ความขัดแย้งภายในพม่า
ความขัดแย้งภายในพม่า

ความขัดแย้งภายในพม่า

สนับสนุนโดย:กลุ่มพันธมิตร:
UWSP/UWSA กองทัพสหภาพสหพันธ์ 20,000[22]–25,000[23] ~10,000ไม่ทราบจำนวนของอีกหลายกลุ่มพลเรือน 600,000–1,000,000 คนพลัดถิ่น[40]ความขัดแย้งภายในพม่า หมายถึง ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศพม่าปัจจุบัน ซึ่งมีมาตั้งแต่ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. 2491 รัฐบาลกลางหลายชุดต่อกันมาได้สู้รบกับกบฏเชื้อชาติและการเมืองไม่จบสิ้น ในการก่อการกำเริบช่วงแรก ๆ เกิดจากพวกนิยมซ้าย "หลายสี" ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า และโดยสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กบฏเชื้อชาติอื่นปะทุขึ้นเฉพาะช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 หลังรัฐบาลกลางปฏิเสธรัฐบาลแบบสหพันธรัฐ อย่างไรก็ดี นับแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา การก่อการกำเริบด้วยอาวุธที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองค่อย ๆ หมดไปเป็นส่วนใหญ่ แต่การก่อการกำเริบด้านเชื้อชาติยังคงอยู่ และยังไม่มีทีท่ายุติการก่อการกำเริบเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนหรือถูกต่างชาติบงการ ทำให้การปิดประเทศทรุดหนัก ความสงสัยและความกังวลในหมู่ชาวพม่าทั้งชนกลุ่มน้อยในประเทศและต่างประเทศ อังกฤษบางกลุ่มสนับสนุนกะเหรี่ยง ปากีสถานตะวันออก (บังกลาเทศปัจจุบัน) หนุนหลังมุสลิมโรฮีนจาตามแนวชายแดนกับการหนุนหลังของตะวันออกกลาง อินเดียกล่าวกันว่าข้องเกี่ยวกับกะชีนและกะเหรี่ยง จีนสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์พม่า (ภายหลังคือ พวกว้า) กบฏนากและกะชีน สหรัฐสนับสนุนก๊กมินตั๋ง และไทยสนับสนุนกลุ่มกบฏหลายกลุ่ม เพื่อสร้างรัฐหรือพื้นที่กันชน[41] ก่อนการหยุดยิง กองทัพที่มีชาวพม่าเป็นส่วนใหญ่ได้ดำเนินการทัพในฤดูแล้งทุกปีแต่คว้าน้ำเหลว พวกกบฏจะกลับมาทุกครั้งเมื่อกองทัพถอนกำลังกลับไปรัฐบาลกลางที่พม่าครอบงำ (พลเรือนหรือคล้ายทหาร) ไม่สามารถบรรลุความตกลงทางการเมืองได้แม้เป้าหมายของการก่อการกำเริบทางเชื้อชาติสำคัญส่วนมาก (รวมทั้ง KNU) คือ การปกครองตนเองมิใช่การแยกตัวเป็นเอกราช ปัจจุบัน รัฐบาลได้ลงนามความตกลงหยุดยิงอย่างอึดอัดกับกลุ่มก่อการกำเริบส่วนใหญ่ แต่กองทัพยังไม่ได้รับความเชื่อใจจากประชากรท้องถิ่น กองทัพถูกกล่าวหาอย่างกว้างขวางว่าปฏิบัติต่อประชากรท้องถิ่นอย่างเลวร้ายแต่ไม่ถูกลงโทษ และถูกมองว่าเป็นกองกำลังยึดครองในภูมิภาคเชื้อชาติต่าง ๆสมัยปัจจุบัน ความขัดแย้งนั้นเป็นไปเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารซึ่งปกครองประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ถึง 2554 ความขัดแย้งนี้เป็นสงครามที่กำลังดำเนินอยู่เก่าแก่ที่สุดในโลก[42] และได้รับความสนใจจากนานาชาติอันเป็นผลจากการก่อการกำเริบ 8888 ใน พ.ศ. 2531, งานของนักเคลื่อนไหว ออง ซาน ซูจี, การประท้วงต่อต้านรัฐบาลในปลาย พ.ศ. 2550 และความเสียหายอันเกิดขึ้นจากพายุไซโคลนนาร์กิส ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 80,000 คน และสูญหายอีก 50,000 คน ในกลาง พ.ศ. 2551

ความขัดแย้งภายในพม่า

สถานะ กำลังดำเนินอยู่
  • ความขัดแย้งด้านเชื้อชาติขนาดใหญ่ในรัฐกะชีน รัฐกะยา รัฐกะเหรี่ยง รัฐยะไข่และรัฐฉาน
  • มีหลายกลุ่มลงนามหยุดยิงตั้งแต่ปี 2531[2]
  • รัฐธรรมนูญเมียนมาร์ พ.ศ. 2551 ตั้งเขตปกครองตนเองสำหรับชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์[3]
  • เกิดความรุนแรงเป็นระยะระหว่างกำลังรัฐบาลและผู้ก่อการกำเริบที่กำลังดำเนินอยู่
วันที่สถานที่สถานะ
วันที่2 เมษายน 2491[1] – ปัจจุบัน
(72 ปี 264 วัน)
สถานที่ประเทศพม่า
สถานะกำลังดำเนินอยู่
  • ความขัดแย้งด้านเชื้อชาติขนาดใหญ่ในรัฐกะชีน รัฐกะยา รัฐกะเหรี่ยง รัฐยะไข่และรัฐฉาน
  • มีหลายกลุ่มลงนามหยุดยิงตั้งแต่ปี 2531[2]
  • รัฐธรรมนูญเมียนมาร์ พ.ศ. 2551 ตั้งเขตปกครองตนเองสำหรับชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์[3]
  • เกิดความรุนแรงเป็นระยะระหว่างกำลังรัฐบาลและผู้ก่อการกำเริบที่กำลังดำเนินอยู่
สถานที่ ประเทศพม่า
วันที่ 2 เมษายน 2491[1] – ปัจจุบัน
(72 ปี 264 วัน)

ใกล้เคียง

ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยง ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งนิยมรัสเซียในประเทศยูเครน พ.ศ. 2557 ความขัดแย้งภายในพม่า ความขัดแย้งที่ซันริซูกะ ความขัดแย้งในรัฐกะชีน ความขัดแย้งในกัมพูชา พ.ศ. 2354 ความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบัค ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557 ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความขัดแย้งภายในพม่า http://www.janes.com/article/53155/wa-army-fieldin... http://www.nytimes.com/2012/01/13/world/asia/myanm... http://remilitari.com/guias/victimario4.htm http://www.scmp.com/news/china/diplomacy-defence/a... http://www.peri.umass.edu/fileadmin/pdf/dpe/modern... http://www.defenseworld.net/news/16368/Russia__Mya... http://www.burmalibrary.org/docs13/BCES-BP-01-ceas... http://www.drugtext.org/library/books/McCoy/book/6... http://www.eurasianet.org/node/85171 http://www.irrawaddy.org/burma/47-govt-troops-kill...