ความคิดเชิงไสยศาสตร์

ความคิดเชิงไสยศาสตร์ (อังกฤษ: Magical thinking) หรือ ความคิดเชิงเวทมนตร์ เป็นการอ้างการกระทำหนึ่ง ๆ ว่าเป็นเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ไม่สมเหตุผลและไม่สมกับสิ่งที่สังเกตได้ เช่น ในความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อพื้นบ้าน และความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ มักจะมีการอ้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อวัตร การสวดมนต์หรือการสวดอ้อนวอน การบูชายัญ หรือการเว้นจากสิ่งต้องห้าม กับประโยชน์หรืออานิสงส์ที่พึงจะได้จากการกระทำเหล่านั้นในจิตวิทยาคลินิก ความคิดเชิงไสยศาสตร์อาจทำให้คนไข้ประสบกับความกลัวที่จะทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเกิดความคิดบางอย่าง เพราะความเชื่อว่าจะมีสิ่งเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำนั้นนอกจากนั้นแล้ว ความคิดเชิงไสยศาสตร์อาจทำให้เราเชื่อว่า เพียงแค่ความคิดเท่านั้นสามารถทำให้เกิดผลต่าง ๆ ในโลกได้[1] นี้เป็นวิธีการคิดหาเหตุ (causal reasoning) แบบหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุผลวิบัติโดยเหตุ (causal fallacy) ที่เราพยายามหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์สองอย่างที่เกิดขึ้นต่อ ๆ กันหรือพร้อมกัน คือระหว่างการกระทำและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ไม่ได้เป็นเหตุผลต่อกันและกันจริง ๆส่วนความคิดเชิงไสยศาสตร์เสมือน (Quasi-magical thinking) หมายถึง "กรณีที่เรามีพฤติกรรมเหมือนกับเชื่อผิด ๆ ว่า การกระทำของตนมีอิทธิพลต่อผลที่เกิดขึ้น แม้ว่าจริง ๆ แล้ว ตนจะไม่ได้เชื่ออย่างนั้น"[2]

ใกล้เคียง

ความคิดแทรกซ้อน ความคิดเชิงไสยศาสตร์ ความคลั่งทิวลิป ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน ความคลาดสี ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์ ความคิด ความคิด (เพลงอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข) ความคลาดทางดาราศาสตร์ ความคุ้มกันทางทูต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความคิดเชิงไสยศาสตร์ http://psychologytoday.com/articles/pto-20080225-0... http://skepdic.com/magicalthinking.html //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1473331 http://www.csicop.org/SI/show/magical_thinking_in_... //doi.org/10.1016%2F0010-0285(92)90015-T //doi.org/10.1016%2Fj.pedn.2011.11.006 //doi.org/10.1016%2Fs0891-5245(06)80008-8 //doi.org/10.1037%2F0022-3514.67.1.48 //doi.org/10.1080%2F15289168.2011.600137 //doi.org/10.1086%2F201974