ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์
ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์

ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์

ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ เป็นการต่อสู้ที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20[1] ความขัดแย้งนี้เกิดเป็นวงกว้าง และบางครั้งยังใช้คำนี้อ้างอิงถึงความขัดแย้งนิกายในปาเลสไตน์ในอาณัติระหว่างยีชูฟ (yishuv) ขบวนการไซออนิสต์กับประชากรอาหรับภายใต้การปกครองของอังกฤษ ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ก่อเกิดเป็นส่วนสำคัญของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลที่ใหญ่กว่า ถูกเรียกอย่างกว้างขวางว่าเป็น "ความขัดแย้งที่หายยากที่สุด" ของโลก[3][4][5]แม้มีกระบวนการสันติภาพระยะยาวและการปรองดองทั่วไปของอิสราเอลกับอียิปต์และจอร์แดน แต่อิสราเอลและปาเลสไตน์ไม่สามารถบรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายได้ ประเด็นสำคัญที่ยังเหลืออยู่ คือ การรับรองร่วมกัน เขตแดน ความมั่นคง สิทธิน้ำ การควบคุมเยรูซาเลม นิคมอิสราเอล[6] เสรีภาพในการเคลื่อนไหวของปาเลสไตน์[7] และการแก้ไขการอ้างสิทธิการเดินทางกลับสำหรับผู้ลี้ภัยของปาเลสไตน์ ความรุนแรงของความขัดแย้งในภูมิภาคอันอุดมไปด้วยแหล่งความสนใจทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและศาสนาทั่วโลก กลายมาเป็นวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างประเทศจำนวนมากว่าด้วยสิทธิทางประวัติศาสตร์ ประเด็นความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน และเป็นปัจจัยขัดขวางการท่องเที่ยวและการเข้าถึงพื้นที่ซึ่งพิพาทกันอย่างดุเดือดโดยทั่วไป[8]มีความพยายามหลายครั้งเพื่อเป็นนายหน้าทางแก้สองรัฐ (two-state solution) อันเกี่ยวข้องกับการสถาปนารัฐปาเลสไตน์เอกราชขึ้นคู่กับรัฐอิสราเอล (หลังการสถาปนาอิสราเอลในปี 2491) ในปี 2550 ตามการหยั่งเสียงจำนวนหนึ่ง ทั้งชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์ส่วนใหญ่เห็นชอบทางแก้สองรัฐเป็นวิธีแก้ไขความขัดแย้งมากกว่าทางแก้อื่น[9] ยิ่งไปกว่านั้น สาธารณชนยิวส่วนใหญ่ยังมองว่าข้อเรียกร้องรัฐเอกราชของชาวปาเลสไตน์ชอบธรรม และคิดว่าประเทศอิสราเอลสามารถตกลงให้จัดตั้งรัฐเช่นว่าได้[10] ความไม่ไว้วางใจร่วมกันและความไม่ลงรอยอย่างสำคัญหยั่งลึกในประเด็นพื้นฐาน เช่นเดียวกับกังขาคติต่อกันและกันเกี่ยวกับการผูกมัดตามพันธกรณีที่รักษาในความตกลงท้ายที่สุด[11]ในสังคมอิสราเอลและปาเลสไตน์ ความขัดแย้งนี้ก่อให้เกิดมุมมองและความคิดเห็นหลากหลาย ซึ่งเน้นการแบ่งแยกลึกล้ำซึ่งไม่ได้มีเฉพาะระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์เท่านั้น แต่ยังภายในแต่ละสังคมด้วย ลักษณะเด่นของความขัดแย้งนี้เป็นระดับความรุนแรงที่สังเกตได้แทบตลอดระยะของความขัดแย้ง มีการสู้รบโดยกองทัพตามแบบ กลุ่มกึ่งทหาร กลุ่มก่อการร้ายและปัจเจกบุคคล กำลังพลสูญเสียมิได้จำกัดแต่เฉพาะทหาร แต่ทั้งสองฝ่ายยังสูญเสียประชากรพลเรือนไปเป็นอันมาก มีตัวแสดงระหว่างประเทศที่โดดเด่นเกี่ยวข้องในความขัดแย้งนี้ด้วยสองภาคีที่เข้าร่วมการเจรจาโดยตรง คือ รัฐบาลอิสราเอลและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ การเจรจาอย่างเป็นทางการมีผู้แทนระหว่างประเศเป็นสื่อกลาง เรียก กลุ่มสี่ว่าด้วยตะวันออกกลาง (Quartet on the Middle East) ซึ่งมีผู้แทนทางการทูตพิเศษเป็นผู้แทน ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหภาพยุโรปและสหประชาชาติ สันนิบาตอาหรับเป็นอีกตัวแสดงหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งเสนอแผนสันติภาพทางเลือด อียิปต์ สมาชิกผู้ก่อตั้งสันนิบาตอาหรับ ในอดีตเคยเป็นผู้มีส่วนหลักนับแต่ปี 2549 ฝ่ายปาเลสไตน์แตกแยกด้วยความขัดแย้งระหว่างสองกลุ่มแยกหลัก คือ ฟาตาห์ พรรคเด่นเดิม และผู้ท้าชิงเลือกตั้งในภายหลัง ฮามาส หลังฮามาสชนะการเลือกตั้งในปี 2549 สหรัฐ สหภาพยุโรป และอิสราเอลปฏิเสธการรับรองรัฐบาลฮามาสและเงินทุนให้องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ส่วนมากถูกระงับ หนึ่งปีให้หลัง หลังการยึดอำนาจในฉนวนกาซาของฮามาสในเดือนมิถุนายน 2550 ดินแดนซึ่งรับรองอย่างเป็นทางการเป็นรัฐปาเลสไตน์ (อดีตองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ องค์การปกครองชั่วคราวของปาเลสไตน์) ถูกแบ่งระหว่างฟาตาห์ในเวสต์แบงก์และฮามาสในฉนวนกาซา การแบ่งการปกครองระหว่างภาคีนี้ส่งผลให้การปกครองสองพรรคขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง การเจรจาสันติภาพรอบล่าสุดเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2556 และกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2560 ภายหลังประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ รับรอง กรุงเยรูซาเล็ม ให้เป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอล การเจรจาสันติภาพก็มีแนวโน้มว่าจะจบลง สงครามรอบใหม่เริ่มขึ้นภายหลังการประกาศรับรองดังกล่าว ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560 มีผู้เสียชีวิต 2 รายบาดเจ็บกว่า 270 คน[12]

ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์

สถานะ กระบวนการสันติภาพอิสราเอล–ปาเลสไตน์
การสู้รบระดับต่ำ ส่วนใหญ่ระหว่างอิสราเอลและกาซา
วันที่สถานที่สถานะดินแดนเปลื่ยน
วันที่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20[1] – ปัจจุบัน
ช่วงหลัก: 2507–2536
สถานที่ อิสราเอล
 ปาเลสไตน์
สถานะกระบวนการสันติภาพอิสราเอล–ปาเลสไตน์
การสู้รบระดับต่ำ ส่วนใหญ่ระหว่างอิสราเอลและกาซา
ดินแดน
เปลื่ยน
สถานที่  อิสราเอล
 ปาเลสไตน์
วันที่ กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20[1] – ปัจจุบัน
ช่วงหลัก: 2507–2536
ดินแดนเปลื่ยน

ใกล้เคียง

ความขัดแย้งระหว่างพม่ากับกะเหรี่ยง ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งนิยมรัสเซียในประเทศยูเครน พ.ศ. 2557 ความขัดแย้งภายในพม่า ความขัดแย้งที่ซันริซูกะ ความขัดแย้งในรัฐกะชีน ความขัดแย้งในกัมพูชา พ.ศ. 2354 ความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบัค ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557 ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ http://www.international.gc.ca/name-anmo/peace_pro... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/784421 http://www.haaretz.com/print-edition/features/just... http://articles.latimes.com/2000/may/28/travel/tr-... http://polisci.columbia.edu/people/profile/78 http://www.systemicpeace.org/warlist.htm http://siteresources.worldbank.org/INTWESTBANKGAZA... http://news.bbc.co.uk/2/shared/spl/hi/middle_east/... http://books.google.co.uk/books?id=4CNVmZIen3AC&pg... http://books.google.co.uk/books?id=7MXPOz95A_IC&pg...