic Rayleigh waves) ได้จากการไหวของแผ่นดินในช่วงเวลาไม่กี่นาที หรือไม่กี่ชั่วโมง ก่อนที่คลื่นใต้น้ำจะพัดกระหน่ำเข้าสู่ชายฝั่ง

เกาะกรากะตัว

ภูเขาไฟบนเกาะกรากะตัว ในประเทศอินโดนีเซีย เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงเมื่อปี ค.ศ. 1883 พ่นหินเหลวละลายใต้ปล่องภูเขาไฟออกมาจำนวนมาก เกิดโพรงขนาดใหญ่ขึ้นใต้ดิน ทำให้พื้นแผ่นดินที่อยู่เบื้องบนและพื้นทะเลยุบตัวลง ส่งผลให้เกิดระลอกคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ขึ้น บางลูกมีความสูงกว่า 40 เมตรจากระดับน้ำทะเล ระลอกคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นจากการระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัวในอินโดนีเซียครั้งนี้เคลื่อนตัวถาโถมเข้าสู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุทรแปซิฟิก, ชายฝั่งตะวันตกของอเมริกา, อเมริกาใต้, และบริเวณที่ห่างไกลออกไปอีกในช่องแคบอังกฤษ ส่วนพื้นที่ชายฝั่งใกล้เคียงในเกาะชวาและสุมาตรา กระแสน้ำทะเลไหลบ่าท่วมทะลักเข้าไปถึงพื้นแผ่นดินภายในซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลเข้าไปเป็นระยะทางหลายไมล์ สร้างความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงแก่สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติครั้งนี้ และทำให้ไม่มีการเข้าไปตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวอีกเลย ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้ได้กลายเป็นเขตป่าทึบมีชื่อว่า เขตอนุรักษ์ธรรมชาติอูจังกูลอน (Ujung Kulon nature reserve)

สึนามิแปซิฟิก

ค.ศ. 1946 - สึนามิแปซิฟิก (Pacific Tsunami) แผ่นดินไหวในหมู่เกาะอาลิวเชียน ในปี ค.ศ. 1946 ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่ถาโถมเข้าสู่ฮาวายและอะแลสกา ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 165 คน มหันตภัยสึนามิที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นส่งผลให้เกิดการก่อสร้างระบบเตือนภัยสึนามิสำหรับบรรดาประเทศที่ตั้งอยู่ตามบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกขึ้นในปี ค.ศ. 1949

สึนามิชิลี

ค.ศ. 1960 - สึนามิชิลี (Chilean tsunami) แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ชิลี (The Great Chilean Earthquake) แมกนิจูด 9.5 ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ เกิดขึ้นบริเวณนอกชายฝั่งตอนกลางทางใต้ของประเทศชิลี ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่สร้างความวิบัติหายนะอย่างรุนแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20[ต้องการอ้างอิง] คลื่นสึนามิเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมด ขนาดคลื่นมีความสูงถึง 25 เมตร เมื่อคลื่นสึนามิเคลื่อนตัวเข้าถล่มโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น หลังจากเกิดแผ่นดินไหวนานเกือบ 22 ชั่วโมงนั้น ขนาดความสูงของคลื่นที่มีการบันทึกไว้ระบุว่าสูงถึง 10 ฟุตเหนือระดับกระแสน้ำ ประมาณการณ์ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นตามมามีจำนวนระหว่าง 490 - 2,290 ราย[ต้องการอ้างอิง]

สึนามิกู๊ดฟรายเดย์

ค.ศ. 1964 - สึนามิกู๊ดฟรายเดย์ (Good Friday Tsunami) แผ่นดินไหวกู๊ดฟรายเดย์ขนาด 9.2 ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1964 ก่อให้เกิดคลื่นสินามิถาโถมเข้าถล่มชายฝั่งอะลาสก้า, บริติช โคลัมเบีย, แคลิฟอร์เนียและชายฝั่งเมืองแปซิฟิกนอร์ธเวสต์ในสหรัฐอเมริกา ทำให้ประชาชนเสียชีวิต 122 คน คลื่นสึนามิมีความสูงถึง 6 เมตร ในเมือง Crescent City ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปในแคลิฟอร์เนียมีผู้เสียชีวิต 11 คน[ต้องการอ้างอิง]

สึนามิจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย

ภาพแสดงสึนามิเมื่อปลายปี ค.ศ. 2004

ค.ศ. 2004 - สึนามิจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย คลื่นสึนามิครั้งแรกในประเทศไทยเกิดจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ระลอกคลื่นยักษ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตล่าสุดจำนวนกว่า 165,000 ราย[ต้องการอ้างอิง] (มากกว่า 105,000 รายเสียชีวิตในอินโดนีเซีย[ต้องการอ้างอิง]) คลื่นสึนามิได้ถาโถมเข้าถล่มและคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หรือบริเวณที่ใกล้กับจุดเกิดแผ่นดินไหว เช่น อินโดนีเซีย, ไทย, และพื้นที่บริเวณชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย ไปจนถึงพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลออกไปหลายพันกิโลเมตรในบังกลาเทศ, อินเดีย, ศรีลังกา, หมู่เกาะมัลดีลฟ์, และแม้กระทั่งโซมาเลีย, เคนยา, และแทนซาเนีย ซึ่งตั้งอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออก[ต้องการอ้างอิง]

ประเทศในแถบมหาสมุทรอินเดียเหล่านี้ ยังไม่มีระบบเตือนภัยคลื่นสึนามิที่สมบูรณ์พอดังเช่นประเทศในภูมิภาคมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนหนึ่งเนื่องจากไม่มีภัยพิบัติที่เกิดจากคลื่นยักษ์ในภูมิภาคมานานแล้ว นับตั้งแต่เกิดคลื่นสึนามิจากการระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัวในปี ค.ศ. 1883 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 36,000 คน [ต้องการอ้างอิง] ภัยพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดียล่าสุดนี้ส่งผลให้ยูเนสโกและองค์การระหว่างประเทศหลายแห่งออกมาเคลื่อนไหว เรียกร้องให้มีการจัดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิโลกขึ้น[ต้องการอ้างอิง]

สึนามิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สึนามิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  • วันเวลา - สถานที่เกิด
  • 26 สิงหาคม ค.ศ. 1883 - ภูเขาไฟกรากะตัวระเบิด
  • 16 สิงหาคม ค.ศ. 1976 - รอบอ่าวโมโร (เมืองโคตาบาโต) ประเทศฟิลิปปินส์
  • 26 ธันวาคม ค.ศ. 2004 - หมู่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
  • 25 ตุลาคม ค.ศ. 2010 - หมู่เกาะเมินตาวัย ประเทศอินโดนีเซีย
  • 11 เมษายน ค.ศ. 2012 - หมู่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ขนาด 8.9 และ 8.3 ประเทศไทยสามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ เกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็ก และไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย
  • 28 กันยายน ค.ศ. 2018 - เกาะซูลาเวซี ประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่และมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

สึนามิในเอเชียใต้

สึนามิในเอเชียใต้[5]

  • วันเวลา - สถานที่เกิด
  • ค.ศ. 1524 - ใกล้เมือง Dabhol รัฐมหารัชตะ ประเทศอินเดีย
  • 2 เมษายน ค.ศ. 1762 - ชายฝั่งอาระคัน ประเทศพม่า
  • 16 มิถุนายน ค.ศ. 1819 - Rann of Kachchh รัฐกุจาราช ประเทศอินเดีย
  • 31 ตุลาคม ค.ศ. 1847 - หมู่เกาะนิโคบาร์ใหญ่
  • 31 ธันวาคม ค.ศ. 1881 - หมู่เกาะคาร์นิโคบาร์
  • 26 สิงหาคม ค.ศ. 1883 - ภูเขาไฟกรากะตัวระเบิด
  • 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945 - ชายฝั่ง Mekran บาลูจิสถาน

...

สึนามิในอเมริกาและแคริบเบียน

สึนามิอื่น ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

สึนามิที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมาของโลกยังมีอีกมากมาย ที่สำคัญ ๆ ประกอบด้วย

