กะเหรี่ยง ของ ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยง

แผนที่กลุ่มชาติพันธุ์ตามภาษาในพม่า ชาวกะเหรี่ยงอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนใต้ และตามแนวชายแดนไทย

ชาวกะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรราว 5–7 ล้านคน มีภาษาพูดที่เป็นสำเนียงต่าง ๆ มากถึงราว 20 สำเนียง โดยกลุ่มที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดคือกะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโปว์ กะเหรี่ยงกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ กะยาห์ บเว กะยิน เบร ปะโอ เป็นต้น[7] ภาษากะเหรี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภาษาทิเบต-พม่า และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต

ชาวกะเหรี่ยงมาถึงดินแดนที่เป็นประเทศพม่าในปัจจุบันเมื่อราว พ.ศ. 43 เชื่อว่าชาวกะเหรี่ยงเดินทางมาจากบริเวณมองโกเลียและลงใต้มายังบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง อิรวดี และสาละวิน คำว่ากะเหรี่ยงนั้นเป็นคำที่ชาวไตและชาวพม่าใช้เรียก หมายถึงคนที่อยู่ตามภูเขาและป่า แต่พวกเขาไม่เคยเรียกตัวเองว่ากะเหรี่ยง

กะเหรี่ยงไม่ใช่กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน[8][9] กะเหรี่ยงต่างกลุ่มไม่ได้มีประวัติศาสตร์ร่วมกันภายในราชอาณาจักรก่อนที่พม่าจะเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ชาวกะเหรี่ยงบางคนทำหน้าที่เป็นเสนาบดีภายในราชอาณาจักรอื่น ๆ เช่น ราชอาณาจักรหงสาวดี ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ชาวกะเหรี่ยงอื่น ๆ อยู่ในป่าตามแนวชายแดนไทย ชาวกะเหรี่ยง 20% เป็นชาวคริสต์ ในขณะที่อีก 75% เป็นชาวพุทธ มีชาวกะเหรี่ยงกลุ่มเล็ก ๆ ที่นับถือผีอยู่ในพื้นที่ที่ราบลุ่มแม่น้ำ และมีกลุ่มเล็ก ๆ เรียกกะเหรี่ยงดำเป็นมุสลิม[10] กะเหรี่ยงโปว์คิดเป็น 80% ของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมด และเป็นชาวพุทธเป็นส่วนใหญ่[11] ผู้พูดภาษากะเหรี่ยงโปว์อยู่ในที่ราบตอนกลางและตอนล่างของพม่า และมีระบบสังคมคล้ายชาวมอญ ทำให้บางครั้งเรียกกะเหรี่ยงมอญ (Talaing Kayin) ส่วนกะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีระบบสังคมคล้ายชาวพม่า บางครั้งเรียกกะเหรี่ยงพม่า (Bama Kayin) กลุ่มนี้ถูกผลักดันให้มาอยู่ตามแนวชายแดนไทย ชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่ในเทือกเขาดอว์นาและตะนาวศรีในพม่าตะวันออก พวกเขาได้พัฒนาสังคมและประวัติศาสตร์เป็นของตนเอง[12] ในปัจจุบันมีชาวกะเหรี่ยงอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีราว 3 ล้านคน มีวิถีชีวิตเป็นชาวนา ชุมชนชาวกะเหรี่ยงมีความแตกต่างกันทั้งทางศาสนา ภาษา วัฒนธรรม และการกระจายตัวทางภูมิศาสตร์

ใกล้เคียง

ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยง ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งนิยมรัสเซียในประเทศยูเครน พ.ศ. 2557 ความขัดแย้งภายในพม่า ความขัดแย้งที่ซันริซูกะ ความขัดแย้งในรัฐกะชีน ความขัดแย้งในกัมพูชา พ.ศ. 2354 ความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบัค ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557 ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยง http://www.post-gazette.com/stories/news/world/mya... http://www.karennationalunion.net http://www.burmacentrum.nl/0502papersbriefing.html http://www.burmalibrary.org http://www.burmalibrary.org/docs13/BCES-BP-01-ceas... http://www.crisisgroup.org/en/regions/asia/south-e... http://www.karennews.org http://mmpeacemonitor.org/stakeholders/stakeholder... http://www.tni.org/work-area/burma-project http://www.nectec.or.th/thai-yunnan/19.html#3