ความจำโดยปริยาย
ความจำโดยปริยาย

ความจำโดยปริยาย

ความจำโดยปริยาย[1] (อังกฤษ: Implicit memory) เป็นความจำประเภทหนึ่งที่ประสบการณ์ในอดีตช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยที่ไม่ต้องมีการระลึกรู้ใต้อำนาจจิตใจถึงประสบการณ์ในอดีตนั้น[2] หลักฐานว่ามีความจำโดยปริยายเห็นได้ในปรากฏการณ์ priming (การเตรียมการรับรู้)ซึ่งเป็นการวัดผู้รับการทดลองว่ามีทักษะในงานหนึ่ง ๆ ดีขึ้นเท่าไรเพราะการเตรียมตัวที่ให้กับผู้ทดลองโดยที่ไม่รู้ตัว[3][4]ความจำโดยปริยายสามารถนำไปสู่ปรากฏการณ์ความจริงเทียม (illusion-of-truth effect)ซึ่งแสดงว่า เรามักจะคิดว่าคำอ้างอิงหนึ่ง ๆ ว่าเป็นจริงถ้าเคยได้ยินมาก่อนไม่ว่าคำนั้นจะตรงกับความจริงแค่ไหน[5] ในชีวิตประจำวัน เราพึ่งความจำโดยปริยายทุก ๆ วันในรูปแบบของความจำเชิงกระบวนวิธี (procedural memory)ซึ่งเป็นรูปแบบของความจำที่ทำให้เราสามารถจำได้ว่า จะผูกเชือกรองเท้าอย่างไร หรือจะขี่จักรยานอย่างไร โดยไม่ต้องคิดถึงวิธีการทำกิจเหล่านั้นงานวิจัยเกี่ยวกับความจำโดยปริยายแสดงว่า ความจำนี้เกิดขึ้นผ่านกระบวนการทางจิตใจที่ต่างไปจากความจำชัดแจ้ง (explicit memory)[2]

ใกล้เคียง

ความจำ ความจำชัดแจ้ง ความจำเชิงกระบวนวิธี ความจำอาศัยเหตุการณ์ ความจำโดยปริยาย ความจริงวิปลาส ความจำสั้น แต่รักฉันยาว ความจริงวันนี้ ความจริงในนิยาย ความจุความร้อนจำเพาะ