  • ครั้งที่ 1 20 มกราคม ค.ศ. 1607: ประชาชนจำนวนหลายพันคนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งช่องแคบอังกฤษ (Bristol Channel) จมน้ำเสียชีวิต ขณะที่บ้านเรือนที่อยู่อาศัยและหมู่บ้านหลายแห่งถูกน้ำพัดกวาดหายลงไปในทะเลจากกระแสน้ำที่เอ่อท่วมอย่าวรวดเร็วซึ่งอาจเป็นคลื่นสึนามิ สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในครั้งนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดจากสาเหตุ 2 ประการที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันโดยมิได้คาดหมายมาก่อน คือ สภาพดินฟ้าอากาศที่วิปริตอย่างรุนแรงและช่วงกระแสน้ำทะเลที่หนุนขึ้นสูงสุด [ต้องการอ้างอิง]
  • ครั้งที่ 2 มหันตภัยสึนามิครั้งเลวร้ายที่สุดอีกครั้งหนึ่ง ถาโถมเข้าถล่มหมู่บ้านหลายหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่งเกาะซานริกู (Sanriku) ประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1896 คลื่นที่มีความสูงกว่าตึก 7 ชั้น (ประมาณ 20 เมตร) พร้อมกับกวาดกลืนชีวิตผู้คนจำนวน 26,000 คนลงสู่ท้องทะเล [ต้องการอ้างอิง]
  • ครั้งที่ 3 ค.ศ. 1929: เกิดแผ่นดินเลื่อนตัวใต้ทะเลที่หมู่เกาะ Aleutian คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นถาโถมเข้าสู่เกาะฮาวายกลืนชีวิตผู้คนไป 159 ราย (ขณะที่อีก 5 ราย เสียชีวิตในอะลาสก้า) [ต้องการอ้างอิง]
  • ครั้งที่ 4 ค.ศ. 1958: สึนามิที่เกิดขึ้นในอ่าว Lituya Bay รัฐอะลาสก้า เป็นสึนามิขนาดมหึมาขนาดเมก้าสึนามิ เกิดจากน้ำแข็งถล่ม เป็นสึนามิเฉพาะท้องถิ่น เนื่องจากพื้นที่ได้รับผลกระทบจำกัดวงอยู่เฉพาะในอ่าว แต่ได้รับการบันทึกไว้ว่าเป็นคลื่นสึนามิที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีความสูงมากกว่า 500 เมตร ( 1,500 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล คลื่นที่เกิดไม่สามารถเคลื่อนตัวออกไปไกลจากแนวฟยอร์ด (fjord) ที่ล้อมรอบอยู่ได้ แต่ก็ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 รายจากเรือที่เข้าไปทำการประมงอยู่ในบริเวณนั้น และพลานุภาพของมันก็ทำให้พื้นดินบริเวณนั้นถูกกลืนหาย

ไปเกือบหมด และมีแผ่นดินบางส่วนจมลงไปใต้น้ำ [ต้องการอ้างอิง]

  • ครั้งที่ 5 ค.ศ. 1976: 16 สิงหาคม (เที่ยงคืน) เกิดคลื่นสึนามิเข้าถล่มภูมิภาครอบอ่าวโมโร (เมืองโคตาบาโต) ประเทศฟิลิปปินส์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 5,000 ราย [ต้องการอ้างอิง]
  • ครั้งที่ 6 ค.ศ. 1983: ประชาชนจำนวน 104 รายในภาคตะวันตกของประเทศญี่ปุ่นเสียชีวิตจากคลื่นสึนามิที่โถมเข้าถล่มหลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในพื้นที่ใกล้เคียง [ต้องการอ้างอิง]
  • ครั้งที่ 7 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1998: สึนามิปาปัวนิวกินีคร่าชีวิตผู้ชนจำนวนประมาณ 2,200 ราย หลังจากที่เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1ในบริเวณ 15 กิโลเมตร นอกชายฝั่งปาปัวนิวกินี และจากห่างจากเวลานั้นเพียงแค่ 10 นาที คลื่นยักษ์สูง 12 เมตรก็เคลื่อนเข้าถล่มชายฝั่ง ในขณะที่ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวยังไม่สามารถที่จะก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ขนาดใหญ่ดังกล่าวได้โดยตรงแต่การที่เกิดคลื่นยักษ์ได้นั้น เชื่อกันว่า เนื่องจากแผ่นดินไหวส่งผลให้แผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเลื่อนตัว และเหตุการณ์หลังนี้ทำให้เกิดสึนามิขึ้น สองหมู่บ้านของปาปัวนิวกินีคือ อารอป และวาราปู ถูกทำลายเรียบเป็นหน้ากลอง [ต้องการอ้างอิง]

การทำนายว่าจะเกิดเป็นคลื่นสึนามิ

มีความเป็นไปได้ว่าเป็นคลื่นสึนามิในบริเวณ[6]

ใกล้เคียง

คลื่น คลื่นความเย็นในทวีปยุโรป พ.ศ. 2555 คลื่นความร้อนในเอเชีย พ.ศ. 2566 คลื่นชีวิต (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2560) คลื่นวิทยุ คลื่นไหวสะเทือน คลื่นกระแทก คลื่นความโน้มถ่วง คลื่นเสน่หา คลื่นความร้อนในประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2561

แหล่งที่มา

WikiPedia: คลื่นสึนามิ http://news.mthai.com/general-news/161336.html http://shop.nationalgeographic.com/ngs/product/boo... http://blogs.nature.com/barbaraferreira/2011/04/17... http://www.perseus.tufts.edu/cgi-bin/ptext?lookup=... http://www.geophys.washington.edu/tsunami/general/... http://www.geophys.washington.edu/tsunami/general/... http://erh.noaa.gov/er/phi/reports/tsunami.htm http://www.pmel.noaa.gov/tsunami-hazard/ http://www.prh.noaa.gov/pr/ptwc/ http://tsunami.gov/