ความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบัค
ความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบัค

ความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบัค

ลงนามความตกลงหยุดยิง กองทัพรักษาสันติภาพรัสเซียประจำการอยู่ในบริเวณนี้[8]ความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบัค เป็นความขัดแย้งทางชาติพันธุ์[43][44] และทางดินแดน[45] ระหว่างอาร์มีเนียกับอาเซอร์ไบจานเกี่ยวกับพื้นที่พิพาทนากอร์โน-คาราบัคและเขตโดยรอบ 7 เขตซึ่งในทางพฤตินัยถูกสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค (อาร์ทซัค) ซึ่งประกาศตัวเป็นเอกราชควบคุม แต่ในทางนิตินัยได้รับการรับรองจากนานาชาติว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจาน ความขัดแย้งมีจุดเริ่มต้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภายใต้สหภาพโซเวียต โจเซฟ สตาลิน ตัดสินใจกำหนดให้ภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคเป็นแคว้นปกครองตนเองของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน[46] ความขัดแย้งในปัจจุบันเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2531 เมื่อชาวอาร์มีเนียในนากอร์โน-คาราบัคเรียกร้องให้มีการโอนนากอร์โน-คาราบัคจากสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจานไปขึ้นกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนียแทน ความขัดแย้งดังกล่าวลุกลามกลายเป็นสงครามเต็มรูปแบบในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990ข้อตกลงหยุดยิงที่ได้รับการลงนามใน พ.ศ. 2537 สร้างเสถียรภาพในระดับหนึ่งเป็นเวลาสองทศวรรษ แต่สถานการณ์ก็แย่ลงอย่างมีนัยสำคัญร่วมกับความไม่พอใจกับสภาพที่เป็นอยู่มากขึ้นเรื่อย ๆ ของอาเซอร์ไบจาน ตรงข้ามกับความพยายามทำให้สภาพนั้นมั่นคงถาวรของอาร์มีเนีย[47] ความขัดแย้งที่เพิ่มระดับความรุนแรงเป็นเวลาสี่วันในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 กลายเป็นการละเมิดข้อตกลงหยุดยิงที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดจนกระทั่งวิกฤตการณ์ใน พ.ศ. 2563[48]

ความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบัค

สถานะ

ลงนามความตกลงหยุดยิง กองทัพรักษาสันติภาพรัสเซียประจำการอยู่ในบริเวณนี้[8]

วันที่สถานที่สถานะดินแดนเปลี่ยนแปลง
วันที่20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 – ปัจจุบัน
สถานที่เส้นติดต่อ (นากอร์โน-คาราบัค), ชายแดนอาร์มีเนีย–อาเซอร์ไบจาน
สถานะ

ลงนามความตกลงหยุดยิง กองทัพรักษาสันติภาพรัสเซียประจำการอยู่ในบริเวณนี้[8]

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
การเป็นเอกราชของสาธารณรัฐอาร์ทซัค (ส่วนใหญ่เป็นชาวอาร์มีเนีย) แล้วรวมกับประเทศอาร์มีเนีย (โดยพฤตินัย)[18] (1994–2020)
สถานที่ เส้นติดต่อ (นากอร์โน-คาราบัค), ชายแดนอาร์มีเนีย–อาเซอร์ไบจาน
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 – ปัจจุบัน
ดินแดนเปลี่ยนแปลง การเป็นเอกราชของสาธารณรัฐอาร์ทซัค (ส่วนใหญ่เป็นชาวอาร์มีเนีย) แล้วรวมกับประเทศอาร์มีเนีย (โดยพฤตินัย)[18] (1994–2020)

ใกล้เคียง

ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยง ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งนิยมรัสเซียในประเทศยูเครน พ.ศ. 2557 ความขัดแย้งภายในพม่า ความขัดแย้งที่ซันริซูกะ ความขัดแย้งในรัฐกะชีน ความขัดแย้งในกัมพูชา พ.ศ. 2354 ความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบัค ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557 ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบัค http://mercury.ethz.ch/serviceengine/Files/ISN/873... http://www.naharnet.com/stories/en/150603 http://www.euronews.net/2009/11/28/winds-of-change... http://adst.org/2013/08/stalins-legacy-the-nagorno... http://www.c-r.org/downloads/17_Nagorny_Karabakh.p... //doi.org/10.1007%2FBF00232663 //doi.org/10.1080%2F00263209808701209 //doi.org/10.1080%2F13518049208430053 //doi.org/10.1080%2F713656168 //doi.org/10.1108%2FOXAN-DB223736