ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก
ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (อังกฤษ: Trans-Pacific Partnership, ย่อ: TPP) เป็นความตกลงการค้าระหว่างประเทศขอบแปซิฟิกสิบสองประเทศ ว่าด้วยประเด็นนโยบายสาธารณะต่าง ๆ ซึ่งบรรลุเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2558 หลังเจรจานาน 7 ปี และลงนามเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 ในออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ เป้าหมายที่แถลงของความตกลงฯ คือ เพื่อ "ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ สนับสนุนการสร้างและรักษางาน การเสริมสร้างนวัตกรรม ผลิตภาพและความสามารถการแข่งขัน ยกระดับมาตรฐานการครองชีพ ลดความยากจนในประเทศ และส่งเสริมความโปร่งใส ธรรมาภิบาลและเสริมสร้างการคุ้มครองแรงงานและสิ่งแวดล้อม"[5] ความตกลง TPP มีมาตรการเพื่อลดอุปสรรคทางการค้า เช่น พิกัดอัตรา[6] และสถาปนากลไกการระงับข้อพิพาทผู้ลงทุน-รัฐ (แต่รัฐเลือกได้ว่าไม่ดำเนินมาตรการที่เกี่ยวข้องกับยาสูบ)[5][7] รัฐบาบลสหรัฐถือว่า TPP เป็นความตกลงเคียงคู่กับความตกลงหุ้นส่วนการค้าและการลงทุนภาคพื้นแอตแลนติก (Transatlantic Trade and Investment Partnership, TTIP) ที่มีการเสนอ ซึ่งเป็นความตกลงที่คล้ายกันอย่างกว้าง ๆ ระหว่างสหรัฐและสหภาพยุโรป[8]ในอดีต TPP เป็นการขยายความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement) ซึ่งประเทศบรูไน ชิลี นิวซีแลนด์และสิงคโปร์ลงนามในปี 2549 เริ่มตั้งแต่ปี 2551 มีประเทศอื่นเข้าร่วมการอภิปรายสำหรับความตกลงที่กว้างขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก เปรู สหรัฐและเวียดนาม ทำให้มีจำนวนประเทศผู้เข้าร่วมการเจรจาสิบสองประเทศ ความตกลงการค้าปัจจุบันระหว่างประเทศผู้เข้าร่วม เช่น ความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ จะลดบทบัญญัติเหล่านั้นซึ่งไม่ขัดต่อ TPP หรือกำหนดให้เปิดเสรีการค้าเกินกว่า TPP[9]ชาติผู้เข้าร่วมมุ่งสำเร็จการเจรจาในปี 2555 แต่ประเด็นที่มีข้อพิพาทอย่างเกษตรกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาและการบริการและการลงทุนทำให้การเจรจายืดเยื้อ[10] สุดท้ายชาติต่าง ๆ บรรลุความตกลงเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2558[11] การนำความตกลงฯ ไปปฏิบัติเป็นเป้าหมายวาระการค้าของรัฐบาลโอบามาในสหรัฐ[12] วันที่ 5 ตุลาคม 2558 นายกรัฐมนตรีแคนาดา สตีเฟน ฮาร์เปอร์ คาดหมายว่า "ข้อความฉบับสมบูรณ์จะถูกลงนามและปฏิบัติอย่างเร็วในต้นปีใหม่ และให้สัตยาบันในอีกสองปีถัดไป"[13] มีการเผยแพร่ฉบับข้อความของสนธิสัญญา "ภายใต้การทบทวนทางกฎหมาย (...) เพื่อความแม่น ความกระจ่างและความสอดคล้อง"[14] ต่อสาธารณะเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 วันเดียวกับที่ประธานาธิบดีโอบามาแจ้งรัฐสภาว่าเขาเจตนาลงนาม[15]มีวิชาชีพสุขภาพโลก (global health) นักกิจกรรมเสรีภาพอินเทอร์เน็ต นักสิ่งแวดล้อม สหภาพแรงงาน กลุ่มผลประโยชน์และข้าราชการจากการเลือกตั้งจำนวนหนึ่งวิจารณ์และประท้วงต่อสนธิสัญญานี้ ส่วนใหญ่เพราะการเจรจาทางลับ ขอบข่ายกว้างขวางของความตกลงและข้อความซึ่งมีการโต้เถียงที่รั่วต่อสาธารณะ[16][17][18][19][20] การลงนาม TPP ในออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 มีการประท้วงสาธารณะเป็นวงกว้างในประเทศนิวซีแลนด์[21][22][23] พรรคฝ่ายค้านทุกพรรคและพรรครัฐบาลหนึ่งพรรค (พรรคเมารี พรรคชาตินิยมฝ่ายขวา) ในรัฐสภานิวซีแลนด์ประกาศคัดค้าน TPP และกล่าวในการชุมนุมประท้วงในกรุงเวลลิงตัน เมืองหลวงของประเทศ ในวันที่ลงนาม[24]

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก

เงื่อนไข ประเทศผู้ลงนามทุกประเทศให้สัตยาบัน หรือ (2 ปีหลังการลงนาม) รัฐที่ให้สัตยาบันประกอบเป็น 85% ของจีดีพีผู้ลงนาม[4]
ผู้เก็บรักษา นิวซีแลนด์
ประเภท ความตกลงการค้า
วันลงนาม 4 กุมภาพันธ์ 2559
ผู้ลงนาม
สถานที่ ออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์
ภาษา อังกฤษ (ยึดเป็นสำคัญ) สเปนและฝรั่งเศส
วันร่าง 5 ตุลาคม 2558[1][2][3]

ใกล้เคียง

ความตาย ความตลกขบขัน ความตกลงมิวนิก ความตกลงปางหลวง ความต้านทานและการนำไฟฟ้า ความตกลงการสงบศึกเกาหลี ความตกลงอังกฤษ-รัสเซีย ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ความตกลงเชงเกน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก http://www.bbc.com/news/business-34444799 http://www.bbc.com/news/business-35480600 http://business.financialpost.com/news/economy/for... http://www.ft.com/intl/cms/s/0/d4a31d08-6b4c-11e5-... http://www.huffingtonpost.com/2013/11/12/trans-pac... http://www.huffingtonpost.com/2013/12/08/tpp-trade... http://www.ibtimes.com/how-fight-trans-pacific-par... http://opinionator.blogs.nytimes.com/2014/03/15/on... http://ottawacitizen.com/news/politics/historic-tr... http://www.reuters.com/article/2015/06/29/us-trade...